สมรรถนะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย

Main Article Content

รดาธร สอนเต็ม
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย
นฤมล ปทุมารักษ์

บทคัดย่อ

วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสมรรถนะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ด้านบริหารและด้านนวัตกรรม จำนวน 19 คน เลือกตัวอย่างด้วยการบอกต่อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบสอบถามแบบปลายเปิด และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์


ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่ได้จากฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ โดยมีค่ามัธยฐานอยู่ระหว่าง 4.00 - 5.00 และมีค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์เท่ากับ 0.00 สมรรถนะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 10 ด้าน และสมรรถนะย่อย 58 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านการเรียนรู้ (สมรรถนะย่อย 8 ด้าน) 2) สมรรถนะด้านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ (สมรรถนะย่อย 5 ด้าน) 3) สมรรถนะด้านการสร้างพลังและแรงจูงใจ (สมรรถนะย่อย 4 ด้าน) 4) สมรรถนะด้านการสร้างความมุ่งมั่นและความเป็นเจ้าของ (สมรรถนะย่อย 7 ด้าน) 5) สมรรถนะด้านการมีวิสัยทัศน์และพันธกิจด้านนวัตกรรม (สมรรถนะย่อย 5 ด้าน) 6) สมรรถนะด้านการสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ และมีความฉลาดทางอารมณ์ (สมรรถนะย่อย 4 ด้าน) 7) สมรรถนะด้านการนำกลุ่มและทีมนวัตกรรม (สมรรถนะย่อย 7 ด้าน) 8) สมรรถนะด้านความเข้าใจแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม (สมรรถนะย่อย 6 ด้าน) 9) สมรรถนะด้านบทบาทการกำหนดนโยบายด้านนวัตกรรม (สมรรถนะย่อย 6 ด้าน) และ10. สมรรถนะด้านการจัดการและมอบหมายงาน (สมรรถนะย่อย 6 ด้าน)


จากผลการวิจัยนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้สมรรถนะผู้นำด้านนวัตกรรมเป็นแนวทางในการพัฒนาและเตรียมหัวหน้าหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ นอกจากนี้ยังนำผลวิจัยไปใช้ในการสร้างเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษณี เทศนา. (2552). อิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดู ความฉลาดทางอารมณ์ และลักษณะนิสัยทางการเรียนต่อผลสัมฤทธิทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

คุณาทิป จำปานิล. (2560). ปัจจัยพหุระดับด้านนวัตกรรมที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(3) : 25-35.

จตุพร สังขวรรณ. (2557). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร:ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จุฑารัตน์ บันดาลสิน. (2557). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมการบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 9-17.

ชามาศ ดิษฐเจริญ. (2557). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคอนสตรัคชั่นนิซึ่ม ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมพัฒนาหุ่นยนต์ประยุกต์. วารสารปัญญาภิวัฒน, 5(2), 205-216.

ดารินทร์ ลิ้มตระกูล. (2557). องค์ประกอบสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารพยาบาล, 63(2), 29-35.

ทินกร บัวชู. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ทินกร บัวชู และสุวิณี วิวัฒน์วานิช .(2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารพยาบาลศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(1), 141 – 153.

ผกาวัลย์ อินทรวิชัย. (2558). อิทธิพลของปัจจัยทางการสื่อสารและความเพลิดเพลินในการทำงานต่อความผูกพัน ของพนักงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 21(2) : 380-392.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย.(2562). ภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมสำหรับการบริหารการพยาบาล.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 6(1), 260-267.

แพรวา พานทอง. (2559). คุณลักษณะผู้นำนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป.วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(2), 15-24.

รัตติกรณ์ จงวิศาล.(2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาสิตา บุญสาธร.(2556). การสร้างความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อน เพื่อนำประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจ สร้างสรรค์.วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 307-355.

สภาการพยาบาล. (2556). สมรรถนะผู้บริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการ พยาบาลสำหรับโรงพยาบาลชุมชนที่ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2554). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

Adair, J. (2009). Effective Leadership: How to Be a Successful Leader. Basingstoke & Hampshire: Pan Books.

American Organization of Nurse Executives.(2005).AONE Nurse Executive Competencies. Chicago, IL: Author.

Bennis, W. (1998). Leadership assessment instrument. Retrieved from http://www.nrcs.usda.gov/

Collier, P. (2001). Differentiated model of role identity acquisition. Symbolic Interaction, 24(2), 217-235.

Gliddon, D.G. (2006). Forecasting A Competency Model For Innovation Leaders Using A Modified Delphi Technique (Doctor dissertation of Philosophy). The Pennsylvania State University, Pennsylvania State.

Gautam, T., Van Dick, R. & Wagner, U. (2004). Organizational identification and organizational commitment: Distinct aspects of two related concepts. Asian Journal of Social Psychology, 7(3), 301-310.

Integro Leadership Institute. (2010). Employee Passion Survey. Retrieved from http://www.integroleadership.com

Jones, M. E., Simonetti, J. L., & Vielhaber-Hermon. M. (2000). Building a stronger organization through leadership development at Parke-Davis Research. Industrial and Commercial Training, 32(2), 44-49.

Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Technique. Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development, Monterey, California. (May 1971), 3-5.

Michener, H. A., DeLamater, J. D. & Schwartz, S. H. .(1986). Social psychology. San Diego: Harcourt Brace Jovanovich, Publishers.

Mumford, A., & Gold, J. (2004). Management development. London: CIPD.

Niven, P. R. (2003). The importance of terminology to your balanced scorecard. Retrieved from http://www.https://www.researchgate.net/publication

Slowinski, G., Rafii, Z. F., Tao, J. C., & Gollob, L. (2002). After the acquisition: Managing paranoid people in schizophrenic organizations. Research Technology Management, 45(3), 21-33.

World Health Organization. (‎2016)‎. Nurse educator core competencies. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/258713