ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนและหลังการผ่าตัด ต่อความรู้ และความพึงพอใจในผู้ป่วยที่ได้รับการฝัง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้าหัวใจ

Main Article Content

ณฐภัทร ดีเลิศพิพัฒน์กุล
จันทร์สุดาพรรณ บุญธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ความพึงพอใจหลังได้รับการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดฝังเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้าหัวใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยการใช้สื่อวีดิทัศน์และกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อายุ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับการผ่าตัดฝังเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้าหัวใจในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 4C (หออภิบาลผู้ป่วยอายุรกรรมโรคหัวใจ), 16B (หอผู้ป่วยโรคหัวใจ) และ 17A (หอผู้ป่วยพิเศษโรคหัวใจ) คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 50 ราย สุ่มแบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีจับสลากแบบไม่ใส่คืน


ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนความรู้หลังได้รับการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมในการผ่าตัด เฉลี่ย 16.28±1.82 คะแนน และ 16.32±1.18 คะแนนตามลำดับ เมื่อควบคุมอิทธิพล
ของคะแนนความรู้ก่อนการทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกันเฉลี่ย -0.31 คะแนน (95%CI: -1.15, 0.54) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.473) ทั้งสองกลุ่มมีระดับความพึงพอใจมาก เฉลี่ย 3.93±0.11 คะแนน และ 3.93±0.14 คะแนน ตามลำดับซึ่งค่าเฉลี่ยความพึงพอใจแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.991) การใช้วีดิทัศน์ในการเตรียมความพร้อมก่อนและหลังการผ่าตัดส่งผลให้มีความรู้มากขึ้นและมีความพึงพอใจในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. การรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าหัวใจวชิรพยาบาล; 2564.

Desai S Dhaval, Hajouli Said. StatPearls [Internet]. 2023. [cited 2023 august 22 ]. Available from https://www.ncbi.nlm.nih.

รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์, เรวัตร พันธุ์กิ่งทองคำ, ณัฐวุฒิ วงษ์ประภารัตน์, อดิศักดิ์ มณีไสย. ภาวะฉุกเฉินระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac emergencies). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาหทัยวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

Devore D, Al-Khatib M. ICDs Are Still an Effective Therapy to Prevent Sudden Cardiac Death in Heart Failure. JACC: Heart Failure, 2019; 7(10): 907-10.

ภัทรพงษ์ มกรเวส, เจษฎา เทียนเจษฎา, ดุจดาว สหัสทัศน์, ไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร. ผลทางคลินิกของการใส่เรื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ ในผู้ป่วยรอดชีวิตจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และศูนย์หัวใจสิริกิติ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ศรีนครินทร์เวชสาร, 2556; 28(2): 214-9.

Kurucova R, Ziakova K, Gurkova E, Simkova, E. Quality of life of patients with a permanent pacemaker. Central European Journal of Nursing and Midwifery. 2014; 5(1): 15-20.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. กรุงเทพฯ: เนคสเตปดีไซน์; 2562.

ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี และ นรลักขณ์ เอื้อกิจ. การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร: บทบาทพยาบาล. Ramathibodi Nursing Journal. 2562; 25(3): 255-69.

วิวัฒน์ กาญจนรุจวิวัฒน์, ธันวา พิทักษ์สุธีพงศ์, และ รัตนา เดิมสมบูรณ์. การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรในโรงพยาบาลพระปกเกล้า: ภาวะแทรกซ้อน และ การแก้ไข. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center. 2558; 32(1): 58-67.

Palmer S. J. Post-implantation pacemaker complications: the nurse's role in management. British Journal of Cardiac Nursing. 2014; 9(12): 592-8.

ศุภางค์ ดำเกิงธรรม, ยุพาพร หงษ์สามสิบเจ็ด, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับ

การระงับความรู้สึกต่อความรู้ และความวิตกกังวล ในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2564; 29(1): 50-64.

สุจินดา ลดาสุนทร, นิโรบล กนกสุนทรรัตน์,

สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม. ผลของโปรแกรมการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนต่อความรู้และทักษะการดูแลทวารเทียมในญาติผู้ดูแลผู้มี ทวารเทียมรายใหม่. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2562; 25(1): 43-57.

Knowles M.S. Self - directed learning: A neglected species. (3rd. ed). Houston: Gulf Publishing Co; 1984.

Knowles M.S. Self - directed learning: A neglected species. (3rd. ed). Houston: Gulf Publishing Co; 1984.

Faul F, Erdfelder, E, Buchner A, Lang A G. Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior research methods. 2009; 41(4): 1149-60.

ศศิธร มงคลสวัสดิ์. ผลของการใช้โปรแกรมการสอนผู้ป่วยก่อนผ่าตัดทวารเทียมโรงพยาบาลขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์/ระดับปริญญาโท], เมืองเชียงใหม่; บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

Bloom B S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw–Hill; 1971.

สุชาติ ประสิทธ์รัฐสินธุ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์; 2539.

Oliveira AP, Souza EN, Pellanda LC. Effectiveness of video resources in nursing orientation before cardiac heart surgery. Rev Assoc Med Bras (1992). 2016; 62(8) : 762-7.

Haupt BA, Beauvais A. Veterans receive high-fidelity simulation education preoperatively. Clinical Simulation in Nursing. 2014; 10(11) : 538-45.

Fasulo SM, Testa EJ, Lawler SM, Fitzgerald M, Lowe JT, Jawa A. A Preoperative Educational Video Improves Patient Satisfaction and Perceived Knowledge, but Not Patient Understanding for Total Shoulder Arthroplasty: A Randomized, Surgeon-Blinded Study. Journal of Shoulder and Elbow Arthroplasty.2018; 2 : 1-2

Ng SX, Wang W, Shen Q, Toh ZA, He HG. The effectiveness of preoperative education interventions on improving perioperative outcomes of adult patients undergoing cardiac surgery: a systematic review and meta-analysis European Journal of Cardiovascular Nursing. 2021; 21(6) : 521-36

Fang P, Han S, Zhao L, Fang Z, Zhang Y, Zou X. What limits the utilization of health services among the rural population in the Dabie Mountains- evidence from Hubei province, China? BMC Services Research. 2014; 14 : 1-7

Xesfingi S, Vozikis A. Patient satisfaction with the healthcare system: Assessing the impact of socio-economic and healthcare provision factors. BMC health services research. 2016; 16(1) : 1-7.

Meng R, Li J, Zhang Y, Yu Y, Luo Y, Liu X, et al. Evaluation of patient and medical staff satisfaction regarding healthcare services in Wuhan Public Hospitals. International journal of environmental research and public health. 2018; 15(4) : 1-17.

Delcambre M, Haynes D, Hajar T, Golden S, Bar A, Latour E, et al. Using a Multimedia Tool for Informed Consent in Mohs Surgery: A Randomized Trial Measuring Effects on Patient Anxiety, Knowledge, and Satisfaction. Dermatologic Surgery. 2020; 46(5) : 591-8.