การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เข้าข่ายสงสัย/ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ห้องตรวจผู้ป่วยนอกติดเชื้อทางเดินหายใจ (OPD ARI)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการนำแนวปฏิบัติการพยาบาล
ในการดูแลผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัย/ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในห้องตรวจผู้ป่วยนอก
ติดเชื้อทางเดินหายใจ (OPD ARI) คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานห้องตรวจผู้ป่วยนอกติดเชื้อทางเดินหายใจ (OPD ARI) เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน ก่อนที่ผู้วิจัยจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูล และขึ้นปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 20 เวรต่อเดือน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ (1) แบบสนทนากลุ่มปัญหาและแนวปฏิบัติการพยาบาล
(2) แนวปฏิบัติการพยาบาล และ (3) แบบประเมินความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัย/ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของห้องตรวจผู้ป่วยนอกติดเชื้อทางเดินหายใจ (OPD ARI) ค่าดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 1.00 ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาล
ในการดูแลผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัย/ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในห้องตรวจผู้ป่วยนอก
ติดเชื้อทางเดินหายใจ (OPD ARI) คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประกอบด้วย พยาบาลรับผิดชอบ 3 จุด คือ (1) จุดคัดกรอง (2) จุดลงทะเบียน และ (3) จุดช่วยแพทย์/เตรียม swab
โดยแบ่งหน้าที่ดูแลใน 6 ประเด็น คือ (1) การคัดกรอง (2) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ (3) การกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากร (4) การจัดสถานที่ สิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ (5) การลงทะเบียน และ (6) จุดช่วยตรวจ ผลการนำ ไปใช้ พบว่า (1) ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ อยู่ในระดับมาก ( = 2.48, SD = 0.25) และ
(2) ไม่พบอุบัติการณ์พยาบาลวิชาชีพ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากการปฏิบัติงาน ดังนั้น
แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัย/ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในห้องตรวจผู้ป่วยนอกติดเชื้อทางเดินหายใจ (OPD ARI) ที่ได้รับการพัฒนาฉบับนี้ สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลในห้องตรวจผู้ป่วยนอกติดเชื้อทางเดินหายใจ (OPD ARI) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. Corona Virus Disease (COVID-19). [อินเทอร์เน็ต] 2563 เข้าถึงเมื่อ [11 เมษายน 2563] จาก https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/eng/index.php.
Kongkamol C, Padungkul L, Rattanajarn N, Srisara S, Rangsinobpakhun L, Apiwan K, et al. Implementation of Triage System and Shortening Patient Journey Time to Prevent COVID-19 Transmission in a University Hospital during a Pandemic. 2021 Int. J. Environ. Res. Public Health; 18(13): 6996. Doi: 10.3390/ijerph18136996
Ourworldindata. Corona virus pandemic. [Internet] 2021 [cited 2021 Oct 5] Available from: https://ourworldindata.org /covid-vaccinations?country=OWID _WRL
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ภายใน ประเทศ. [อินเทอร์เน็ต] 2563 เข้าถึงเมื่อ [6 กันยายน 2565] จาก https://ddc.moph. go.th/covid19-dashboard/?dashboard =province
World Health Organization. COVID 19 Strategy update. [Internet] 2020 [cited 2020 Apr 7] Available from: https:// www.who.int/docs/default-source/ coronaviruse/covid-strategy-update-14april2020.pdf
ฟองคำ ติลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์: หลักการและวิธี ปฏิบัติ 6th ed. กรุงเทพฯ: พรี-วัน; 2554.
Garritty CM, Norris SL,Moher D. Developing WHO rapid advice guidelines in the setting of a public health emergency. 2017 J Clin Epidemiology; 82:47-60.
National Health and Medical Research Council. A Guide to the Development Implementation and Evaluation of Clinical Practice Guidelines. [Internet] 1999 [cited 2020 Apr 11] Available from: http://www.health.gov.au/ nhmrc/ publication/pdf/cp.30.pdf
พิกุล นันทชัยพันธ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติ การพยาบาลทางคลินิกเพื่อเตรียมความพร้อม ผู้ดูแลผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. [อินเทอร์เน็ต]2550 เข้าถึงเมื่อ [11 เมษายน 2563] จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/ dcms/ files/54920262.pdf
Cheng A, Caruso D, McDougall C. Outpatient management of COVID-19: rapid evidence review. Am Fam Physician 2020;102(8):478-86.
Chu DK, Akl EA, Duda S, Solo K, Yaacoub S, Schünemann HJ, et al. Physical distancing, face masks, and eye protection to prevent person-to-person transmission of SARS-CoV-2 and COVID-19: A systematic review and meta-analysis. The Lancet 2020; 395:1973–87.
Bartoszko JJ, Farooqi MAM, Alhazzani W, Loeb M. Medical masks vs N95 respirators for preventing COVID-19 in healthcare workers: A systematic review and meta-analysis of randomized trials. Influenza Other Respir Viruses 2020 Jul;14(4):365-373. doi: 10.1111/ irv.12745. Epub 2020 Apr 21. PMID: 32246890; PMCID: PMC7298295.
Jefferson T, Del Mar CB, Dooley L, Ferroni E, Al-Ansary LA, Bawazeer GA, et al. Physical interventions to interrupt or reduce the spread of respiratory viruses. Cochrane Database Syst Rev. 2020 Nov 20;11(11):CD006207. doi: 10.1002/14651858.CD006207.pub5. PMID: 33215698; PMCID: PMC8094623.
Loeb M, Dafoe N, Mahony J, John M,Sarabia A, Glavin V, et al. Surgical mask vs N95 respirator for preventing influenza among health care workers: a randomized trial. JAMA. 2009 Nov 4;302(17):1865-71.doi:10.1001/jama.2009. 1466. Epub 2009 Oct 1. PMID: 19797474.
Liapikou A, Tzortzaki E, Hillas G, Markatos M, Papanikolaou IC, Kostikas K. Outpatient Management of COVID-19 Disease: A Holistic Patient-Centered Proposal Based on the Greek Experience. J Pers Med 2021; 11(8):709. https://doi.org/
3390/jpm11080709
World Health Organization. Infection prevention and control during health care when novel coronavirus (nCoV) infection is suspected. [Internet] 2020 [cited 2020 Apr 11] Available from: https://www.who.int/publications-detail/ infection-prevention-and-control-during- health-care-when-novel-coronavirus- (ncov)-infection-is-suspected-20200125