บทบาทพยาบาล: การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
พยาบาลถือเป็นบุคลากรสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย โดยไม่ได้มีหน้าที่เพียงเป็นผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น พยาบาลยังต้องพัฒนาศาสตร์ทางการพยาบาลให้ทันสมัย ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งความซับซ้อนของโรค บุคคล และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดองค์ความรู้เฉพาะทางการพยาบาลในการดูแลสุขภาพ ดังเช่น แนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทั้งในด้านการรักษา ปัจจัยการเกิดโรค การเข้าถึงระบบการดูแล หากพยาบาลเข้าใจ และปรับตัวถึงกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกมิติทั้ง 4 มโนทัศน์ คือ ความเป็นปัจเจกบุคคล วัฒนธรรม ครอบครัว ชุมชน สิ่งที่เป็นอยู่ในตัวบุคคลทั้งภายในภายนอก รวมทั้งศาสนา วัฒนธรรม สังคม นโยบาย เศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์ กระบวนการของคนในขณะที่มีชีวิตหรือใกล้ตาย และการปฏิบัติการโดยพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ รวมทั้งผลลัพธ์ของการปฏิบัติ จะสามารถช่วยให้บทบาทพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในทุกระดับของระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยประสบความสำเร็จ อุบัติการณ์ลดลง ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กีรติ บุญเจือ. (2521). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ชาย โพธิสิตา. (2549). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2549). ปรัชญากับวิถีชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
พระธรรมโกศาจารย์. (2550). ปรัชญากรีก: บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
รัตนะ บัวสนธ์. (2551) .ปรัชญาวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2552). การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ.กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สงวน นิตยารัมภพงศ.์ (2556). การบริหารระบบสุขภาพในท้องถิ่นกับอนาคตระบบสุขภาพไทย. นครปฐม:สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมจิต หนุเจริญกุล. (2544). ศาสตร์ทางการพยาบาล. ใน การพยาบาล : ศาสตร์ของการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). ทฤษฎีสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดม บัวศรี, (2544) .ปรัชญา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Anne, B., Lori, R. and Angela, L. (2014). Understanding Philosophy in a Nurse’s World: What, Where and Why?. Nursing and Health, 2(3): 65-71.
Brink, H. (1992). The science of nursing: current issues and dilemmas. Curationis, 15 (2); 12-19.
Butts, B. J and Rich, L. K. (2015). Philosophies and theories for advanced nursing practice. (2 nd ed.). Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning.
Cody, W. K. (2013). Philosophical and theoretical perspectives for advanced nursing practice. (5th ed.). Burlington, MA : Jones & Bartlett Learning.
Dahnke, M. D. and Dreher, M. H. (2011). Philosophy of science for nursing practice : concepts and application. New York : Springer Pub.
DeWitt, R. (2010). Worldviews : an introduction to the history and philosophy ofscience. (2nd ed.). Chichester, West Sussex, U.K. ; Malden, MA : Wiley-Blackwell.
Edwards, S.D. (1997). What is philosophy of nursing. Journal of Advanced Nursing, 25: 1089-1093.
Edwards, S.D. (2001). Philosophy of nursing : An introduction. New York: Palgrave Publishers.
Jan, R., Ian, G. (1997). Philosophy for nursing. London: Arnold.
Leaman, O. (2000). Eastern philosophy: key reading. London: Routledge.
Meleis, A. I. (2012). Theoretical nursing: Development & progress. (5th ed). Pennsylvania: Wolters Kluwer Health Lippincott Williams & Wikins.
McEwan, M. & Will, E. M. (2011). Theoretical basis for nursing. (3th ed).Philadelphia: Wolters Kluwer Health Lippincott Williams & Wikins.
McEwan, M. and Will, E.M. (2014). Theoretical basis for nursing. (4th ed). Philadelphia: Wolters Kluwer Health Lippincott Williams & Wikins.
Rodgers, B. L. (2005). Developing Nursing Knowledge: Philosophical Traditions and Influences. Lippincott Williams & Wilkins.