คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดกรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมตามสิทธิการรักษาที่กฎหมายกำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งจำนวน 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล ภาวะของโรคและการเจ็บป่วยและสิทธิการรักษา และแบบประเมินคุณภาพชีวิตเฉพาะโรคไต เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 31 ธันวาคม 2557 สถิติที่ใช้คือ One way Anova t-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 246.83) เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตรายด้าน พบว่า ด้านอาการโรคไตเรื้อรัง (= 71.40) และด้านผลกระทบของโรคไตเรื้อรัง (= 60.07) สูงกว่าด้านอื่นๆ แต่ด้านภาระจากโรคไต (= 35.85) และด้านสุขภาพร่างกาย (= 34.86) มีค่าคะแนนต่ำสุด เปรียบเทียบตามสิทธิการรักษา พบว่าคุณภาพชีวิตโดยรวมในสิทธิหลักประกันสุขภาพดีกว่าสิทธิข้าราชการและกลุ่มที่ชำระเงินเอง
(P= 0.044) และเมื่อเปรียบเทียบรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตใจในกลุ่มสิทธิประกันสังคมและสิทธิหลักประกันสุขภาพดีกว่าในสิทธิข้าราชการ (P-Value = 0.024) จากการวิจัย พบว่า แต่ละสิทธิการรักษามีสิทธิตามกระบวนการรักษาที่แตกต่างกัน เช่น การมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินจากการฟอกเลือด การจำกัดจำนวนครั้งใน
การฟอกเลือดและพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีค่าความพอเพียงของการฟอกเลือดอยู่ในเกณฑ์ผ่านมากกว่า ซึ่งค่าความพอเพียงของการฟอกเลือดมีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น(r = 0.243) และการมีค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มขึ้นจะส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตลดลง (r = 0.267)
จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและคุณภาพโดยรวมของผู้ป่วยฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียมแต่ละสิทธิการรักษาแตกต่างกัน จึงเสนอให้ปรับปรุงกระบวนการรักษาตามสิทธิให้เป็นไปในลักษณะส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยสิทธิประเภทใดก็ตาม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง. (2557). การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเอรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดและล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา. ยโสธรเวชสาร, 16 (1), 18-24
วิจิตรา กุสุมภ์และนิตยา ลาภเจริญวงค์. (2547). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต, วชิรเวชสาร, 107-115
บุญธรรม กิจปรีดาบิสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
รัตนาวดี จูละยานนท์. (2545). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวาน กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครชัยศรี. (วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
สมพร ชินโนรส และ ชุติมา ดีปัญญา. (2556). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด Quality of life of Hemodialysis Patients. วารสารเกื้อการุณย์, 5-14
อรวรรณ น้อยวัฒน์. (2555). สุขภาพกับคุณภาพชีวิต. สืบค้นจาก http://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet /book55_3 /pbhealth.html
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2555). Thailand Renal Replacement Therapy Registry Report 2011. สืบค้นจาก http://www.nephrothai.org/nephrothai_boffice/images_upload/news/391/files/trt2011.
Daniel Wayne W. (1984). Essential of Business Statistics. Houghton Mifflin: Boston.
Thaweethamcharoen, T., Srimong, W., Noparatayaporn, P., Jariyayothin, P., Sukthinthai, N., Aiyasanon, N, & et al. (2013). Validity and Reliability of KDQOL-36 in Thai Kidney Disease Patient. Value in Health Regional Issues, 98-102, doi.org/10.1016/j.vhri.2013.02.011