ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยใช้รูปแบบ METHOD-P ต่อความรู้ในการจัดการกับอาการไม่พึงประสงค์หลังรับยาเคมีบำบัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ one group pretest-posttest design วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ในการจัดการกับอาการไม่พึงประสงค์หลังรับยาเคมีบำบัด ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ระหว่างก่อนและหลังการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโดยใช้รูปแบบ METHOD-P กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยมหาวชิราวุธ 6A คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย สมุดประจำตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด คู่มือการดูแลตนเอง สื่อวีดีทัศน์และเอกสารสูตรยาเคมีบำบัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบติดตามอุบัติการณ์อาการไม่พึ่งประสงค์หลังรับยาเคมีบำบัดและแบบทดสอบความรู้ในการจัดการกับอาการไม่พึงประสงค์ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและหาค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ( KR-20 ) เท่ากับ 0.95 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์เครื่องมือด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ในการจัดการกับอาการไม่พึงประสงค์ด้วยสถิติ paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรู้ในการจัดการกับอาการไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยหลังได้รับการวางแผนจำหน่ายรูปแบบ METHOD-P สูงกว่าก่อนการวางแผนจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงสาธารณสุข, ส. ก. (2560). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร:พรทรัพย์การพิมพ์ จำกัด.
กัลยา เข็มเป้า. (2552). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารกองการพยาบาล, 36(3), 113-132.
กิ่งกาญจน์ ชุ่มจำรัส และ พชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2561). ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเจาะคอ ต่อความรู้ความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอ และความพึงพอใจของผู้ดูแลในหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 124-134.
คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ. (2561). แผนการป้องกันและควบคุม โรคมะเร็งแห่งชาติ National Cancer Control Programme (พ.ศ. 2561 - 2565). กรุงเทพมหานคร : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
คู่ขวัญ มาลีวงษ์ และกัญญดา ประจุศิลปะ. (2562). การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 63(4), 273-282.
ฐาปณี อบอุ่น, จินตหรา โกพล, ปุ้ม ภูสาหัส, ศุภิญญา ถิรศิลาเวทย์, ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, ภาณุมาศ ภูมาศ และธีระพงษ์ ศรีศิลป์. (2555). การติดตามอาการไม่พึงประสงค์และการให้คําแนะนําในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบําบัด ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม.เอกสารการประชุมและนำเสนอผลงานระดับชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฐิติพร เรือนกุล, ปิยะนุช ชูโต และพรรณพิไล ศรีอาภรณ์. (2562). ผลของโปรแกรมการสอนก่อนจำหน่ายต่อความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในผู้ดป็นมารดาครั้งแรก. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 22(1), 40-51.
ณัฐรมย์ ชุติกาโม, รุ้งระวี นาวีเจริญ และวรุตม์ โล่ห์สิริวัฒน์. (2560). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียม. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 103-116.
ประดับเพชร กล้าทางถูก และบุษบา สมใจวงษ์. (2556). อุบัติการณ์ของการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบําบัด สูตรที่มี 5-FU หยดเข้าหลอดเลือดดําเป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 4 ชั่วโมง.บทความงานวิจัย นำเสนอในการประชุมระดับบัฒฑิตศึกษา, มหาวัทยาลัยขอนแก่น.
ปริศนา แผ้วชนะ และวีณา จีระแพทย์. (2557). ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 26(3), 61-71.
พรพิมล เลิศพานิช, อำภาพร นามวงศ์พรหม และ น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2560). ประสบการณ์อาการ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบำบัด. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(1), 45-55.
พัชรินทร์ แก้วรัตน์, วรรณา ฉายอรุณ และ วาสินี วิเศษฤทธิ์. (2560). ประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ขณะรักษาด้วยเคมีบำบัด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 224-234.
รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม, นงลักษณ์ ว่องวิษณุพงศ์ และ สุดจิต ไตรประคอง. (2557). ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสภาการพยาบาล, 29(2), 101-113.
เรวดี อุดม. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง หลังได้รับการวางแผนจำหน่ายในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. งานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ.
วราภรณ์ เขมโชติกูร, สุกัญญา ศรีสง่า และ สุนทรีย์ ศิริพรอดุลศิลป์. (2555). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ หอผู้ป่วย หู คอ จมูก โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(3), 146-152.
วารินทร์ วัฒนานนท์เสถียร และ มธุสร ปลาโพธิ์. (2561). ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย โดยใช้รูปแบบ D-M-E-T-H-O-D ต่อความรู้เรื่องโรคและความรู้ในการปฏิบัติตัว. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 78-90.
วิมลรัตน์ เดชะ และ รุ้งระวี นาวีเจริญ. (2559). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมและได้รับเคมีบำบัด. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 133-147.
สมจิตต์ อุทยานสุทธิ, ศรีนวล สถิตวิทยานันท์ และ วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด โรงพยาบาลตำรวจ. 7(2), 145-160.
สุภัสร์ สุบงกช, วรัญญา ครองแก้ว, นภาภรณ์ อุดมผล, นภาวรรณ ล้ออิสระตระกูล และเพ็ญพร พรรณา. (2560). คู่มือมาตรฐาน การทำงานเกี่ยวกับยาเคมีบำบัดและการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยา. กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดาการพิมพ์ จำกัด.
โสฬส อนุชปรีดา, ประพิมพรรณ อําพันทรัพย์, ปัทม์ดวงพักตร์ เพ็งสุทธิ์, รัชดาภรณ์ วรรณสุ, เจนจิรา บัวเชย, และจุลจักร ลิ่มศรีวิไล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจพบติ่งเนื้อที่ลําไส้ใหญ่ในผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ. วารสารมะเร็ง, 38(4), 145-153.
อุบล จ๋วงพานิช, ณัฏฐ์ชญา ไชยวงษ์ และ จุรีพร อุ่นบุญเรือน. (2551). ผลของการใช้โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 16(3), 31-42.
Colagiuri, B., Dhillon, H., Butow, P. N., Jansen, J., Cox, K., & Jacquet, J. (2013). Does assessing patients' expectancies about chemotherapy side effects influence their occurrence. Journal of Pain and Symptom Management, 46(2),275-281. doi:10.1016/j.jpainsymman.2012.07.013
Geng, F., Wang, Z., Yin, H., Yu, J., & Cao, B. (2017). Molecular Targeted Drugs and Treatment of Colorectal Cancer: Recent Progress and Future Perspectives. Cancer Biother Radiopharm, 32(5), 149-160. doi:10.1089/cbr.2017.2210
Gharaibeh, H., Amarneh, B. H., & Zamzam, S. Z. (2009). The psychological burden of patients with beta thalassemia major in Syria. Pediatric Int, 51(5), 630-636. doi:10.1111/j.1442-200X.2009.02833.x
Kidd, L., Kearney, N., O'Carroll, R., & Hubbard, G. (2008). Experiences of self-care in patients with colorectal cancer: a longitudinal study. Journal Advance Nursing, 64(5), 469-477. doi:10.1111/j.1365-2648.2008.04796.x
Mollaoglu, M., & Erdogan, G. (2014). Effect on symptom control of structured information given to patients receiving chemotherapy. European Journal Oncology Nursing, 18(1), 78-84. doi:10.1016/j.ejon.2013.07.006
Ream, E., Richardson, A., & Alexander-Dann, C. (2006). Supportive intervention for fatigue in patients undergoing chemotherapy: a randomized controlled trial. Journal of Pain Symptom Management, 31(2), 148-161. doi:10.1016/j.jpainsymman.2005.07.003
Stark, L., Tofthagen, C., Visovsky, C., & McMillan, S. C. (2012). The Symptom Experience of Patients with Cancer. Journal Hospital Palliative Nursing, 14(1), 61-70. doi:10.1097/NJH.0b013e318236de5c
Sonis, S. T., Eilers, J. P., Epstein, J. B., LeVeque, F. G., Liggett, W. H., Jr., Mulagha, M. T., & Wittes, J. P. (1999). Validation of a new scoring system for the assessment of clinical trial research of oral mucositis induced by radiation or chemotherapy. Mucositis Study Group. Cancer, 85(10), 2103-2113.