การจัดการผิวหนังฉีกขาดในผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผิวหนังฉีกขาดเป็นปัญหาสำคัญ และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความเจ็บปวด และเกิดความทุกข์ใจ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การบาดเจ็บที่ผิวหนังอาจเพิ่มโอกาสในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และมีอัตราการเกิดอุบัติการณ์แตกต่างกันไปทั่วโลก การศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการผิวหนังฉีกขาดในผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 4 ประเด็น คือ 1) สาเหตุ และชนิดของแผลผิวหนังฉีกขาด แผลผิวหนังฉีกขาด เกิดจากแรงเฉือน แรงกระแทก และแรงเสียดสี ทำให้เกิดการแยกกันของชั้นผิวหนังแบ่งเป็นสามชนิด ได้แก่ 1.1) การฉีกขาดไม่มีการสูญเสียของผิวหนังด้านบน ไม่มีการสูญเสียของผิวหนังบริเวณ epidermis 1.2) ผิวหนังบริเวณรอยฉีกขาดมีการสูญเสียของผิวหนังบางส่วน 1.3) มีการสูญเสียของผิวหนังด้านบนไปทั้งหมด 2) ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลผิวหนังฉีกขาดได้แก่ การสูญเสียการได้ยิน และการมองเห็น ปัญหาทางด้านจิตใจ ภาวะทุพโภชนาการ การรัประทานยาที่มากเกินไป การถูกจำกัดการเคลื่อนไหว หรือการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้การเคลื่อนย้าย ประวัติการพลัดตกหกล้ม การใช้วัสดุปิดแผลที่ทำด้วยกาว โรคหรือการเจ็บป่วยทางกาย 3) การป้องกันการเกิดแผลผิวหนังฉีกขาด โดยมีการดูแลและตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในบ้านปลอดภัย ประเมินอาการสับสน จัดการโภชนาการอาหาร และสารน้ำ ปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรเรื่องการรับประทานยาที่มีจำนวนมากอาจมีผลต่อผิวหนัง หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้าย ที่ทำให้ผิวหนังฉีกขาด การดูแลผิวหนัง และการบำรุงผิว เพื่อให้ผิวหนังแข็งแรงขึ้น รวมถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการบำรุงดูแลผิวหนังในผู้สูงอายุ 4) การจัดการผิวหนังฉีกขาดในผู้สูงอายุ โดยเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะสมกับแผลโดยพิจารณาตามปริมาณสารคัดหลั่ง ความคุ้มค่า และควรเลือกวัสดุและผลิตภัณฑ์ปิดแผลที่เป็นซิลิโคน เพื่อป้องกันการฉีกขาดตามตารางการจัดการผิวหนังฉีกขาดของ The international skin tear advisory panel (ISTAP)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
Franco AC, Aveleira C, Cavadas C. Skin senescence: mechanisms and impact on whole-body aging. Trends Mol Med. 2022 Feb;28(2):97-109. doi: 10.1016/j.molmed. 2021.12.003. Epub 2022 Jan 7. PMID: 350 12887.
Harper D, Young A, McNaught C-E. The physiology of wound healing. Surgery (Oxford). 2014; 32(9): 445-50.
LeBlanc K, Baranoski S. Skin Tears: Finally Recognized. Adv Skin Wound Care. 2017 Feb; 30(2): 62-63. doi: 10.1097/01.ASW.0000 511435.99585.0d. PMID: 28106632.
LeBlanc K, Campbell KE, Wood E, Beeckman D. Best Practice Recommendations for Prevention and Management of Skin Tears in Aged Skin: An Overview. J Wound Ostomy Continence Nurs. 2018 Nov/Dec; 45(6): 540-542. doi: 10.1097/WON.00 00000000000481. PMID: 30395131.
Grenier A, Legault J, Pichette A, Jean L, Bélanger A, Pouliot R. Antioxidant, Anti-Inflammatory, and Anti-Aging Potential of a Kalmia angustifolia Extract and Identification of Some Major Compounds. Antioxidants. 2021; 10(9):1373. https://doi.org/10.3390/ antiox10091373
LeBlanc K, Campbell KE, Wood E, Beeckman D. Best practice recommendations for prevention and Management of Skin Tears in aged skin: an overview. J Wound Ostomy Continence Nurs. 2018; 45(6): 540-542.
จันทนา เกลี้ยงพร้อม, สุรศักดิ์ พุฒิวณิชย์. การป้องกันผิวหนังถูกทำลายในผู้สูงอายุ, วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2017, 249-257
Ana Catarina Franco,Célia Aveleira,and Cláudia Cavadas , Skin senescence: mechanisms and impact on whole-body aging. Trends in Molecular Medicine.2022; 28-99
Harper, D., Young, A. & McNaught, C. The Physiology of Wound Healing. Surgery. 2014); 32(9): 445-450.
Kimberly LeBlanc, Kevin Woo,Dawn Christensen,Louise Forest-Lalande, Jennifer O’Dea, Marlene Varga, et al. BEST PRACTICE RECOMMENDATIONS FOR THE Prevention and Management of Skin Tears, 2021: 5-17.
Tobin DJ, Veysey EC, Finlay AY. Aging and the skin. In: Fillit HM, Rockwood K, Young J, eds. Brocklehurst's Textbook of Geriatric Medicine and Gerontology. 2017, 8:25. Skin tears Standardised care process, State of Victoria, Department of Health and Human Services, March 2018