บทบาทพยาบาลเฉพาะทางบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่าย กับการดูแลผู้ป่วย ที่มีปัญหาภาวะผิวหนังอักเสบเนื่องจากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเกิดภาวะผิวหนังอักเสบจากอุจจาระ หรือปัสสาวะกัดเนื่องจากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ (Incontinence Associated Dermatitis: IAD) ในผู้ป่วยที่มีภาวะควบคุมการขับถ่ายไม่ได้นั้น สามารถเกิดได้ร้อยละ 30 โดยภาวะดังกล่าว ส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ เนื่องจากทำให้เกิดความปวด ความทุกข์ทรมาน และถ้าภาวะผิวหนังอักเสบนั้นรุนแรงมากขึ้น จะเป็นสาเหตุทำเกิดแผลกดทับระดับ 2 ได้ ส่งผลให้เพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาลเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าวการเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ดูแล/ผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะผิวหนังอักเสบจากอุจจาระ หรือปัสสาวะกัดเนื่องจากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ในฐานะพยาบาลเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการดูแลบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ บทบาทหนึ่งในการให้การดูแลคือ การเสริมสร้างความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นการเสริมสร้างความรู้ด้านการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะผิวหนังอักเสบเนื่องจากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ แก่ผู้ดูแล/ผู้ป่วยอย่างถูกต้อง เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
วิภาวี หม้ายพิมายและพัสมณฑ์ คุ้มทวีพร.(2557).การดูแลภาวะผิวหนังอักเสบเนื่องจากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้. สืบค้น 5 สิงหาคม 2563.จาก https://ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/FN/th/km/57/km_180657.html
สุพัตรา อุปนิสากร, ทิพย์พิมล สมหมาย, ปิยะนัยต์ วัฒนประสาน, และจารุวรรณ บุญรัตน์.(2558).การป้องกันและการดูแลแผลที่เกิดจากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ในผู้ป่วยวิกฤตที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยไอซียูอายุรถกรรม.วารสารสภาการพยาบาล,30(2),86-99.สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/39663
ปาณิศา บุญยรัตกลิน.(2017).บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนกับการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารดยาบาลสภากาชาดไทย,13(1),63-75.สืบค้นจากhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/243811/165727
Pusey K,O Connor L,Doughty D,Hill R and Woo K.(2017).Incontinence-associated dermatitis Made Easy.London:Wounds International,8(2),1-6.สืบค้นจาก www.woundsinternational.com
เอมปภา ปรีชาธีรศาสตร์.(2560).บทบาทพยาบาลเฉพาะทางดูแลบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้:กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย,10(1),22-34.สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/96889/75667
ilsom and Gyhagen.(2019).the prevalence of urinary incontinence,Climacteric,22(3),217-222,DOI: 10.1080/13697137.2018.1543263