กิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ: ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรวัยสูงอายุอย่างรวดเร็วส่งผลถึงความต้องการการดูแลด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นตามเช่นเดียวกัน ในขณะที่ทุกคนต่างคาดหวังว่าจะมีอายุยืนยาวและมีสุขภาพดี แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักมีโรคประจำตัวอย่างน้อยคนละ 1 โรค อย่างไรก็ตามการปรับแบบแผนการดำเนินชีวิต เช่น การมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น สามารถส่งเสริมให้เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะที่ดี ซึ่งเป็นผลจากการทำหน้าที่ที่ประสานกันทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ช่วยลดผลกระทบจากความเสี่ยงของโรคเรื้อรังหรือปัญหาสุขภาพ แต่การที่ผู้สูงอายุจะทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นได้นั้น การรับรู้สมรรถนะของตนเองเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากเมื่อผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองจะเกิดการรับรู้ความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการออกมีกิจกรรมทางกาย และเกิดความมั่นใจในการที่จะปฏิบัติพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และยั่งยืนต่อไป ส่งผลให้ผู้สูงอายุเป็นอิสระจากภาวะพึ่งพา ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กุลทัต หงส์ชยางกูร, พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ และ ญัตติพงศ์ แก้วทอง. (2561). คู่มือการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ในคนไทย. สงขลา: สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
คณะกรรมการพัฒนาแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย. (2561). แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๗๓). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ชลธิชา จันทร์คีรี. (2559). การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เปราะบาง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(2), 1-13.
ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, อรณา จันทรศิริ และ ปฏิญญา พงษ์ราศรี. (บก.). (2560). ข้อแนะนำการส่งเสริม กิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับสำหรับผู้สูงวัย (ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป). นนทบุรี: กรมอนามัย
ดุษณี เกศวยุธ. (2561). การใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง ความพึงพอใจในชีวิต และความสามารถทางปัญญา. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ
นพนัฐ จำปาเทศ, ละเอียด แจ่มจันทร์ และ พัชราภรณ์ ฝ่ายหมื่นไวย์. (2561). บทบาทพยาบาลในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 153 – 164.
ปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2556). การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. ในประเสริฐ อัสสันตชัย (บรรณาธิการ).ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน (พิมพ์ครั้งที่ 4). (หน้า 399 – 424). กรุงเทพฯ. ยูเนี่ยนครีเอชั่น.
ปรียาภรณ์ นิลนนท์, ยุวดี รอดจากภัย และ นิรัตน์ อิมามี. (2560). การรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์, 1(2), 93 – 100.
มยุรา สร้อยชื่อ, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช และ ธราดล เก่งการพานิช. (2560). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแกว่งแขนโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุระดับต้นในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(2), 73 – 83.
มินตรา สาระรักษ์. (2558). การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยสูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 17(1), 23 – 36.
วิชัย เอกพลากร. (บก.). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
วีระวัฒน์ แซ่จิว. (2559). กิจกรรมทางกายและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกาลังกายและการกีฬา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุปราณี หมื่นยา. (2560). การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ: ประยุกต์ใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชะนี อุตรดิตถ์, 9(1), 59 – 69.
อัจฉรา ปุราคม และคณะ. (2559). รูปแบบกิจกรรมทางกายเพื่อลดการเสื่อมถอยของสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายสาหรับผู้สูงอายุ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
อวยพร ตั้งธงชัย, ณัฐยา แก้วมุกดา, พีระเดช มาลีหอม, และมาสริน ศุกลปักษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อพัฒนาความอยู่ดีมีสุขเชิงอัตวิสัยของผู้สูงอายุ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 135 – 143.
American College of Sports Medicine. (2018). ACSM’s Guidelines for Exercise Testing and Prescription. (10ed). Philadelphia: Wolters Kluwer.
Hayden, J. (2009). Introduction to health behavior theory. United States of America: Jones and Bartlett Publishers.
Loyen, A., Clarke-Cornwell, M. A., Anderssen, A. S., Hagstromer, M., Sardinha, B, L., Sundquist, K., Ekelund, U., Steene-Johannessen, J., et al. (2017). Sedentary time and physical activity surveillance through accelerometer pooling in four European countries. Sports Med, 47, 1421 - 1435. DOI 10.1007/s40279-016-0658-y
National Center for Chronic Disease Prevention and Health Promotion. (2014). Physical Activity and Health Older Adults. Retrieved 17 February 2016, from Web site: http://www.cdc.gov/nccdphp/sgr/pdf/olderad.pdf
World Health Organization. (2019). Global Recommendations on Physical Activity for Health. Retrieved 10 May 2019, from Web site: https://www.who.int/dietphysicalactivity/factsheet_inactivity/en/
World Health Organization. (2011). Global Recommendations on Physical Activity for Health. Retrieved 15 June 2019, from Web site: https://www.who.int/dietphysicalactivity/physical-activity-recommendations- 65years.pdf?ua=1