การพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12B โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบริการพยาบาลในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12B โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม 2563 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12B และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 20 คน 2) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12B จำนวน 40 ราย โดยเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาก่อนใช้การมอบหมายงานที่พัฒนา 40 ราย และเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาหลังใช้การมอบหมายงานที่พัฒนา โดยมีการจับคู่ตามอายุ และโรคที่คล้ายกันเพื่อให้ผู้ป่วยมีลักษณะใกล้เคียงกัน 3) เวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12B โดยสุ่มเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบก่อน และหลังการพัฒนา จำนวน 30 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ รูปแบบการมอบหมายงานแบบผสมผสาน ประกอบด้วยคู่มือการมอบหมายงาน และแบบการมอบหมายงานในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12B ที่ผู้วิจัย และบุคลากรในหน่วยงานร่วมกันพัฒนาปรับเปลี่ยน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบริการพยาบาล 3) แบบประเมินบันทึกทางการพยาบาล 4) แบบบันทึกรายงานอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา
ผลการวิจัย พบว่า
1) ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ หลังการพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานแบบผสมผสานมากกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านลักษณะงาน ด้านอิสระในงาน และด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบริการพยาบาล หลังการพัฒนา การมอบหมายงานแบบผสมผสานมากกว่าก่อนการพัฒนาในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสมบูรณ์ของบันทึกทางการพยาบาลหลังการพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความคลาดเคลื่อนใน
การบริหารยาก่อน และหลังการพัฒนาการมอบหมายงานไม่แตกต่างกัน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กัญญดา ประจุศิลป. (2561). การจัดการทางการพยาบาลและภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กัลยา ศุทธกิจ และเปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย. (2557). ผลของรูปแบบการพัฒนาการทำงานเป็นทีมทางการพยาบาลตามแนวคิดของโรมิกต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ. พุทธชินราชเวชสาร, 31(1), 34-43.
เกศกนก แสงอุบล และมุกดา สีตลานุชิต. (2558). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลเจ้าของไข้หอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลสายไหม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(3), 208-217.
กองการพยาบาล สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2539). คู่มือการจัดการบริการจากหลักการสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กองการพยาบาล สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2545). แนวทางการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล.กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์.
กองการพยาบาล สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สื่อตะวันจำกัด.
งานเวชระเบียนและเวชสถิติ สำนักงานผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิรพยาบาล. (2562). สถิติผลการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.
จิราภรณ์ เตชะอุดมเดช, เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, และเดช ทำดี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการทำงานเป็นทีมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่.พยาบาลสาร, 43(3), 117-127
ฐิรพร อัศววิศรุต, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, และรุ้งรังสี วิบูลย์ชัย. (2557). การพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมโรงพยาบาลยโสธร.วารสารกองการพยาบาล, 41(2), 54-71.
นิสิต มโนตั้งวรพันธ์. (2554). การมอบหมายงานสำหรับผู้บริหาร. วารสารนักบริหาร, 31(3), 61-71
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์กรพยาบาลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์อินเตอร์มีเดีย.
เยาวลักษณ์ อโณทยานนท์. (2543). ผลของการใช้ระบบพยาบาลเจ้าของไข้ต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาลความพึงพอใจ และความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยศัลยกรรม. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุวดี เกตุสัมพันธ์. (2561). Nursing Care Delivery Models. เอกสารประกอบการอบรม HA 304:HA กับการบริหารการพยาบาล. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์กรมหาชน . นนทบุรี.
วิรุฬ ลิ้มสวาท. (2552). การอภิบาลระบบสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทยหลังการใช้ พ.ร.บ. แห่งชาติ พ.ศ. 2550: กรอบแนวคิด พัฒนาการ และข้อเสนอเพื่อการพัฒนา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 3(3), 419-433.
อรทัย ชาติโสม และศรีสุดา พรมสีชา. (2559). ประสิทธิผลการมอบหมายงานแบบเซลล์ต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก หอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาทโรงพยาบาลอุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 24(1), 27-37.
อรพิน บุษบัน. (2552). การพัฒนาระบบพยาบาลเจ้าของไข้ แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการพยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
Eriksen LR. (1995). Patient satisfaction with nursing care: concept clarification. Journal of Nursing measurement, 3(1), 59-76.
Salavit, D. B., Stamps, P. L., Piedmont, E. G., and Hease, A. M. (1978). Nurse’s satisfaction with their work situation. Nursing research, 27: 114-120.
Stamps, P., Piedmonte, E. (1986). Nurses and work satisfaction: An Index for work Satisfaction. Health Administration Press, Michigan.