ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการไม่พึงประสงค์หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการไม่พึงประสงค์หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในแผนกผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ระหว่างเดือน มกราคม ถึงเดือน มิถุนายน 2559 จำนวน 85 ราย รวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบเก็บข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางคลินิก อาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางคลินิก ต่ออาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้ Multiple logistic regression คัดเลือกตัวแปรแบบขั้นตอน Stepwise methodผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยมีอาการท้องผูก ร้อยละ 69.40 มีการเสียเลือดมากกว่าปริมาณเลือดที่ยอมให้เสีย ร้อยละ 63.50 เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังผ่าตัด ร้อยละ 45.90 เกิดอาการหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis ) ร้อยละ 4.70 โดยพบว่าความสัมพันธ์ด้านอายุในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 61-70 ปี ที่ได้รับการระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง หรือช่องเหนือไขสันหลัง (Spinal or epidural anesthesia) มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนน้อยกว่ากลุ่มที่มีอายุมากกว่า 70 ปี (OR ad j= 5.76; 95% CI 1.26-126.40) และในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุ ≤ 60 ปี ที่ได้รับการระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง หรือช่องเหนือไขสันหลัง (Spinal or epidural anesthesia) มีโอกาสเกิดความเจ็บปวดที่>7 คะแนนหลังผ่าตัดมากกว่ากลุ่มอายุที่มีอายุ>70 ปี (OR ad j= 7.32; 95%CI 1.79-29.88) ความสัมพันธ์ด้านดัชนีมวลกายต่ออาการไม่พึงประสงค์หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายระดับอ้วนที่ได้รับการระงับความรู้สึกทางไขสันหลังหรือช่องเหนือไขสันหลัง(Spinal or epidural anesthesia) มีโอกาสเกิดการเสียเลือดมากกว่าปริมาณเลือดที่ยอมให้เสียมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายปกติ (ORad j = 10.51; 95% CI 2.01-55.11) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาล และทีมสุขภาพควรให้คำแนะนำการควบคุมน้ำหนัก ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนการผ่าตัด และควรมีการวางแผนควบคุมอาการปวดก่อนการผ่าตัดเพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเปลี่ยนเข่าเทียม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กิตติพงศ์ ศรีทองกุล. (2012). การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty). สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน2559 จาก http//www.orthosriracha.com/begin-ankle.php
จินตนา พรรณเนตร.(2556). ผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกที่พัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 38(3),158-166.
ชนิดา อนุวัชนวิทย์. (2555). การศึกษาผลการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลตราด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า,29(2), 121-131.
ธิรดา จิ่มอาษาและคณะ. (2557) .การสร้างแนวทางป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิสัญญีสา ร, 40(2), 97-110.
มยุรา จรรยารักษ์. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยข้อเข่าเทียม. วารสารชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, 19 (1), 6-22.
มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์. (2543). อาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด. ศรีนครินทร์เวชสาร, 15(4), 282-288.
เรณู อาจสาลี. (2551). ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด. ใน ผ่องศรี ศรีมรกต (บรรณาธิการ), การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ เล่ม 1, กรุงเทพฯ:ไอกรุ๊ป เพรส.
วรรณีสัตยวิวัฒน์. (2553). การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส.
วัชรี มุกด์ธนะอนันต์.(2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด.วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 27(2),162-171.
ปาริชาติ จันทร์สุนทราพร. (2548). การศึกษาการจัดการเกี่ยวกับอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล).
อสมา วาณิชตันติกุล. (2011). Preoperative and Postoperative Care. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2559 จาก http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index. php?option =com_content&view=article&id=670:preoperative-and-postoperative-care&catid=45:topic-review&Itemid=561.
อารีย์ ตนาวลี และคณะ. (2551). ตำราศัลยศาสตร์ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม. ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 เล่มที่ 1: ข้อเข่า. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร.
อุ้มจิต วิทยาไพโรจน์ และคณะ. (2560). เทคนิคการระงับปวดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม.ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(1), 71-79.
Hohler, E.(2008). Total knee arthoplasty: Pasr successes and current improvement. Aorn Journal, 87(1) : 143 – 157.
Kane R L, Saleh KJ, Wilt TJ, Bershadsky B. (2005).The Functional Outcomes of Total Knee Arthroplasty.JBJS; 87(8): 1719-1723.
Wiladsakdanon, S.,etal. (2009). Predicting factors for excessive intraoperative blood loss during abdominal hysterectomy for benign gynecologic diseases. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. 17,116-121