ผลของการรับประทานแร่ธาตุสังกะสีต่อระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน Total testosterone และฮอร์โมน Estradiol ในคนอ้วนที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก./ม.2
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ Chelated Zinc ในการเปลี่ยนแปลงระดับ Total Testosterone, Estradiol (Estradiol / Total Testosterone Ratio) และประสิทธิภาพของการใช้ Chelated Zinc
วิธีการดำเนินวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกชนิดไปข้างหน้าแบบสุ่ม โดยมีการปิดบังผู้เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายและมีกลุ่มควบคุม ในทหารของกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 5 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่1 (ปตอ.1 พัน.5) อายุมากกว่า 40 ปี และค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก./ม.2
จำนวน 25 นาย โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาและทดลอง 12 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองจะได้รับ Chelated Zinc 15 mg/tablet ทาน 4 เม็ดเช้า
ผลการวิจัย : กลุ่มทดลองมีอายุในช่วง 50-59 ปี (ร้อยละ 58.3) รองลงมามีอายุในช่วง 40-49 ปี
(ร้อยละ 25.0) มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์ และมีเพียงร้อยละ 33.3 คนในครอบครัวมีประวัติโรคประจำตัว ใช้ยาลดความดันโลหิตสูง ยาลดกรดยูริค ในส่วนของกลุ่มควบคุม ส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 50-59 ปี เช่นเดียวกับกลุ่มทดลอง รองลงมามีอายุในช่วง 40-49 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว และ
มีเพียงร้อยละ 8.3 ที่มีประวัติการใช้ยา และการใช้ Chelated Zinc สามารถลดค่าดัชนีมวลกายได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)
สรุป : ผลการศึกษานี้จะเป็นทางเลือกในการป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มผู้ชายที่มีความเสี่ยง (มีอายุมากกว่า 40ปีและอยู่ในภาวะอ้วน) เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดปริมาณการให้ Chelated Zinc ในแต่ละบุคคลอย่างเหมาะสม และลดความเสี่ยง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ชุดรูปแบบบริการในการป้องกัน ควบคุมโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง สำหรับสถานบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2560. สำนักพิมพ์กิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรราชูปถัมภ์.
หะทัย เทพพิสัย. (2552). โรคอ้วนลงพุง. กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร, 2552.
Ananda S.prasad. (1996). Discovery of Human Zinc Deficiency: Its Impact on Human Health and Disease. REVIEWS FROM ASN EB 2012 SYMPOSIA. American Society for Nutrition. Adv. Nutr. 4: 176–190, 2013
Debjit Bhowmik, Chiranjib, K.P. Sampath Kumar. (2010). A potential medicinal importance of zinc in human health and chronic disease. Int J Pharm Biomed Sci 2010, 1(1), 05-11.
Drug Safetyand Availability. (2014). FDA evaluating risk of stroke, heart attack and death with FDA-approved testosterone products. เข้าถึงเมื่อ ธันวาคม 22, 2061, จาก http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/ucm383904.htm;
General Public, Healthcare Professionals, Hospitals. (2014). Information Update – Possible cardiovascular problems associated with testosterone products. เข้าถึงเมื่อ มกราคม 10, 2561, สืบค้นจาก http://healthycanadians.gc.ca/recall-alert-rappel-avis/hc-sc/2014/40587a-eng.php.
Jerzy K. Wranicz et.al. (2005). The relationship between sex hormones and lipid profile in men with coronary artery disease. International journal cardiology. Volume 101, Issue 1, Pages 105–110.
J.W.G. Yarnell et. Al. (1993). Employment Status and Risk Factors for Ischaemic Heart Disease:The Caerphilly Study. Journal of the Royal Statistical Society Series D 39(4):385.
K Koehler. (2007). Antigen-specific human antibodies from mice comprising four distinct genetic modifications. Nature International journal of science. April 2007, 856-859.
Kuehn BM. (2014). Cardiovascular risks of testosterone. JAMA 2014; 311 (12):1192. doi:10.1001/jama.2014.2602.
L.R. BRILLA AND VICTOR CONTE. (2000). Effects of a Novel Zinc-Magnesium Formulation on Hormones and Strength. JEPonline, 3(4): 26-36, 2000.
Marie Juul Ornstrup. (2015). Low testosterone as a better predictor of mortality than sarcopenia in men with advanced liver disease. Journal of Gastroenterdogy and Hepatology. Volume 31 Issue 3, September 2015.(1999) 6, 315-324.
Prasad AS, Abbasi AA, Rabbani P, DuMouchelle E. (1981). Effect of zinc supplementation on serum testosterone level in adult male sickle cell anemia subjects. Am J Hematol. 1981;10(2): 119-27.
Punset, K., Klinthuesin, S., Kingkaew, A., & Wongmeneeroj, W. (2015). Cardiovascular risk among staff working at the central of Ministry of public health using risk assessment of Rama-EGAT heart score. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 27(2), 57-70.
Stefania Frassinetti. (2006). The Role of Zinc in Life: A Review. Journal of Environmental Pathology, Toxicology and Oncology. Volume 25, 2006 Issue 3.