การศึกษานำร่องโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กล่าช้า โดยใช้แนวทาง DIR/Floortime
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์การศึกษา 1) ศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการด้านอารมณ์สังคมของเด็กพัฒนาการล่าช้าก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม 2) ศึกษาเปรียบเทียบทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทาง DIR/Floortime ของผู้ปกครอง ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม และ 3) ศึกษาความเครียดของผู้ปกครองก่อนและหลังเข้าโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กพัฒนาการล่าช้า อายุระหว่าง 1-6 ปี ที่ผู้ปกครองพามารับบริการ ณ คลินิกพัฒนาการเด็ก สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จำนวน 10 ครอบครัว เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กล่าช้า โดยใช้แนวทางDIR/Floortime แบบรายบุคคล ครั้งละ 1 ชั่วโมง (2 ครั้ง/เดือน) ระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเน้นกระบวนการฝึกสอนผู้ปกครอง ดังนี้ 1) การพูดคุยสร้างสัมพันธภาพและประเมินพัฒนาการเด็ก 2) การสาธิต 3) การช่วยปรับเทคนิคการเล่นกับลูก 4) การช่วยให้ผู้ปกครองสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ 5) การให้คำแนะนำการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของเด็กและผู้ปกครอง แบบทดสอบพัฒนาการเด็ก Denver II (ฉบับภาษาไทย) แบบประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์สังคม (Social emotional gowth chart) แบบประเมินทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทาง DIR/Floortime (I-CARE assessment) และแบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติบรรยาย และ Wilcoxin Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม 1) เด็กพัฒนาการล่าช้า มีคะแนนพัฒนาการด้านอารมณ์สังคมเพิ่มขึ้น และ 2) ผู้ปกครองมีคะแนนทักษะการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทาง DIR/Floortime (I-CARE) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 3) คะแนนความเครียดของผู้ปกครองไม่มีความแตกต่างกัน (p>.05)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2553). คู่มือการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกแบบองค์รวม (เทคนิค DIR/ฟลอร์ไทม์). กรุงเทพ.
แก้วตา นพมณีจำรัสเสิศ. (2556). คุณภาพเด็กปฐมวัยไทย.ใน สุริยเดว ทรีปาตี และ วิมลทิพย์ มุกสิกพันธ์ (บรรณาธิการ), คุณภาพเด็กชีวิตเด็ก 2556. (น.47-59). โรงพิมพ์แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด
แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ. (2558). การส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษ อย่างเป็นองค์รวม ฉบับความสุข. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. สืบค้นจาก https://www.mahidolclinic.com
แก้วตา นพมณีจำรัศเลิศ. (2561). การส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทาง DIR/ฟลอร์ไทม์. ใน สุรีย์ลักษณ์ สุจจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, บานชื่น เบญจสุวรรณเทพ, อดิศร์สุดา เฟืองฟู, จริยา จุฑาภิสิทธิ์, พัฎ โรจน์มหามงคล. (บรรณาธิการ). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก. (น.247-262). กรุงเทพ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
แก้วตา นพมณีจำรัสเสิศ และคณะ. (2559). งานวิจัยติดตามผลรักษาเด็กออทิสติกที่ใช้แนวทางDIR/Floortime: คลินิกพัฒนาการเด็ก สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. วารสารกุมารแพทย์, 55(4), 284 - 292.
ชไมพร พงษ์พานิช และคณะ. (2555). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะครอบครัวสำหรับผู้ปกครองและผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติก ตามแนวจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(1), 11-25.
รังสินี ผลาภิรมย์ และคณะ. (2553). ผลของโปรแกรมการสร้างพลังใจในมารดาต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการกำกับดูแลเด็กพัฒนาการล่าช้า. วารสารพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, 28(4), 68-75.
Greenspan, S.I. (2004). Social-Emotional Growth Chart: A screening questionnaire for infants and young children. San Antonio: Harcourt Assessment.
Greenspan, S.I., & Wieder, S. (1998). The Child with Special Needs: Encouraging Intellectual and Emotional Growth. United States of America: DA Capo Press.
Hsieh, W.H., Lee, W.C., & Hsieh, R.L. (2018). Effects of a family-centered workshop for children with developmental delays. Medicine, 97:36.
Pajareya, K., & Nopmaneejumruslers, K. (2011). A pilot randomized control trial of DIR/FloortimeTM parent training intervention for pre-school children with autism disorders. Autism Journal, 15(5), 563-577.
Pajareya, K., & Nopmaneejumruslers, K. (2012). A One-year prospective follow-up study of a DIR/FloortimeTM parent training intervention for pre-school children with Autistic Spectrum Disorders. Journal of the Medical Association of Thailand, 95(9), 1184-93.
Shu-Ting, L., Yea-Shwu, H., Yung-Jung, C., Peichin, L., Shin-Jaw, C., & Ling-Yi, L. (2014). Homebased DIR/FloortimeTM Intervention Program for Preschool Children with Autism Spectrum Disorders: Preliminary Findings. Physical and occupational therapy in Pediatrics, 1-12.
Yuwapoom, W., & Nopmaneejumruslers, K. (2017). A Study of the Holistic Approach to Child Development According to the DIR/Floortime Concept: Banlat Hospital Phetchaburi. International Journal of Child Development and Mental Health, 5(1), 43-54.