การพัฒนาและผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ ในช่องท้องโป่งพองที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียม ชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวน (EVAR)

Main Article Content

กิตติญาภรณ์ พันวิไล
อรนุช อุทัยกุล
ธมลวรรณ ยอดกลกิจ
วุฒิชัย แสงประกาย

บทคัดย่อ

แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวน (EVAR) ถูกพัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯ และประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯ ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯ ไปใช้ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


ผลการศึกษา ด้านกระบวนการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯ ไปใช้ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเหมาะสมของภาษาที่ใช้เท่ากับ 4.23±0.81 ความเหมาะสมของระยะเวลาในการ monitor เท่ากับ 4.26±0.72 ความเหมาะสมของวิธีการดูแลผู้ป่วย pre-operation เท่ากับ 4.44±0.75 ความเหมาะสมของวิธีการดูแลผู้ป่วย post-operation เท่ากับ 4.41±0.85 และความคิดเห็นต่อการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้ เท่ากับ 4.44±0.75 พยาบาลวิชาชีพมีความเห็นด้วยในระดับมาก ขณะที่ส่วนของผลลัพธ์ทางการพยาบาล พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนในประเด็นผู้ป่วยได้รับการประเมิน pre-operation อย่างครอบคลุมเท่ากับ 4.36±0.74 ซึ่งช่วยในการ early detection complication post-operation ด้าน cardiovascular events (MI) เท่ากับ 4.44±0.75 ช่วยในการ early detection complication post-operation ด้าน intraabdominal bleeding, acute limb ischemia, spinal cord ischemia, stroke, ischemic bowel และ renal failure เท่ากับ 4.49±0.76 รวมถึงเป็นแนวทางในการบันทึกการพยาบาลได้ครอบคลุมเท่ากับ 4.46±0.79 พยาบาลวิชาชีพมีความเห็นด้วยในระดับมาก


ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาวิจัยแบบ randomized controlled trial (RCT) ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯ เพื่อวัดผลลัพธ์ทางคลินิกเกี่ยวกับการลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด EVAR

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตร สิทธิอมร, อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, สงวนสิน รัตนเลิศ และ เกียรติศักดิ์ ราชบริรักษ์. (2543). Clinical Practice Guidelines: การจัดทำและการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.).

ชุมพล ว่องวานิช. (2549). Endovascular Surgery ใน ประยุทธ์ ศิริวงษ์, เพชร เกษตรสุวรรณ, ชาญชัย นิมิตวานิช (บ.ก.), ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 34. น 325-35. กรุงเทพมหานคร: โฆษิตการพิมพ์.

เติมพงศ์ เรียนแพง. (2561). ศัลยศาสตร์หลอดเลือดประยุกต์ เล่ม 5.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2554). การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์: หลักการและวิธีปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรี-วัน.

รัตนาภรณ์ ประยูรเต็ม, มนูญ หมวดเอียด และ นงลักษณ์ ว่องวิษณุพงศ์. (2561). ผลลัพธ์ของการใช้แผน การจัดการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมหลอดเลือด: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาชราชนครินทร์, 10(3), 81-93.

ศิริภรณ์ สว่างพงษ์.(2555). Abdominal Aortic Aneurysm (AAA) โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนช่องท้อง โป่งพอง. ใน สุวภาพ จันทรสมบูรณ์ (บ.ก.), Critical Nursing Trigger in Surgical Patient. น115-23. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.

ศุภพงษ์ อาวรณ์. (2560). Asymptomatic Abdominal Aortic Aneurysm. ใน คามิน ชินศักดิ์ชัย, กฤตยา กฤตยากีรณ, เฉนียน เรืองเศรษฐกิจ, ประมุข มุทิรางกูร (บ.ก.), ศัลยศาสตร์หลอดเลือดประยุกต์ เล่ม 4. น 227-35. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.

Bahnson, H. T. (1954). Treatment of abdominal aortic aneurysm by excision and replacement by homograft. Circulation, 9, 494-503.

Best, J.W. (1977). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Benner, P. (1984). Form novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley.

Chaikof, E. L., Dalman, R. L., Eskandari, M. K., Jackson, B. M., M., W. A. L., Ashraf Mansour, T. M., . . . Starnes, B. W. (2018). The Society for Vascular Surgery practice guidelines on the care of patients with an abdominal aortic aneurysm. Journal of Vascular Surgery, 67(1), 2-27.

Chaweewan Thongchai. (2005). Clinical practice guidelines development. The Thai Journal of Nursing Council, 20(2), 63-76.

Cronenwett J.L., Johnston K.W. (2014). Rutherford's Vascular Surgery (8th ed.). Philadelphia: Elsevier Saunders.

Donabedian, A. (2003). An Introduction to Quality Assurance in Health Care. New York: Oxford University Press.

Gupta, A. K., Alshaikh, H. N., Dakour-Aridi, H., King, R. W., Brothers, T. E., & Malas, M. B. (2018). Real-world cost analysis of endovascular repair versus open repair in patients with nonruptured abdominal aortic aneurysms. Journal of Vascular Surgery, 71(2), 432-443.

Kohlman-Trigoboff, D., Rich, K., Foley, A., AGACNP, Fitzgerald, K., Arizmendi, D., . . . Treat-Jacobson, D. (2020). Society for Vascular Nursing endovascular repair of abdominal aortic aneurysm updated nursing clinical practice guideline. Journal of Vascular Surgery, 38(2), 36-65.

McLeod, S. (2018). Likert Scale. Retrieved from https://www.simplypsychology.org/ simplypsychology.org-Likert-Scale.pdf.

Melnyk, B.M., Fineout-Overholt, E. (2005). Evidencebase practice in nursing & healthcare: A guide to best practice. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 6-10.

Phyllis A Gordon, Boulos Toursarkissian. (2017). Treatment of Abdominal Aortic Aneurysms: The Role of Endovascular Repair. AORN Journal, 100, 241-259.

Hertzer, N.R, Mascha, E.J., Karafa, M.T., O'Hara, P.J, Krajewski, L.P, & Beven, E.G. (2002). Open infrarenal abdominal aortic aneurysm repair: the Cleveland Clinic experience from 1989 to 1998. J Vasc Surg, 35, 1145-1154.

Soukup, M. (2000). The center of advanced nursing practice evidence-based practice model. Nursing Clinic of North America 2000, 35, 301-309.

Yusuf, S.W., Whitaker, S.C., Chuter, T.A., Wenham, P.W., & Hopkinson, B.R. (1994). Emergency endovascular repair of leaking aortic aneurysm. Lancet, 344-1645.