Quality improvement project Innovation: “3P” protection pressure injury paper

Main Article Content

พุทธชาติ ใจกาศ

Abstract

ชื่อโครงการ


นวัตกรรม “3P” กระดาษป้องกันการปนเปื้อนแผลกดทับบริเวณก้นกบ


 


ที่มา/มูลเหตุจูงใจ


แผลกดทับ (pressure injury) เป็นปัญหาสำคัญที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล จากสาเหตุการสูญเสียหรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของสมรรถนะร่างกาย ตำแหน่งที่พบแผลกดทับมากที่สุดคือบริเวณก้นกบ (วิจิตร ศรีสุพรรณ, 2553) ผลกระทบของแผลกดทับพบได้ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่น ไม่สุขสบายจากอาการปวด คุณภาพชีวิตลดลง เพิ่มระยะเวลาการรักษา
ในโรงพยาบาลนานขึ้น ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น บุคลากรหรือผู้ดูแลมีภาระงานเพิ่มมากขึ้น จนถึงส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การฟื้นหายของแผลกดทับขึ้นกับการป้องกันการติดเชื้อ การส่งเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย และการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมรอบแผลที่เหมาะสม (วิจิตร ศรีสุพรรณ, 2553) เช่น การดูแลให้แผลอยู่นิ่ง  การทำแผลโดยการปิดแผลเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และการควบคุมสิ่งแวดล้อมของแผลให้มีความชุ่มชื้นคงที่ จะช่วยให้แผลมีการสร้างเนื้อเยื่อบุผิวเร็วขึ้นเป็นสองเท่า ฟื้นหายเร็วขึ้นและไม่ก่อให้เกิดการตกสะเก็ดที่หนาหรือมีร่องรอยแผลเป็น (รุ่งทิวา ชอบชื่น, 2556)



*Corresponding author e-mail: putthachat@nmu.ac.th, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิาช


 


 



แผลกดทับบริเวณก้นกบเป็นความท้าทายในการดูแล เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีโอกาสปนเปื้อนอุจจาระมาก เพราะอยู่ใกล้บริเวณช่องทางขับถ่าย การเลือกใช้วัสดุไม่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ห่อหุ้มหรือ
คลุมแผลเพื่อกันน้ำได้อย่างมิดชิด เพราะต้องเน้นให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนเพื่อส่งเสริมกระบวนการหาย
ของแผล หากเลือกใช้วัสดุที่ดี ราคาแพง แต่เมื่อมีการปนเปื้อนจากอุจจาระและปัสสาวะจนแผลเปียกชื้น
ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนวัสดุทำแผล จนเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วยและครอบครัว การเช็ดถูบาดแผลบ่อยครั้งยังเป็น
การทำลายเนื้อเยื่ออ่อนที่เจริญเติบโตขึ้นมาใหม่และทำให้อุณหภูมิของแผลลดลง การทำแผลที่มากเกินไป
จึงรบกวนกระบวนการหายของแผล (รุ่งทิวา ชอบชื่น, 2556) การปกป้องไม่ให้แผลกดทับที่ก้นกบเพิ่มระดับความรุนแรงยิ่งขึ้นพร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการหายของบาดแผลเร็วขึ้นจึงเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาล
ในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล  


สรุปผล


นวัตกรรม “3 P” สามารถช่วยลดอัตราการปนเปื้อนแผลกดทับบริเวณก้นกบ และลดค่าใช้จ่ายในการทำแผลกดทับบริเวณก้นกบ โดยขั้นตอนการใช้นวัตกรรม “3 P” มีความสะดวกและไม่ยุ่งยาก       

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ใจกาศ พ. (2018). Quality improvement project Innovation: “3P” protection pressure injury paper. Vajira Nursing Journal, 20(2), 50–54. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/160443
Section
miscellaneous

References

รุ่งทิวา ชอบชื่น. (2556). Nursing care in pressure sore. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28, 41-46.
วิจิตร ศรีสุพรรณ. (2553). การดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ. เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.