การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านกล้อง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้เพื่อศึกษาต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลในหัตถการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านกล้อง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านกล้อง 20 คน และพยาบาลวิชาชีพ 11 คน
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านกล้อง
2) แบบบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านกล้อง และ 3) นาฬิกา
จับระบบดิจิตอล การวิเคราะห์ข้อมูลประยุกต์จากแนวคิดระบบการคิดค้นต้นทุนกิจกรรม คุณภาพเครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงเนื้อหาได้ค่า 1.00 และความเที่ยงระหว่างผู้สังเกตได้ค่า 0.80
ผลการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านกล้องโดยรวม ประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรง 2,356.47 บาท ต้นทุนค่าวัสดุ 6,657.02 บาท และต้นทุนค่าลงทุน 1,264.45 บาท คิดเป็นสัดส่วน ต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ: ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 1.86: 5.29: 1
ผลการวิจัยนี้สามารถนำข้อมูลค่าแรงและเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล ไปใช้มอบหมายงานบุคลากรพยาบาล เพื่อความคุ้มทุนและความปลอดภัยของผู้ป่วย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
ดวงจันทร์ ทิพย์ปรีชา และพูลสุข หังคานนท์. (2555). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพในระบบ บริการพยาบาล. ในดนุลดา จามจุรีและคณะ. การพัฒนาศักยภาพระบบบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญมี สันโดษ. (2550). ผลการพยาบาลโดยประยุกต์ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มต่อความสามารถ
ในการปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง ภาวะแทรกซ้อน ความสามารถในการขับถ่ายปัสสาวะ
และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
ปาริชาติ มะลิซ้อน. (2553). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการและต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลใน การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ งานห้องผ่าตัด สถาบันโรคทรวงอก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2548). การจัดการทรัพยากรทางการพยาบาลที่มุ่งต้นทุนต่อประสิทธิภาพ. วารสารคุณภาพการพยาบาล, 1(1): 3-23.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2544). ระบบการบริหารต้นทุนกิจกรรม (Activity Based Costing: ABC). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ไอนิค.
วรางค์ทิพย์ วรรณทิพย์. (2551). ได้ทำการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด น้ำวุ้นตา โรงพยาบาลสงฆ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
สมจิตร สันติวรนารถ. (2557). การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล และต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล ผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สุขรัตน์ มูลสาคร. (2551). การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม โรงพยาบาลตำรวจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2558). งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2558. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
Groah, L. W. (1990). Operating room nursing perioperative practice (2nd ed). East Norwalk, Conn: Appleton & Lange.
Kaplan, R.S. & Cooper, R. (1998). Cost and effect: Using integrated cost system to drive profitability and performance. Boston: Harvard Business School Press.