ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบประสาท ในนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบประสาท ในนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต 2) ศึกษาระดับของผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติใน Domain ที่ 3, 4, 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล ศาสตรบัณฑิตต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประชากรที่ศึกษา คือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 27 จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติใน Domain ที่ 3 ด้านทักษะทางปัญญา Domain ที่ 4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ Domain ที่ 5 ด้านการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ค่าความเที่ยงด้วยวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .80 และหาค่าความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .84, .88, .85 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบประสาทของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตหลังเรียนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ร้อยละ 78.7 มีความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบประสาทอยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป 2) ระดับของผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติใน Domain ที่ 3 อยู่ในระดับมาก ( =4.21, S.D. = .48) Domain ที่ 4 อยู่ในระดับมาก ( =4.34, S.D. = .50) และ Domain ที่ 5 อยู่ในระดับมาก ( =4.11, S.D. = .50) 3) นักศึกษาพยาบาล ร้อยละ 91.67 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ในระดับมากขึ้นไป ( =3.96, S.D. = .59)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
จิราพร คงรอด. (2560). การใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันแบบจิ๊กซอว์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาการวางแผนการตลาด ของนิสิตสาขาบริหารธุรกิจชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ ฉบับพิเศษ : 9-14.
จุฑาทิพย์ เต็มวิบูลย์โชค ญานิน กองทิพย์ และหฤทัย ฤกษ์ฤทัยรัตน์. (2560). กิจกรรมการเรียนการสอน คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการวัดค่ากลางของข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ 28(1) : 110-123.
พระมหาสุรพล ผ่องนรา. (2553). ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อทักษะการคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพรตพิทยพยัต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พูนภัทรา พูลผล. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนิดา ชมพูพงษ์. (2556). ผลการใช้ชุดการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์เรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทยที่มี ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (เชาวนปรีชาอุทิศ). วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 6(2) : 597-611.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : เลิฟ แอนด์พิเพลส.
วีระพน ภานุรักษ์ และจรัญ เจิมแหล่. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค แบบจิ๊กซอว์ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : 142-150.
เวียงงาม อินทะวงษ์. (2550). การพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบจิ๊กซอว์เรื่องประเพณีบุญเบิกฟ้า มหาสารคาม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริพร ศรีจันทะ และประดิษฐ์ วิชัย. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอว์ รายวิชาการพัฒนาหลักสูตรของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ : 583-596.
สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). Didactic Strategies : Lead by Example. นนทบุรี : สถาบันพระบรมราชชนก.
สุวัทนา สงวนรัตน์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอว์ เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจรายวิชา EDCI 201การออกแบบการจัดการเรียนรู้. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 5(ฉบับพิเศษ) : 1-18.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2558). การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ในรายวิชาหลักการพื้นฐานสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ (ฉบับพิเศษ) : 60-70.
Bogam, R.R. and Khan, A.S. (2016). Jigsaw technique : an interactive approach to sensitize medical student in Saudi Arabia about type 2 diabetes mellitus. Journal of education technology in health sciences 3(3) : 107-110.
Marhamah, Y. and Mulyadi, A. (2013). Jigsaw cooperative learning : a viable teaching learning strategy. Journal of educational and social research 3(7) : 710-715.
Namdol, N., Chauhan, M., Kanojia, D. et al. (2015). Student learning outcomes in response to lecture method and jigsaw teaching method. Journal of nursing and health science 4(3) : 78-83.
Sudhadevi, M. (2018). Jigsaw-a teaching strategy. American journal of advances in nursing research 5(1) : 29-31.