ผลของการใส่สายรัดข้อมือ (TR band) ภายหลังการเจาะเลือด ต่อภาวะเลือดออกง่ายในผู้ป่วยที่ได้รับยาเฮพาริน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการห้ามเลือด 3 รูปแบบและการเกิดภาวะเลือดออกง่ายหลังการเจาะเลือดผู้ป่วยที่ได้รับยาเฮพาริน โดยใช้กรอบแนวคิดพื้นฐานจากกลไกการห้ามเลือดเป็นแนวทางในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 รายที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2558 – กันยายน 2561 มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มโดยวิธีจับฉลาก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 33 รายจะได้รับเทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 1 รูปแบบปกติ กลุ่มทดลอง 1 จำนวน 32 รายจะได้รับเทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 2 การใส่สายรัดข้อมือใส่ปริมาตรลม 13 มิลลิลิตรนาน 10 นาทีและกลุ่มทดลอง 2 จำนวน 37 รายจะได้รับเทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 3 การใส่สายรัดข้อมือใส่ปริมาตรลม 13 มิลลิลิตรนาน 20 นาที เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะเลือดออกง่ายที่ผิวหนัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติอ้างอิงโดยนำมาทดสอบแบบฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า เทคนิคการห้ามเลือด 3 รูปแบบและการเกิดภาวะเลือดออกง่ายหลังการเจาะเลือดผู้ป่วยที่ได้รับยาเฮพารินไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยเทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 1 พบการเกิดภาวะเลือดออกง่ายจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 15.20) เทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 2 พบการเกิดภาวะเลือดออกง่ายจำนวน 3 ราย (ร้อยละ 9.40) และเทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 3 พบการเกิดภาวะเลือดออกง่ายจำนวน 3 ราย (ร้อยละ 8.10) ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นวิธีการห้ามเลือดหลังการเจาะเลือดผู้ป่วยที่ได้รับ ยาเฮพารินทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดออกง่าย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
ธนัญญา บุณยศิรินันท์ และศรีกุล จิรกาญจนากร. (2554). Emergency Drug in Cardiology: ใน ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ และเรวัตร พันธุ์กิ่งทองคำ (บก.), ภาวะฉุกเฉินระบบหัวใจและหลอดเลือด (หน้า 286-342). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
พลภัทร โรจน์นครินทร์. (2553). โรคเลือดออกง่ายและอุดตันในเขตร้อน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัทรี จันทร์น้อย. (2558). การเจาะเลือด. เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2558, จากhttp://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=2653.
สุปาณี เสนาดิสัย และวรรณภา ประไพพานิช (บก.). (2554). การพยาบาลพื้นฐาน แนวคิดและการปฏิบัติ.(พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: รามาธิบดี.
อภิชาต สุคนธสรรพ์ (บก.). (2553). Coronary Artery Disease: The New Frontiers. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.
อำพร ไตรภัทร.(2552). กระบวนการห้ามเลือดและการทดสอบทางห้องปฏิบัติการด้านกระบวนการห้ามเลือด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Abercrombie, D. D., et al. (2011). Professional guide to signs & symptoms (6th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Carrington, C., Mann, R., & El-Jack, S. (2009). An accelerated hemostasis protocol following transradial cardiac catheterization is safe and may shorten stay. Journal of Intervention Cardiology, 22(6), 571-575.
Cubero, J. M., et al. (2009). Radial compression guided by mean artery pressure versus standard compression with a pneumatic device (RACOMAP). Catheterization and Cardiovascular Interventions, 73(4), 467-472.
Godfrey, E.M., Godfrey, A. L., Perry, D. J., & Shaw, A. S. (2011). Don’t be a clot: a radiologist’s guide to haemostasis including novel antiplatelet and anticoagulant therapies. Clinical Radiology, 66, 693-700.
Lima-Oliveira, G., Lippi, G., Salvagno, G.I., Montagnana, M., Pichety G, & Guid, G.C. (2012). Impact of the phlebotomy training based on CLSI/NCCLS H03-A6-produres for the collection of diagnostic blood specimens by venipuncture. Biochemia Medical, 22(3), 342-51.
Terumo Tokyo. (2015). Vascular solutions stops sales of R-Band radial hemostasis device pending from Terumo ligation. Retrieved July 9, 2015, from web site :http://terumois.com/product.html.