ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและ การฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

Main Article Content

เลิศศิลป เอี่ยมพงษ์
พฤกษ์ ไชยกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียม
ความพร้อมก่อนผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในระยะแรก กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมใน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติจำนวน 32 คน  และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดจำนวน 32 ราย การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลกลุ่มควบคุมก่อนกลุ่มทดลอง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2560


ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p <0.001)
การฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมพบว่ากลุ่มทดลองมีระยะทางการเดินในทางราบภายในเวลา 6 นาทีและพิสัยการเหยียดการงอข้อเข่ามากกว่ากลุ่มควบคุม (p <0.001)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนิภา ยอยืนยง. (2556). ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล).
ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2534). การลดความวิตกกังวลของพยาบาลประจำการที่ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยวิธีปรับเปลี่ยนความคิดร่วมกับการฝึกสติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต ภาควิชาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
มนทกานต์ ยอดราช และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2556). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการออกกําลังกายด้วยยางยืดต่อความรู้และความสามารถในการทําหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(3). 63-75.
สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป และคณะ. (2555). ผลของการจัดการความปวดแบบประคบเย็นร่วมกับ โปรแกรมการออกกำลังกายต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสภาการ พยาบาล, 27(3), 77-90.
อรุณศรี ชัยทองสกุล. (2558). ผลการให้ข้อมูลตามแนวทางการปฏิบัติของพยาบาลห้องผ่าตัดต่อความวิตกกังวล ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้ารับการผ่าตัดในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสงขลา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 29(2), 29-40. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/52556
Cremeans-Smith, J. K., Greene, K., & Delahanty, D. L. (2016). Physiological Indices of Stress Prior to and Following Total Knee Arthroplasty Predict the Occurrence of Severe Post-Operative Pain. Pain Med, 17(5), 970-979.
Holm, B., Kristensen, M. T., Bencke, J., Husted, H., Kehlet, H., & Bandholm, T. (2010). Loss of knee-extension strength is related to knee swelling after total knee arthroplasty. Arch Phys Med Rehabil, 91(11), 1770-1776.
Hoogeboom, T.J., van Meeteren, N.L., Schank, K., Kim, R.H., Miner, T., & Stevens-Lapsley, J.E. (2015). Risk factors for delayed inpatient functional recovery after total knee arthroplasty. Biomed Res Int, doi:10.1155/2015/167643
Ibrahim, M.S., Alazzawi, S., Nizam, I., & Haddad, F.S. (2013). An evidence-based review of enhanced recovery interventions in knee replacement surgery. Ann R Coll Surg Engl, 95(6), 386-389. doi:10.1308/003588413X13629960046435
Korean Knee Society. (2012). Guidelines for the management of postoperative pain after total knee arthroplasty. Knee Surg Relat Res, 24(4), 201-207.
Lowe, J., Barker, K.L., Dewey, M. & Sackley, M. (2007). Effectiveness of physiotherapy exercise after knee arthroplasty for osteoarthritis: Systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. BMJ, 335, 812-21.
Meleis, A.I., Sawyer, L.M., Im, E.O., Messias, D.K.H., & Schumacher, K. (2000). Experiencing transitions: An emerging middle-range theory. Advances in Nursing Science, 23(1), 12-28.
Polit, D.F. & Beck, C.T. (2008). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice (8th ed.). Philadeldia: Lippincortt Williams.