บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีบาดแผล

Main Article Content

อภิญญา กระมล
พรลิขิต กองฝ่าย
พัณณ์ชิตา แถมสุข
วราภรณ์ แสงคำ
สุภาพร กุลราษฎร์
นิชนาถ ห้อธิวงศ์
สุกัญญา ปัญญาคม

บทคัดย่อ

การดูแลด้านโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีบาดแผลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง บาดแผลเป็นสาเหตุหลักที่อาจนำไปสู่ความพิการหรือการเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย ปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะเหล่านี้มีหลายประการ ซึ่งโภชนาการในผู้ป่วยไตเรื้อรังเป็นปัจจัยในการส่งเสริมการหายของแผล เนื่องจากหน้าที่สำคัญของไตคือ การรักษาสมดุลของน้ำ และสารต่าง ๆ ในร่างกายให้คงที่ตลอดเวลา  สารอาหารที่สมดุลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น พยาบาลเป็นบุคลากรทางด้านสุขภาพที่สามารถให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับหลักโภชนาการ ที่ส่งเสริมการหายของแผล บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทพยาบาลในการใช้หลักโภชนาการที่ส่งเสริมการหายของแผลในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังอันจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของผู้ป่วยและประสิทธิผลในการดูแลของทีมสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ยุวดี เกตสัมพันธ์. การประเมินภาวะโภชนาการ. สืบค้น 5 มกราคม 2565 จาก https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_QD/admin/download_files/178_72_1.pdf

จุฬาภรณ์ รุ่งพิสุทธิพงษ์. Nutrition in Clinical Medicine. การประเมินภาวะโภชนาการ (Nutrition Assessment) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2553.

ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์, ณัฏฐา ล้ำเลิศกุล. โภชนาการในผู้ป่วย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตต่อเนื่อง. วารสารเวชบำบัดวิกฤต 2561; 26(2): 13-14.

จิณพิชญ์ชา มะมม, ประกายเพชร วินัยประเสริฐ. การพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยคำนวนอาหารที่จำเป็นต่อวัน (NuTu-App) เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562; 27(3): 485-498.

กมลวรรณ เจนวิถีสุข. Basic wound healing and wound bed preparation. Srinagarind Med Journal 2556; 28(1): 10-17.

ช่อผกา สุทธิพงศ์, ศิริอร สินธุ, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์, จงจิต เสน่หา, ยงชัย นิละนนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรุนแรงของแผลกดทับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาการพยาบาล 2549; 21(4): 56-67.

Stechmiller JK. Understanding the Role of Nutrition and Wound Healing. Nutrition in Clinical Practice. 2010; 25(1): 61-8.

Tonni S, Wali A. Dietary considerations of wound healing in Ayurveda. J Nutr Food Sci, 2013; 3(5): 1-4.

ศรารินทร์ พิทธยะพงษ์. โภชนาการกับการหายของแผล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2551; 1(2-3): 27-37.

อัจฉริย สาโรวาท. Wound Healing and Wound care; 2561.สืบค้น 16 มิถุนายน 2565 จาก http://www.rama. mahidol.ac.th

นงนุช หอมเนียม. บทบาทพยาบาลในการใช้หลักโภชนาการที่ส่งเสริมการหายของแผล:วารสารพยาบาลตำรวจ 2557; 6(2): 240-242.

วงเดือน สุวรรณคีรี, ยุพเรศ พญาพรหม.การป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2017; 29(2): 20.

Manna B, Nahirniak P, Morrison CA. Wound Debridement. [Updated 2023 Apr 19]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2023 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507882/

ชยพล ศิรินิยมชัย. บทบาทพยาบาลในการจัดการแผลเบาหวานที่เท้า:บทความทั่วไปเวชบันทึกศิริราช. 2562; 12(2): 132-139.

Dobner J, Kaser S. Body mass index and the risk of infection–from underweight to obesity. Clinical Microbiology and Infection 2018; (1): 24-28.

สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย.คำแนะนำแนวทางเวชปฏิบัติโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ 2563.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชนิดา ปโชติการ. อาหารสำหรับผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรัง: สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 2561.