การศึกษาติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิก Comprehensive NCD clinic โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี (Poor control) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานใน Comprehensive NCD clinic โรงพยาบาลวชิรพยาบาล จำนวน 30 ราย ที่เข้ารับบริการครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 และมาตรวจตามนัดต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ในผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดและไม่มีการปรับเพิ่มยาตลอดการติดตาม 18 เดือน ติดตามผลของน้ำตาลสะสม (HbA1C) หลังจากรับบริการครั้งแรกจนถึงเดือนที่ 18 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบประเมินแรกเข้า Comprehensive NCD clinic วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ผลของน้ำตาลสะสม (HbA1C) ด้วยสถิติ Linear mixed model โดยโปรแกรม Stata
ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) หลังติดตามทุก 3 เดือน พบว่า เดือนที่ 3 ลดลง 1.57 (95%CI: -2.05 to -1.09) เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) เดือนที่ 6 ลดลง 2.05 (95%CI: -2.58 to -1.52) เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value < 0.001) เดือนที่ 9 ลดลง 2.34 (95%CI: -2.95 to -1.74) เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) เดือนที่ 12 ลดลง 2.13 (95%CI: -2.65 to -1.62) เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) เดือนที่ 15 ลดลง 2.18 (95%CI: -2.77 to -1.59) เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) เดือนที่ 18 ลดลง 2.13 (95%CI: -2.83 to -1.44) เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) หลังติดตามผลการรักษาทุก 3 เดือน ถึง 18 เดือน โดยการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Linear mixed model พบว่า ลดลงเฉลี่ย 0.09 ต่อเดือน (95%CI: -0.12 to - 0.06) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และจะลดลงมากที่สุดเดือนที่ 9 และชะลอการลดลงเดือนที่ 12 15 และ 18
การให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ควรเพิ่มเติมหรือกระตุ้นเตือนผู้ป่วย หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้ความรู้ใหม่ที่ผู้ป่วยสนใจภายหลังได้รับการติดตามให้ความรู้ 9 เดือนเป็นต้นไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, (13)3. 256-268.
จุฑามาศ เกษศิลป์, พาณี วิรัชชกุล และอรุณี หล่อนิล. (2556). การจัดการดูแลตนเอง ความรู้ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ ก่อน-หลัง เข้าโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขต อ. เมือง จ. อุทัยธานี. วารสารกองการพยาบาล, 40, 84-103.
จุฑามาส จันทร์ฉาย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมามี. (2555). โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรค เบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 7, 69-83.
ณัฐภัสสร เดิมขุนทด และประสิทธิ์ ลีวัฒนภัทร. (2560). การศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องเบาหวานต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วชิรสารการพยาบาล, 19(1). 33-41.
ณัฐธยาน์ ประเสริฐอำไพสกุล, เกษร สำเภาทอง และชดช้อย วัฒนะ (2551) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่ไม่สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 14(3). 298-311.
ตำราการวิจัยทางคลินิก. (2554). ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทรงเดช ยศจำรัส, ปาริชา นิพพานนทน์. (2556). ผลการพัฒนาความสามารถของตนเองและการตั้งเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6, 21-30.
ทรรศนีย์ สิริวัฒนพรกุล, นงนุช โอบะ และสุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1, 57-67.
ทัศน์วรรณ พลอุทัย และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2556). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด: กรณีศึกษาในตำบลห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28, 421-430.
ทัศนีย์ ขันทอง, แสงอรุณ อิสระมาลัย และพัชรี คมจักรพันธุ์. (2556). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับนํ้าตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารสภาการพยาบาล, 28, 85-99.
ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำาตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3). 515-522.
นันนภัส พีระพฤฒิพงศ์, นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์ และอำภาพร นามวงศ์พรหม. (2556) ผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองต่อความรู้ กิจกรรมการดูแลตนเอง และค่าฮีโมโกลบินที่มีนํ้าตาลเกาะ ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30: 98-105.
บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน์, ฉัตรประอร งามอุโฆษ และน้ำเพชร สายบัวทอง. (2551) การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน ภายหลังเข้าโครงการอบรมความรู้การจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่ม. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 14: 289-297.
ปกาสิต โอวาทกานนท์, วิริยาสุนทรา. (2555). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบบกลุ่มในโรงพยาบาลทรายมูล. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27; 236-241.
ปรียาภรณ์ สวัสดิ์ศรี. (2555). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อระดับน้ำตาลในเลือดและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายโรงพยาบาลองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 23, 1-14.
พรทิพย์ มาลาธรรม, ปิยนันท์ พรหมคง, พย.ม. และ ประคอง อินทรสมบัติ. (2010). ปัจจัยทำนายระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. Rama Nursing Journal, (16)2. 218-237.
พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, ปัญจภรณ์ ยะเกษม และนรากูล พัดทอง. (2557). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเกินระดับปกติในชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติ, 18, 1-12.
พัชรี อ่างบุญตา, ลินจง โปธิบาล และณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์.(2555). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร, 39: 93-104.
ยุคลธร เธียรวรรณ, มยุรี นิรัตธราดร และชดช้อย วัฒนะ. (2555). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง. พยาบาลสาร, 39:132-143.
รุ้งระวี นาวีเจริญ, ยุพิน อังสุโรจน์ และสุรีพร ธนศิลป์. (2552). ผลของระบบการพยาบาลชี้แนะแบบหลากหลายต่อภาวะแทรกซ้อนและความพึงพอใจในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Journal of the medical association of Thailand, 92: 1101-1112.
วรรณภา ประสิทธิปาน, ฉัตรชัย ไข่เกษ. (2558). ผลของโปรแกรมการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ต่อระดับน้ำตาลสะสม. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 32: 69-82.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2553). การให้ ความรู้เพื่อจัดการโรคเบาหวานด้วย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร. (2551). เอกสารการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ร่มเย็นมีเดีย จำกัด.
อภิรดี เจริญนุกูล, ยุพารัตน์ สุริโย และปาจรีย์ ตรีนนท์. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองกับ ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 37-48.
Adepoju, O. E., Bolin, J. N., Phillips, C. D., Zhao, H., Ohsfeldt, R. L., McMaughana, D. K., Forjuoh, S. N. (2015).
Effectiveness of diabetes education and self management program (DESMOND) for people with newly diagnosis type 2 diabetes mellitus: three year follow-up of a cluster randomized controlled trial in primary care. British medicine journal, 95(1): 111–117.
American Diabetes Association (2007) Standards of medical care in diabetes–2007. Diabetes Care 30:S4–S41.
American Diabetes Association.(2015). Standard of medical care in diabetes. American Diabetes Association.; 38:S1-94.
Brown S A., Garcia A A., Brown A., Becker B J., Conn V S., Ramirez G., Winter M A., (2016). Biobehavioral determinants og glycemic control in type 2 diabetes: A systemic review and meta-analysis. Patient Education and counselling, 99, 1558-1567.
Chow, S. C., Shao, J., & Wang, H. (2003). Sample Size Calculations in Clinical Research (2nd ed.). Chapman & Hall/CRC., 51 p.
Funnell M M, Brown T L, Cilds B P, Haas L B, Hosey G M, Jensen B, et al. (2010). National standard for diabetes self-management education. Diabetes care, 33:S89-S96.
Funnell, M. M., Brown, T. L., Childs, B. P., Haas, L. B., Hosey, G. M., Jensen, B, et al. (2009). National standards for diabetes self-management education. Diabetes care, 32: S87-S94.
Hsu, C-C., & Tai, T-Y. (2014). Long-term glycemic control by a diabetes case - management program and the challenges of diabetes care in Taiwan. Diabetes Research and Clinical Practice. S328–S332.
Haas, L., Maryniuk, M., Beck, J., Cox, C. E., Duker, P., Edward, L., Kolb, L. (2012). National standard for diabetes self-management education and support. Diabetes care, 35: 2393-2401.
Jiao F., Fung C S C., Wan Y F., McGhee S M., Wong C K H., Dai D., Kwok R & Lam C L K. (2016). Effectiveness of multidisciplinary Risk Assessment and Management Program for patient with diabetes mellitus (RAMP-DM) for diabetic microvascular complication: A population -based cohort study. Diabetes & Metabolism; 42, 242-232.
Khattab M., Khader Y S., Khawaldeh A A. Ajlouni K. (2010). Factors associated with poor glycemic control among patients with type 2diabetes. Journal of Diabetes and It Complication. 24: 84-89.
Momesso, D. P., Costa Filho, R. C., Ferreira Costa, J. L., Saddy, F., Mesquita, A., Calomeni, M. Volschan, A. (2018). Impact of an inpatient multidisciplinary glucose control management program. Archives of Endocrinology and Metabolism. 62(5). 514-522.
Ngamjarus C., & Chongsuvivatwong V. (2016). N4Studies: Sample size and power calculations for android. Siriraj Medical Journal, 68:160-170.
Norris, S. L., Engelgau, M. M., Carande-Kulis, V. G. McCulloch, D. (2002). Increasing diabetes self-management education in community setting. American journal of prevention medicine, 22: 39-66.
Norris, S. L., Engelgau, M. M., & Narayan Venkat, K.M. (2001). Effectiveness of self - management training in type 2 diabetes: a systemic review of randomized controlled trial. Diabetes care, 24: 561-587.
Norris, S. L., Lau, J., Smith, S. J., Schmid, C. H., & Engelgau, M. M. (2002). Self-management education for adult with type 2 diabetes: a meta-analysis of the effect on glycemic control, Diabetes Care, 25: 1159–1171.
Ogurtsova, K., Rocha Fernandes, da, J. D.,Huang, Y., Linnenkamp, U., Guariguata, L., Cho, N. H., Makaroff, L. E. (2017). IDF Diabetes Atlas: Global estimates for the prevalence of diabetes for 2015 and 2040. Diabetes Research and Clinical Practice, 40-50.
Powers, M. A., Bardsley, J., Cypress, M., Duker, P., Funnell, M. M., Fischl, A. H., Vivian, E.(2015). Diabetes Self-management Education and Support in Type 2 Diabetes: A Joint Position Statement of the American Diabetes Association, the American Association of Diabetes Educators, and the Academy of Nutrition and Dietetics. Diabetes Care, 38:1372–1382.
Wild, S., Roglic, G., Green, A., Sicree, R. King, H. (2004). Global prevalence of diabetes. Diabetes Care, 27(5), 1047-1053.