ผลของการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี

Main Article Content

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด
สว่างจิต สุรอมรกูล
รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ
ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีพยาธิสภาพที่เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน หรืออินซูลินไม่เพียงพอ
ทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจนส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง การให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวาน (diabetes self-management education and support: DSMES) จะช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมโรคเบาหวานและเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตดี  วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเอง (DSMES) ต่อการความรู้ ความสามารถในการดูแลตนเอง การควบคุมระดับน้ำตาล ความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตของผู้เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี  รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลอง มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คน กลุ่มควบคุม 20 คน เก็บข้อมูลที่คลินิกต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มทดลองจะได้รับ DSMES กลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจะได้รับการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งแรกและทุก 3 เดือนจนครบ 1 ปี ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่ ตุลาคม 2562 ถึง มีนาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติ independent t-test และ One-way repeated measures ANOVA repeated on time  ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มทดลอง ที่ได้รับ DSMES มีค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม (HbA1C) และน้ำตาลหลังอดอาหาร (FBS) ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ (p-value
< .001) ความสามารถในการดูแลตนเอง (p-value < .001) คุณภาพชีวิต (p-value < .001) และความพึงพอใจ (p-value < .001) เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการให้ความรู้ และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001)  บทสรุป: ผลของ DSMES ต่อผู้เป็นเบาหวานพบผลลัพธ์ที่ดี ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีความรู้ คุณภาพชีวิต และมีความพึงพอใจในบริการ  ผู้เป็นเบาหวานทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมเบาหวานไม่ดี ควรได้รับ DSMES เพื่อควบคุมโรคเบาหวานให้ได้ตามเป้าหมายการรักษา และทำให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Article Details

How to Cite
เดิมขุนทด ณ., สุรอมรกูล ส., ขวัญเจริญ ร., & ชวนตันติกมล ช. (2022). ผลของการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี . วชิรสารการพยาบาล, 24(1), 1–24. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/255205
บท
บทความวิจัย

References

ภาวนา กีรติยุตวงศ์ และ สมจิต หนุเจริญกุล. (2553). การติดตามประสิทธิภาพในระยะยาวของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16(2), 293-307.

รัตนาภรณ์ จีระวัฒนะ, สิริมนต์ ริ้วตระกูล ประเทืองธรรม, และ อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. (2561). ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อนโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงต่อผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 24(1), 51-68.

สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน. (2562). หลักสูตรพื้นฐานผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน. พิมพ์ที่ บริษัท เรดดี้ ดีไซน์ เฟิร์ม จำกัด.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.

สุภามาศ ผาติประจักษ์, สมจิต หนุเจริญกุล, นพวรรณ เปียซื่อ, Dorothy Brooten และเดชาวุธ นิตยสุทธิ. (2554). ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้าร่วมชมรมที่นำโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งทางภาคใต้ของ ประเทศไทย. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 15(4), 288-304.

สุภามาศ ผาติประจักษ์, สมจิต หนุเจริญกุล, และนพวรรณ เปียซื่อ. (2557). ปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 2(1), 97-111.

สุวรรณี สร้อยสงค์ อังคณา เรือนก้อน ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล นิลุบนน นันตา และ จุฑามาส สุขเกษม. (2562). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.

สุวรรณี สร้อยสงค์ อังคณา เรือนก้อน ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล นิลุบนน นันตา และ จุฑามาส

สุขเกษม. (2561). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 13(2).

Arosemena, C., Sánchez, A., Tettamanti, M., Vasquez, C., Chang, A., & Navarro-Chavez, M. (2015). Prevalence and risk factors of poorly controlled diabetes mellitus in a clinical setting in Guayaquil, Ecuador: a cross-sectional study. Int J Diabetes Clin Res, 2(4), 1-5.

Beck, J., Greenwood, D. A., Blanton, L., Bollinger, S. T., Butcher, M. K., Condon, J. E., . . . Francis, T. (2018). 2017 National standards for diabetes self-management education and support. The Diabetes Educator, 44(1), 35-50.

Chatterjee, S., Riewpaiboon, A., Piyauthakit, P., Riewpaiboon, W., Boupaijit, K., Panpuwong, N., & Archavanuntagul, V. (2011). Cost of diabetes and its complications in Thailand: a complete picture of economic burden. Health & social care in the community, 19(3), 289-298.

Cho, N., Shaw, J. E., Karuranga, S., Huang, Y. D., da Rocha Fernandes, J. D., Ohlrogge, A. W., & Malanda, B. (2018). IDF Diabetes Atlas: Global estimates of diabetes prevalence for 2017 and projections for 2045. Diabetes research and clinical practice, 138, 271-281.

Chrvala, C. A., Sherr, D., & Lipman, R. D. (2016). Diabetes self-management education for adults with type 2 diabetes mellitus: a systematic review of the effect on glycemic control. Patient education and counseling, 99(6), 926-943.

Haghighatpanah, M., Nejad, A. S. M., Haghighatpanah, M., Thunga, G., & Mallayasamy, S. (2018). Factors that correlate with poor glycemic control in type 2 diabetes mellitus patients with complications. Osong public health and research perspectives, 9(4), 167.

Hailu, F. B., Moen, A., & Hjortdahl, P. (2019). Diabetes self-management education (DSME)–Effect on knowledge, self-care behavior, and self-efficacy among type 2 diabetes patients in Ethiopia: A controlled clinical trial. Diabetes, metabolic syndrome and obesity: targets and therapy, 12, 2489.

Jacobson, A. M., & The Diabetes Control and Complications Trial Research Group [DCCT]. (2001). The diabetes quality of life measure. In C. Bradley (Ed.), Handbook of psychology and diabetes (3rd ed., pp. 65 – 87). Australia: Harwood Academic Publishers.

Keeratiyutawong, P., Hanucharurnkul, S., Melkus, G. D., Panpakdee, O., & Vorapongsathorn, T. (2006). Effectiveness of a self-management program for Thais with Type 2 diabetes. Thai Journal of Nursing Research, 10(2), 85-97

Kueh, Y. C., Morris, T., & Ismail, A. A. (2017). The effect of diabetes knowledge and attitudes on self-management and quality of life among people with type 2 diabetes. Psychol Health Med, 22(2), 138-144.

Lin, X., Xu, Y., Pan, X., Xu, J., Ding, Y., Sun, X., ... & Shan, P. F. (2020). Global, regional, and national burden and trend of diabetes in 195 countries and territories: an analysis from 1990 to 2025. Scientific reports, 10(1), 1-11.

Mikhael, E. M., Hassali, M. A., & Hussain, S. A. (2020). Effectiveness of diabetes self-management educational programs for type 2 diabetes mellitus patients in middle east countries: A systematic review. Diabetes, metabolic syndrome and obesity: targets and therapy, 13,117.

Pamungkas, R. A., Chamroonsawasdi, K., & Vatanasomboon, P. (2017). A systematic review: family support integrated with diabetes self-management among uncontrolled type II diabetes mellitus patients. Behavioral Sciences, 7(3), 62.

Partiprajak, P., Hanucharurnkul, S., Piaseu, N., Brooten, D., & Nityasuddhi, D. (2011). Outcomes of an Advanced Practice Nurse-Led Type-2 Diabetes Support Group. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 15(4), 287-303.

Phetarvut, S., Watthayu, N., & Suwonnaroop, N. (2011). Factors predicting diabetes self-management behavior among patients with diabetes mellitus type 2. Nursing Science Journal of Thailand, 29(4), 18-26.

Powers, M. A., Bardsley, J., Cypress, M., Duker, P., Funnell, M. M., Fischl, A. H., . . . Vivian, E. (2017). Diabetes self-management education and support in type 2 diabetes: a joint position statement of the American Diabetes Association, the American Association of Diabetes Educators, and the Academy of Nutrition and Dietetics. The Diabetes Educator, 43(1), 40-53.

Tachanivate, P., Phraewphiphat, R., Tanasanitkul, H., Jinnawaso, R., Areevut, C., Rattanasila, R., …& Jerawatana, R. (2019). Effectiveness of Diabetes Self–Management Education in Thais with Type 2 Diabetes. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 23(1), 74-86.

Toobert, D. J., & Glasgow, R. E. (2001). Assessing diabetes self-management: The summary of diabetes self-care activities questionnaire. In C. Bradley (Ed.), Handbook of psychology and diabetes (3rd ed., pp. 351–375). Australia: Harwood Academic Publishers

Yang, J. J., Yu, D., Wen, W., Saito, E., Rahman, S., Shu, X. O., ... & Zheng, W. (2019). Association of diabetes with all-cause and cause-specific mortality in Asia: a pooled analysis of more than 1 million participants. JAMA network open, 2(4), e192696-e192696.

Yuan, C., Lai, C. W., Chan, L. W., Chow, M., Law, H. K., & Ying, M. (2014). The effect of diabetes self-management education on body weight, glycemic control, and other metabolic markers in patients with type 2 diabetes mellitus. Journal of diabetes research, 2014.

Zoungas, S., Chalmers, J., Ninomiya, T., Li, Q., Cooper, M. E., Colagiuri, S., ... & Woodward, M. (2012). Association of HbA 1c levels with vascular complications and death in patients with type 2 diabetes: evidence of glycaemic thresholds. Diabetologia, 55(3), 636-643.