การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเฝ้าระวังอาการ ในด้านอุบัติการณ์ของผู้ป่วยที่ทรุดลงจากการเฝ้าระวังไม่เหมาะสม อุบัติการณ์การช่วยฟื้นคืนชีพ และอุบัติการณ์การเสียชีวิตหลังการใช้รูปแบบ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปซึ่งรับไว้ในหอผู้ป่วย ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 - กันยายน 2563 จำนวน 172 ราย และนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ ผลการศึกษา เมื่อนำรูปแบบการเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพที่พัฒนาขึ้นซึ่งปรับตามบริบทมาใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วยที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการคงที่ตลอดการเข้ารับโปรแกรมฟื้นฟู มีเพียงร้อยละ 1.74 ของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีอาการทรุดลงระหว่างการเฝ้าระวัง แต่ไม่รุนแรงจนต้องได้รับการฟื้นคืนชีพ หรือเสียชีวิต ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีถึงดีมาก ต่อรูปแบบการเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ว่าสามารถช่วยในการตัดสินใจในการประเมินผู้ป่วยแต่ละรายว่าต้องการความช่วยเหลือระดับใด รวมถึงมีความพึงพอใจต่อแนวทางการพยาบาลและการเฝ้าระวังที่ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในการศึกษานี้ ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาในระยะยาวและเปรียบเทียบกับกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ซึ่งจะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
คมสัน อินทะเสน และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น (การค้นคว้าอิสระ. หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). ขอนแก่น. มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย. สืบค้น (18 ตุลาคม 2562), จาก https://www.mbuisc.ac.th/exe/ 2561/ 27082561.pdf
จิรากร ประเสริฐชีวะ. (2560). Interpretation & Guideline for application of ISO 9001:2015 [Press release]. สืบค้น (18 กันยายน 2562), จาก https://www.ithesis-ir.su.ac.th/ dspace/bitstream/ 2864/1/ 61602319.pdf
ทำนอง ภูเกิดพิมพ์. (2551). แนวคิดการบริหาร
แบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ของชุมชน. สืบค้น (6 มีนาคม 2562),จาก https://www.gotoknow.org/posts/334443
นภาพร ทองเก่งกล้า. (2551). การศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนในเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
นฤมล ศิลวิศาล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การปฏิบัติงาน การอบรมเฉพาะทาง ความฉลาดทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงานกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 30(1), 46-59.
พิมพ์พรรณ ปั่นโพธิ์. (2555). ระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงซึ่งปรับตามบริบท (Modified Early Warning Score) ในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 2(2), 166-177.
วิจิตรา พลสำโรง, ภัทรนิษฐ์ คำมั่น, ภานุ ศิริธรรม, ชลธาร กาบบัวลอย. (2561). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต). ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ศิริลักษณ์ ฤทธิ์ไธสง. (2560). การบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล ในบริบทของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 3(1), 77-87.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2560).
การพัฒนาระบบรายงานและเรียนรู้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับประเทศ. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2562. จาก: www.ha.or.th.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2561).
เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ.2561. นนทบุรี: เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล.
สมชาติ โตรักษา. (2558). การประยุกต์หลักการบริหาร เพื่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). รายงานสถิติการยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือ. สืบค้น 27 มีนาคม 2562. จาก www.nhso.go.th.
Ahmed, W.A., Rouse, A., Griggs, K.E., Collett, J.,Dawes, H. (2020). Poor specificity of National Early Warning Score (NEWS) in spinal cord injuries (SCI) population: aretrospective cohort study. Spinal cord, 58, 165-173. doi.10.1038/s41393-019- 0330-0
International Council of Nurse. (2011). Patient safety new evidence of unsafe care from Latin America. Retrieved (April, 29, 2020), from http://www.icn.ch/news/ whats-new-archives-patient-safety-1418.html
National Clinical Guideline. (2013). National Early Warning Score. National Clinical Effectiveness Committee (NCEC), 1, 64-75.
Nishijima, I., Oyadomari, S., Maedomari, S., Toma, R., Igei, C., et al. (2016). Use of a modified early warning score system to reduce the rate of in-hospital cardiac arrest. J Intensive Care, 4, 12. doi.10.1186/s40560-016-0134-7
Peberdy, M.A., Ornato, J.P., Larkin, G.L., Braithwaite, R.S., Kashner, T.M., Carey, S.M., Meanry, P.A. et al. (2008). Survival from In-hospital cardiac arrest during night and weekends. JAMA, 20:299(7), 785-92.
Smith, G.B., Prytherch, D.R., Meredith, P., Schmidt, P.E., Featherstone, P.I. (2013). The ability of the National Early Warning Score (NEWS) to discriminate patients at risk of early cardiac arrest, unanticipated intensive care unit admission, and death. Resuscitation, 84(4), 465-470.
Van Galen, L.S., Dijikstra, C.C., Ludikhuize, J., Kramer, M.H.H., Nanayakkara, P.W.B. (2016). A Protocolised Once a Day Modified Early Warning Score (MEWS) Measurement Is an Appropriate Screening Tool for Major Adverse Events in a General Hospital Population. PLoS ONE, 11(8), e0160811. doi:10. 1371/journal.pone. 0160811
Veerayut Chatakarn. (2015). Action Research. Suratthani Rajabhat Journal, 2 (1), 29-49.
World Health Organization [WHO]. (2017). Health topic patient safety. Retrieved (November, 10, 2020), from http:// www.who.int/topics/patient_Safety/en/