ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติ และอุบัติภัยหมู่ต่อสมรรถนะ ของทหารกองประจำการ: กรณีศึกษา มณฑลทหารบกที่ 21 จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One-group Pretest-posttest Design) เพื่อศึกษาสมรรถนะของทหารกองประจำการหลังการได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของทหารกองประจำการก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติ และอุบัติภัยหมู่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ทหารกองประจำการ มณฑลทหารบกที่ 21 จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 40 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินสมรรถนะของทหารกองประจำการ 3) โปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในจัดการภัยพิบัติ และอุบัติภัยหมู่ต่อสมรรถนะของทหารกองประจำการ 4) แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน (Pre-test and Post-test) ผลการวิจัยสรุปว่า 1) สมรรถนะของทหารกองประจำการหลังการได้รับโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า คะแนนสมรรถนะของทหารกองประจำการหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ อยู่ในระดับสูง 2) สมรรถนะของทหารกองประจำการก่อนได้รับโปรแกรมฯมีค่าคะแนนเฉลี่ย 25.15 ซึ่งพบว่าอยู่ในระดับต่ำ และหลังได้รับโปรแกรมฯ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 45.08 ซึ่งพบว่า อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะของทหารกองประจำการหลังได้รับโปรแกรมฯสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฯ สามารถเพิ่มสมรรถนะของทหารกองประจำการได้มากขึ้น จึงส่งผลให้ค่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะของทหารกองประจำการสูงขึ้นหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฯ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
CRED & UNDRR. The human cost of natural disasters 2015: A Global Perspective; Centre for Research on the Epidemiology of Disaster (CRED): Brussels, Belgium, 2015.
คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย; 2564.
WHO. WHO Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19-11 March 2020. World Health Organization. 11 March 2020.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. 2557.
แอน ไทยอุดม, อมราภรณ์ หมีปาน, พัชราภรณ์ อุ่นเตจ๊ะ, อริสรา อยู่รุ้ง, สุวีณา เบาะเปลี่ยน, อุษณีย์ อังคะนาวิน และเนตรดาว ชัชวาลย์. (2561). การฝึกทักษะการพยาบาลแบบบูรณาการเพื่อการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;19(3):77-88.
สาคร อินโท่โล่, ทัศนีย์ สีหาบุญนาค และณัฐพร สายแสงจันทร์. (2564). พยาบาลควบคุมการติดเชื้อกับบทบาทการจัดการควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 ในหน่วยบริการสุขภาพ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2564;39(1):14-21.
คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย; 2558.
ทิพชัย ทิพยุทธ. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของกระทรวงกลาโหม. ในการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของกระทรวงกลาโหม.