กลยุทธ์การเจรจาต่อรองของผู้บริหารทางการพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการเจรจาต่อรองเป็นทักษะการจัดการที่สำคัญของผู้บริหารทางการพยาบาลที่ใช้ในการจัดการกับข้อขัดแย้งต่าง ๆ หรือผลประโยชน์ที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ของผู้รับบริการอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งนโยบายระดับประเทศให้ความสำคัญกับการให้บริการสุขภาพและสาธารณสุข โดยคำนึงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพและสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง แต่จากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ และรับรู้ถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ด้านการรักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อไม่ได้รับบริการที่ได้มาตรฐานหรือที่เป็นไปตามคาดหวัง จึงมักเกิดความขัดแย้งขึ้นในขณะให้บริการได้ พบว่า เกิดความขัดแย้งที่มีความรุนแรงในระบบงานสุขภาพ รวมถึงเกิดเรื่องร้องเรียนและการฟ้องร้องเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นผู้บริหารการพยาบาลจึงต้องมีทักษะและกลยุทธ์ในการเจรจาต่อรอง เพื่อการบริหารจัดการในองค์การพยาบาลและการบริหารจัดการกับผู้รับบริการและญาติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กรองจิตต์ เล็กสมบูรณ์สุข. องค์ประกอบของสมรรถนะของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดสุพรรณบุรี [ปริญญานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.
นันทนา รุ่งสาง. การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะการเจรจาต่อรองด้านการบริหารการพยาบาลสำหรับผู้บริหารหอผู้ป่วย. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
วิชญา ปองคำ. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: OfficeMate; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 เม.ย.2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ofm.co.th/blog/ เทคนิคเจรจาต่อรอง/.
เรวดี ไวยวาสนา. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 4 เม.ย.2566]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/cv3zN
Mehnert, M. Negotiation: Definition and types, manager's issues in negotiation, cultural differences and the negotiation process. Germany: Urheberrechtlich geschutztes Material; 2008.
Aaron, M. C. Pocket mentor series negotiating outcome, Negotiating Outcomes. MA: Harvard Business Review; 2006.
จิรัฐ ชวนชม. การจัดการความขัดแย้งและการเจรจาต่อรองในองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.
สุคนธ์ มณีรัตน์. การเจรจาต่อรองสำหรับครู. Veridian E – Journal, Silpakorn University. 2560; 10: 2463-2474.
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. การจัดการการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2562.
วิชัย โถสุวรรณจินดา. ครบเครื่องเรื่องการเจรจาต่อรอง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บัณฑิตอักษร; 2565.
วัลลภา วิชะยะวงศ์. การเจรจาต่อรองธุรกิจระหว่างประเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปกร; 2561.
Tracy, B. Negotiation. The Brian Tracy Success Library. USA: Amacom; 2013.
Robbins, P.S. Organizational behavior. พิมพ์ครั้งที่ 14. รังสรรค์ ประเสริฐศรี, ผู้แปล. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไซน่า; 2001.