ผลของการพัฒนารูปแบบการบริการพยาบาลเพื่อการบริหารยา ความเสี่ยงสูง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องผลของการพัฒนารูปแบบการบริการพยาบาลเพื่อการบริหารยาความเสี่ยงสูง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการพยาบาลเพื่อการบริหารยาความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และเพื่อหาประสิทธิผลของรูปแบบการบริการพยาบาลเพื่อการบริหารยาความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ในด้านความรู้ การปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารยาความเสี่ยงสูง จำนวนอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนจากการบริหารยาความเสี่ยงสูง และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมในงานวิจัยนี้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง หนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 ราย เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แนวทางการบริหารยาความเสี่ยงสูง คู่มือการใช้ยาความเสี่ยงสูง แบบทดสอบความรู้เรื่องการบริหารยาความเสี่ยงสูง แบบประเมินการปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารยาความเสี่ยงสูง แบบบันทึกการเฝ้าระวังและติดตามการบริหารยาความเสี่ยงสูง และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการบริหารยาความเสี่ยงสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความรู้เฉลี่ยหลังได้รับความรู้เรื่องการบริหารยาความเสี่ยงสูง สูงกว่าก่อนได้รับความรู้เรื่องการบริหารยาความเสี่ยงสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารยาความเสี่ยงสูงร้อยละ 97.2 และไม่พบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาจากการบริหารยาความเสี่ยงสูง ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 86.8
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
Sheikh SA, Donaldson L, Dhingra-Kumar N, Bates D, Kelley E, Larizgoitia I. Medication errors: technical series on safer primary care World Health Organization [internet]. Genuva: WHO; 2016 [cited 2023 August 30]. Available from: http:// iris.who.int/bitstream/handle/10665/252274/9789241511643eng.pdf?sequence=1.
Institute for Safe Medication Practices. ISMP List of high-alert medications in acute care settings [internet]. Butler Pike: ISMP; 2018 [cited 2023 December 2]. Available from: https://www.ismp.org/ sites/ default/files/attachments/2018-08/high Alert2018-Acute-Final.pdf
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สรุปรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาประจำปี พ.ศ.2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). Change & Collaboration for Sustainability. ใน: HA UPDATE 2019 ทรนง พิราลัย, บรรณาธิการ . HA National Forum ครั้งที่ 20; วันที่ 12-15 มีนาคม 2562; ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี. นนทบุรี: หนังสือดีวัน; 2562. 4 1-109.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยาและพิษวิทยาโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. คู่มือการใช้ยาโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี [internet]. สุราษฎร์ธานี: คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://anyflip .com/qqjon/wgyn/basic.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ. ฉบับที่ 5. นนทบุรี: ก.การพิมพ์เทียนกวง; 2565.
ปฤษณา เปล่งอารมณ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยจากการบริหารยาความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชจังหวัดสุพรรณบุรี. ว. แพทย์เขต 4-5 2564; 40: 137-50.
Gunes U, Ozturk H, Efteli E. Nurses’ Knowledge Level about High-Alert Medications. J Health SCI 2021; 9: 12-20. doi:10.24998/maeusabed.803284.
พิศอาภา ธงภักดิ์. การประเมินการดำเนินงานตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงของโรงพยาบาลซับใหญ่. ชัยภูมิเวชสาร 2565; 42: 35-46.
Sessions LC, Nemeth LS, Catchpole K, Kelechi TJ, Endowed DC, Endowed MC. Nurses’ perceptions of high‐alert medication administration safety: A qualitative descriptive study. JAN leading global nursing research. 2019;75:3654–67. Doi: 10.1111/jan.14173.
กิตติพนธ์ เครือวังค์. ความคลาดเคลื่อนทางยา. ว. กฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2561; 4:251-65.
Younis I, Shaheen N, Bano S. Knowledge & practice about administration of high alert medication in the tertiary care hospital in Lahore. IJHMNP 2021; 3: 1-16.
Zyoud SH, Khaled SM, Kawasmi BM, Habeba AM, Hamadneh AT, Anabosi HH. Et al. Knowledge about the administration and regulation of high alert medications among nurses in Palestine: a cross-sectional study. BMC Nursing [internet]. 2019 [cited 2023 November 28]; 18: 1-17. Available from: https://bmcnurs.biomedcentral.com/ articles/10.1186/s12912-019-0336-0.
Sullivan KM, Le PL, Ditoro MJ, Andree JT, Charest DJ, Tuiskula KA. Enhancing High Alert Medication Knowledge Among Pharmacy, Nursing, and Medical Staff. J Patient Saf 2021; 17: 311-15.
Medication Safety Section Pharmacy Practice and Development Division Pharmaceutical Services Programme Ministry of Health Malaysia. GUIDELINE ON SAFE USE OF HIGH ALERT MEDICATIONS (HAMs) [internet]. Malaysia: Pharmaceutical Services Programme Ministry of Health Malaysia; 2020 [cited 2023 December 13]. Available from: https://pharmacy.moh.gov.my/ sites/ default/files/document-upload/guideline- safe-use-high-alert-medications-hams-2nd -edition_1.pdf
ศรีวิไล แสงเลิศศิลปะชัย และปฐมา เทพชัยศรี. การพัฒนาระบบการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน. ว. สาธารณสุขศาสตร์ 2566; 53: 449-64.
เจตนิพัทธ์ มิดขุนทด. การพัฒนาระบบการจัดการด้านยาที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลตาคลีภายใต้ความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ. ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย 2564; 3: 39-51.
จันทิมา ชูรัศมี. ความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบําบัด. ว. เภสัชกรรมไทย 2562; 11:
-53.
วิมลลักษ์ เรืองวัฒนาโชค, หนึ่งฤทัย สุกใส, เชิดชัย สุนทรภาส. การประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงของแผนกผู้ป่วยใน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคกลาง. ว. เภสัชศาสตร์อีสาน 2561; 14: 18-28.