ประสบการณ์อาการ กลวิธีการจัดการ และผลลัพธ์การจัดการอาการไม่พึงประสงค์ของยาวัณโรค

Main Article Content

อนงค์ ทองสามัญ
ดร.พูลสุข เจนพานิชย์วิสุทธิพันธ์
ดร.บัวหลวง สำแดงฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาประสบการณ์อาการ กลวิธีการจัดการอาการและผลลัพธ์การจัดการอาการไม่พึงประสงค์ของยาวัณโรค กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการรักษาด้วยยาวัณโรคภายในระยะเวลา 3 เดือน ในคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลสิรินธร จำนวน 70 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2557 – เดือนเมษายน 2558 โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกเกี่ยวกับประสบการณ์อาการ กลวิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์การจัดการอาการไม่พึงประสงค์ของยาวัณโรค ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงตรงเฉพาะหน้า ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ประสบการณ์อาการไม่พึงประสงค์ของยาวัณโรคที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ผื่นหรือคัน ปากแห้ง ชาตามปลายมือปลายเท้า นอนไม่หลับและ คลื่นไส้ กลวิธีที่กลุ่มตัวอย่างใช้จัดการอาการไม่พึงประสงค์ของยาวัณโรคได้แก่การทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกสบายการออกกำลังกายการปรับการรับประทานอาหารการแพทย์ทางเลือก การดูแลด้านจิตวิญญาณ การทำกิจวัตรประจำวันและการรู้คิดการแสวงหาความช่วยเหลือ และการรักษาด้วยยาซึ่งผลลัพธ์การจัดการอาการส่วนใหญ่พบว่าทำให้ระดับความถี่ และความรุนแรงของอาการลดลง


การศึกษาประสบการณ์อาการ กลวิธีการ จัดการอาการและผลลัพธ์การจัดการอาการไม่พึงประสงค์ของ
ยาวัณโรคจะทำให้พยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการเตรียมความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับยาวัณโรค อาการไม่พึงประสงค์และวิธีการจัดการอาการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อวางแผนติดตามอาการไม่
พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นและวิธีการจัดการอาการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล เพื่อการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติรัตน์ชฎา ไชยเจริญ. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและปัจจัยชีวสังคมกับ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอดโรงพยาบาลราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ชาธิปัตย์ เครือพานิชย์.(2554). ผลแบบทันทีของการนวดไทยในการบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยปวดศีรษะจากความเครียดแบบ Episodic tension-type headache.วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 23, 57-70.
ชานิดา กาญจนาประดิษฐ. (2555). อุบัติการณ์และการจัดการอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังจากยาต้าน วัณโรค. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมคลินิก, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิศารัตน์ อยู่สุข. (2548). พฤติกรรมการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคในบริบทชีวิตชายขอบ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์สาธารณสุข,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุษบา ประสมผล.(2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้การปรึกษาโดยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้าง แรงจูงใจแบบสั้นต่อความรู้เกี่ยวกับวัณโรคและความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยวัณโรคปอด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2554). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่11).นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มาลี เกิดพันธุ์ และปิ่นกมล สมพีร์วงศ์.(2557). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาสำเร็จ ของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่ขึ้นทะเบียนรักษา ณ โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาล ทั่วไป พื้นที่บริการสุขภาพที่ 6.วารสารวัณโรคโรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤติ, 34(3),95-103.
รมณ์ฤดี เกลี้ยงดา.(2552). ประสบการณ์อาการปวดศีรษะ วิธีจัดการอาการและคุณภาพชีวิตที่เกี่ยว กับ สุขภาพ ในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะเล็กน้อย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิชชุดา เทียนเจษฎา และเชิดชัย สุนทรภาส.(2555). การจัดการและผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ณ โรงพยาบาลบ้านกรวด.วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต เภสัชกรรมคลินิก,คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
วิลาวรรณ สมทรงและคณะ.(2545). ความร่วมมือในการรักษาวัณโรคระยะเข้มข้นของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ติดเชื้อ HIV.รายงานการประชุมวิชาการวัณโรคและโรคระบบการหายใจระดับชาติ ครั้งที่ 5,225- 236
วิวรรธ์ อัครวิเชียร.(2545). การศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยวัณโรคที่สามารถDOTS ได้จริงและไม่สามารถ DOTSได้จริง.วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก,24(1),56.
สุดกัญญา พัทวี.(2541). ประสบการณ์ความปวดและการจัดการกับความปวด ในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจและ ทรวงอกชนิดผ่ากลางกระดูกสันอก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุดจิตร แก้วมณี. (2548). อาการและการจัดการกับอาการของผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ในโรงพยาบาล ศูนย์เขตภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุพพัตธิดา แสงทอง. (2556). ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการอาการต่อการรับรู้อาการและการรับ ประทานยาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยวัณโรคปอด.วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออก เฉียงเหนือ, 31(4), 105-114.
สุมาลี อมรินทร์แสงเพ็ญ.(2540). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางครอบครัวและความร่วมมือในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคเขต 10 เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรชัย สินธวาชีวะ.(2554). ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ผู้ป่วยวัณโรครับประทานยาไม่ต่อเนื่องและไม่ สม่ำเสมอ:กรณีศึกษาในโรงพยาบาลชุมชน. สารนิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2555). จำนวนผู้ป่วยในจำแนกตามกลุ่มสาเหตุป่วย75โรค จากสถานบริการสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุขทั่วราชอาณาจักร.เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2557, แหล่งที่มา: http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries09.html
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค.เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2557, แหล่งที่มา:http://203.157.229.18/cdc/files/news/f01_20120 13109214_93010000.pdf
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557). (ร่าง) แผนงานควบคุมวัณโรค.เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2557,แหล่งที่มา http://www.tbthailand.org/_ download/Form_Plan _60TBJul17.dox
อัชราภร เกษมสายสุวรรณ.(2557). อุบัติการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของยากับอาการไม่พึง ประสงค์ของยาต้านวัณโรคชนิด First-line ในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในโรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
แอนนา สุมะโน. (2550). ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านต่อการปฏิบัติตามแผนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยวัณโรคปอด อำเภอศรีราชา ชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
American Thoracic Society,CDC , and Infectious Disease Society of America.Treatment of Tuberculosis. (2003). American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine 2003;167:603-662.
Berger, A. (1998). “Pattern of fatique and activity and rest during adjuvant breast cancer chemotherapy” Oncology Nursing Forum 25,1: 51-62.
Boonyawongwiroj P.(2011). Tuberculosis situation in Thailand and Solution. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand 2554;1(3):232-235.
Cayla JA, Rodrigo T, Manzano JR, Caminero JA, Vidal R,Garcia, Casals M.(2009).Tuberculosis treatment adherence and fatality in Spain. Respiratory Research; 10:121.
Dinesh Koju, B.S. Rao, Bhawana Shrestha, Rajani Shakya, and Ramesh Makaju.(2005). Occurrence of side effects from anti-tuberculosis drugs in urban Nepalese population under DOTS treatment. Kathmandu university journal of science,engineering and technology.
Division of Tuberculosis Elimination.(1994). Improving patient adherence to tuberculosis treatment. Retrieve August12,2013,fromwww.cdc.gov/nchstptb/tubs/adherence/introduction.htm.
Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett T, J., Froelicher, E., Humphreys, J., Lee, K.,Miaskowski, C., Puntillo, K., Rankin, S. & Taylor, D. (2001).Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing , 33 , 668-676.
Holzemer, W.L. (2004).Symptom Management Strategies: A manual for people living with HIV/AIDS. California: University of California, San Francisco Regents.
Thongraung W, Kasiwat N, Limcharoen N, Nooratkaew K.(2008).Adverse reaction during the use of anti-tuberculosis drugs and unsuccess in treatment. Thai Pham Health Sci J;4;46-51.
Wongyou, S. (2005).Factors related to medication adherence among tuberculosis patients. (M.S. Thesis in Community Health Nursing), Faculty of Graduate Studies,Mahidol University.
Xia YY, Zhan SY. (2007). Systematic review of anti-tuberculosis drug induced adverse reaction in China.Zhonghua Jic Hc Hc Hu Xi Za Zhi 2007;30(6): 419-423.