การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน: กรณีศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคเบาหวาน เป็นปัญหาในระบบสาธารณสุขทั่วโลก และส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง จากภาวการณ์เจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งโรคเบาหวานเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา การศึกษาครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรณีศึกษาที่มีความซับซ้อนของโรคและเสนอแนวทางเพื่อวางแผนการพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน กรณีศึกษา คือ ผู้ป่วยชายไทย อายุ อายุ 71 ปี วินิจฉัยโรคแรกรับ DKA, Ischemic stroke โรคประจำตัว DM type II, Hypertension อาการสำคัญ คือ อ่อนเพลีย หอบใจหอบลึก 30 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล หลังจากผู้ศึกษาให้การพยาบาลตั้งแต่รับแรกจนผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน พบว่าผู้ป่วยไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากพร่องในการดูแลตนเอง เช่น ไม่ไปพบแพทย์ตามนัด การใช้ยาตามแผนการรักษา นอกจากนี้ผู้ป่วยมีความเบื่อหน่ายในการดูแลตนเอง และมีปัญหาด้านการเงิน ผู้ศึกษาได้แนะนำความรู้ในการดูแลตนเอง สร้างเสริมพลังอำนาจในการผู้ป่วยและญาติ เพื่อสร้างความมั่นใจในการดูแลตนเองและดูแลผู้ป่วย ทำให้สามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้น ญาติมีความเข้าใจและสามารถดูแลผู้ป่วยดีขึ้น นอกจากนี้มีนักสังคมสงเคราะห์มาดูแลด้านการเงิน โดยหาวิธีช่วยเหลือด้านการเงินอีกด้วย บทความนี้เป็นบทความที่เป็นแนวทางในการดูแลให้การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กรมอนามัย. (2557). องค์ประกอบการดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว. นนทบุรี: กรมอนามัย.
กองโรคไม่ติดต่อ. (2563). รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2563 หนุนบทบาทพยาบาลร่วมสร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงโรคเบาหวาน. https://ddc.moph.go.th/brc/news.p hp?news=1559 1&deptcode=brc
จิรัญญา มุขขันธ์, วรรณศรี รักสะอาด, อนัญญา เดชสุภา, สิทธิชัย ทองบ่อ, สุพัตรา สายเชื้อ และ สมคิด ศรประสิทธิ์. (2545). ประสิทธิผลของการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวม โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2563). สถานการณ์โรคเบาหวาน ปี พ.ศ. 2560. https://www.hfocus.org /con tent/2019/11/18054
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง, จุฑากานต์ กิ่งเนตร และคุณญา แก้วทันคำ. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 13(2), 37-49.
American Association of Diabetes Educators. (2020). Self-care behaviors handouts. http://www.diabeteseducator.org/DiabetesEducation/ Patient_Re sources/AADE7_PatientHandouts.html
Dossey, B. M. (2013). Holistic nursing: A handbook for practice. Jones & Bartlett Publishers.
Fowler, M. J. (2011). Microvascular and macrovascular complications of diabetes. Clinical diabetes, 29(3), 116-122.
Part, B. (2020). Gordon’s Functional Health Patterns Assessment. Change, 26, 26.
Saeedi, P., Petersohn, I., Salpea, P., Malanda, B., Karuranga, S., Unwin, N., ... & Shaw, J. E. (2019). Global and regional diabetes prevalence estimates for 2019 and projections for 2030 and 2045: Results from the International Diabetes Federation Diabetes Atlas, 9th edition. Diabetes research and clinical practice, 157, 107843.
Ventegodt S., Kandel I., Ervin D.A., & Merrick J. (2016) Concepts of Holistic Care. In: Rubin I.L.,
Merrick J., Greydanus D.E., Patel D.R. (eds) Health Care for People with Intellectual and Developmental Disabilities across the Lifespan. Springer, Cham.