การติดตามการเฝ้าระวังในการบริหารยา และอาการไม่พึงประสงค์ในการใช้ยา Sedative drugs และ Paralytic drugs ในไอซียู อายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ

Main Article Content

บุปผา แสงท้าว

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า (Prospective descriptive study) กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ และมีการบริหารยา Sedative drugs และ Paralytic drugs ให้กับผู้ป่วย ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึง 1 เมษายน 2563 ในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักทางอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 31 คนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ


ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยไอซียู ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์แบบเฝ้าระวังอื่นๆ รวมทั้งการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้โดยทั่วไป เช่น ง่วงซึม ความดันโลหิตสูง ท้องเสีย เป็นต้น โดยอาการดังกล่าวไม่ได้เป็นอาการที่ร้ายแรง และความพึงพอใจการใช้แบบบันทึกการเฝ้าระวังในการบริหารยา และอาการไม่พึงประสงค์ในการใช้ยา  Sedative drugs และ Paralytic drugs ในไอซียู อายุรกรรม พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมาก และพึงพอใจในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาแก่ผู้ป่วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร.(2556). การพัฒนาระบบการติดตามและเฝ้าระวังการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาล ศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29 (3).

โรงพยาบาลตำรวจ. (2562) สถิติผู้เข้ารับบริการและได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง.

โรงพยาบาลสารภี.(2552). การติดตามความคลาดเคลื่อนของยาที่ต้องระมัดระวังสูงแบบ Intensive แผนกผู้ป่วยในระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2552: เชียงใหม่; 2552

วิมลลักษ์ เรืองวัฒนาโชค และคณะ. (2561). การประเมินผลการดา เนินงานตามแนวทางการใช้ยาที่มีความ เสี่ยงสูงของแผนกผู้ป่วยใน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคกลาง. ว. เภสัชศาสตร์อีสาน ,14(4), 18-28.

ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล และคณะ. (2563). ประสิทธิผลการใช้แนวทางการให้ยาระงับปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น เปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับปวดตามแนวทางเดิมกับแนวทางใหม่. Thai J Anesthesiol,46(4), 227-33.

สุดารัตน์ สุธราพันธ์ และคณะ. (2552). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันความคลาดเคลื่อน ในการบริหารยาแก้ผู้ป่วย โรงพยาบาลแพร่. วารสารกองการพยาบาล.

อภิรดี เหมาะจุฑา. (2554).ยาที่มีความเสี่ยงสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brennan TA, Leape LL, Larid NM, Heert L, Localio AR, Lawthers AG, et al.(2004). Incidence of adverse events and negligence in hospitalized patient results of Harvard Medical Practice Study I. Qual. Saf. Health Care, 13, 145-51.

Hobbs WR, Rall TW, and Verdoorn TA. (1996). Hypnotics and Sedatives : Ethanol. In : Hardman JG, Goodman Gilman A, Limbird LE editors. N.Y. The Pharmacological Basis of Therapeutics. 9th ed. The McGraw-Hill Companics,17, 361-98

Phapanwattana M. (2010.High-Alert Medication Manage. In Phapanwattana M, editors. Safety medication system. Bangkok: Poramatkapim, 259-285. (in Thai)

Reisine T, Pasternak G. (1996). Opioid Analgesics and Antagonists. In : Hardman JG, Goodman Gilman A, Limbird LE editors. N.Y. The Pharmacological Basis of Therapecitics. 9th ed. The McGraw-Hill Companics, 23, 521-56