ผลกระทบของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อเด็กป่วยโรคเรื้อรังและแนวทางการดูแล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถือว่าเป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Coronavirus pandemic) ซึ่งเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปีแล้วที่ประชาคมโลกต้องเผชิญกับสถานการณ์นี้และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก ซึ่งการแพร่ระบาดนี้ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวางทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และรวมไปถึงระบบบริการสุขภาพที่ต้องปรับเปลี่ยนการจัดบริการในการรักษาใหม่ให้สอดคล้องกับมาตรการของภาครัฐเพื่อยับยั้งการระบาดของโรค เช่น การล็อคดาวน์ การจำกัดจำนวนคนในการรวมกลุ่ม การเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น และเพื่อประโยชน์ต่อผู้รับบริการมากที่สุด โดยมีการจัดให้มีระบบการบริการสุขภาพระยะไกล (distance-delivered care) เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย แต่อย่างไรก็ตามด้วยเหตุนี้ก็ส่งผลทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องมีการติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้มีการรักษาที่ล่าช้าหรือเกิดการหยุดชะงัก ส่งผลทำให้ความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่เพิ่มขึ้นหรือมีผลต่อภาวะสุขภาพของเด็กในระยะยาวได้ ดังนั้นในช่วงที่มีการระบาดนี้ทีมสุขภาพจึงควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ในเด็กป่วยโรคเรื้อรังและวางแนวทางการดูแลให้มีความชัดเจนและเหมาะสม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2564, มิถุนายน 14). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
ชัยศิริ ศรีเจริญวิจิตร. 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ในเด็ก. สืบค้นจาก https://www.sikarin.com/doctor- articles/10
ธนกร กาญจนประดับ. รู้เท่าทันโรคหืดในเด็กกับ Covid-19. สืบค้นจาก https://www.sikarin.com/doctor-articles/
วราวุฒิ เกรียงบูรพา. (2563). การติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในเด็ก. บูรพาเวชสาร, 7(1), 96-102.
ศรินทร์ทิพย์ ชวพันธุ์ และทองสวย สีทานนท์. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจทางสุขภาพในเด็กโรคอ้วน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(1), 1-15.
สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และสุมนมาลย์ อุทยมกุล. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 124-133.
An, R. (2020). Projecting the impact of the coronavirus disease-2019 pandemic on childhood obesity in the United States: a microsimulation model. Journal of Sport and Health Science,9(2020), 302-312.
Boechat, J.L., Wandalsen, G.F., Kuschnir, F.C., & Delgado, L. (2020). COVID-19 and Pediatric Asthma: Clinical and Management Challenges. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(3), 1093; https://doi.org/10.3390/ijerph18031093.
Browne, N.T., Snethen, J.A., Greenberg, C.S., Frenn, M., Kilanowski, J.F., Gance-Cleveland, B., … Lewandowski, L. (2021). When Pandemics Collide: The Impact of COVID-19 on Childhood Obesity. Journal of Pediatric Nursing, 56(2021), 90-98.
McLoone, J., Wakefield, C.E., Taylor, N., Johnston, K., Sansom-Daly, U.M., Cohen, J., …. Signorelli1, C. (2020). The COVID-19 pandemic: Distance-delivered care for childhood cancer survivors. Pediatric Blood & Cancer, 67(12). 1-5. DOI: 10.1002/pbc.28715
Greaves, M. (2020). COVID-19 and childhood acute lymphoblastic leukemia. Pediatric Blood & Cancer, 67(12). DOI: 10.1002/pbc.28481
Ribeiro, K.S., Garcia, L.S., Dametto, J.S., Assuncao, D.F., & Maciel, B.L. (2020). COVID-19 and Nutrition: The Need for Initiatives to Promote Healthy Eating and Prevent Obesity in Childhood. Childhood obesity, 16(4), 235-237.
Storz, M.A. (2020). The COVID-19 pandemic: an unprecedented tragedy in the battle against childhood obesity. The Korean Pediatric Society, 63(12), 477-482.
Sullivan, M., Bouffet, E., Rodriguez-Galindo, C., Luna-Fineman, S., Khan, M.S., Kearns, P., … Pritchard-Jones, K. (2020). The COVID-19 pandemic: A rapid global response for children with cancer from SIOP, COG, SIOP-E, SIOP-PODC, IPSO, PROS, CCI, and St Jude Global. Pediatric Blood & Cancer, 67(7), 1-12. DOI: 10.1002/pbc.28409
Teixeira, M.T., Vitorino, R.S., Silva, J.H., Raposo, L.M., Aquino, L.A., & Ribas, S.A. (2021). Eatinghabits of children and adolescents during the COVID-19 pandemic: The impact of social isolation. Journal of Human Nutrition and Dietetics, 00(2021), 1-9. DOI: 10.1111/jhn.12901
Verbruggen, L.C., Wang, Y., Armenian, S.H., Ehrhardt, M.J., van der Pal, H.J.H., van Dalen, E.C., …Kremer, L.C.M. (2020). Guidance regarding COVID-19 for survivors of childhood, adolescent, and young adult cancer: A statement from the International Late Effects of Childhood Cancer Guideline Harmonization Group. Pediatric Blood & Cancer, 67(7), 1-10. DOI: 10.1002/pbc.28702