สมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะ
การจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมากกว่า 5 ปี โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 83 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะ
การจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปและสมรรถนะ
การจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน
ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา 0.87 ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
หาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วย
ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ อายุ การศึกษา ประสบการณ์การทำงานทั้งหมดและ
ในหน่วยงานปัจจุบัน ระดับการศึกษา และการได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมด้านการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วย
ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพทุกด้าน (p<0.05) ยกเว้นด้านการสื่อสาร (p=0.106) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดคุณสมบัติส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพเพื่อสมรรถนะในการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
แจ่มจันทร์ คล้ายวงษ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจในงาน ลักษณะงาน และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ กับการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลในเครือสมิติเวช. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ชูชัย สมิทธิไกร. (2552). การสรรหาคัดเลือกและการประเมินผลงานของบุคลากร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทนันชัย บุญบูรพงศ์. (2552). การบำบัดระบบหายใจในเวชปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: บ้านหนังสือโกสินทร์.
ทัศนา บุญทอง. (2543). ประเด็นและแนวโน้มทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุลย์ และบุปผา วัลย์ศรีลํ้า. (2556). การพยาบาลเพื่อความปลอดภัย: สมรรถนะพยาบาล CVT (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์.
วราภรณ์ ธโนโรจน์. (2554). การกำหนดสมรรถนะสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ในการจัดการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลตำรวจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
สภาการพยาบาล. (2553). สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและผดุงครรภ์. กรุงเทพมหานคร: ศิริยอดการพิมพ์.
สุนันทา หิรัญยูปกรณ์. (2548). การประเมินสมรรถนะหลักทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
สุนิสา ฉัตรมงคลชาติ. (2549). การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
Schermerhorn, J. R., Hunt, J. G., & Osborn, R. N. (2003). Organizational Behavior (9th ed.). New York: John Wiley & Sons.