ปัจจัยทำนายคุณภาพการนอนหลับของเด็กวัยเรียน ที่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพการนอนหลับของเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับจำนวน 242 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบคัดกรองเด็กที่มีปัญหาการหายใจผิดปกติขณะหลับ แบบวัดคุณภาพการนอนหลับ แบบบันทึกการตรวจร่างกาย และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการถดถอยโลจีสติก
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69 มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี เมื่อควบคุมปัจจัย พบว่าเด็กที่เป็นโรคหวัดจากภูมิแพ้มีโอกาสมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 12.79 เท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่เป็นโรคหวัดจากภูมิแพ้ (ORadj=12.795; 95%CI 5.04, 32.44) เด็กที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจไม่บ่อยมีโอกาสมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 2.47 เท่า (ORadj=2.479; 95%CI 1.24, 4.92) และเด็กที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจบ่อยมีโอกาสมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 3.45 (ORadj=3.457; 95%CI 1.15, 10.35) เท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่มีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เด็กที่มีประวัติสัมผัสควันบุหรี่มีโอกาสมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 4.5 เท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่มีประวัติสัมผัสควันบุหรี่ (ORadj=4.506; 95% CI 2.22, 9.11) เด็กที่บิดามารดามีประวัตินอนกรนมีโอกาสมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับเด็กที่บิดามารดาไม่มีประวัตินอนกรน (ORadj=2.505; 95%CI 1.05, 5.96) ทีมสุขภาพควรส่งเสริมการดูแลตนเองแก่เด็กวัยเรียนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและโรคหวัดจากภูมิแพ้ รวมทั้งให้ผู้ปกครองตระหนักถึงผลเสียของควันบุหรี่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
Mindell JA, Owens J A. A clinical guide to pediatric sleep: diagnosis and management of sleep problems. 3rd ed. Philadelphia: Wolters Kluwer. 2015.
อรพินทร์ เซียงปิ๋ว. นาฬิกาชีวภาพกับการนอนหลับ.วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2555;4(7) :145-155.
นทีทิพย์ กฤษณามระ. ฮอร์โมนกลไกและการออกฤทธิ์ร่วม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 2538.
ปารยะ อาศนะเสน. อาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ. คลินิก. 2551:278.
กรองทอง วงศ์ศรีตรัง. กลุ่มอาการหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นในผู้ใหญ่. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2556; b31(4): 203-215.
Esteller E, Villatoro JC, Agüero A, Lopez R, Matiñó E, Argemi J, et al. Obstructive sleep apnea syndrome and growth failure. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology. 2018;108:214-218.
Torres-Lopez LV, Cadenas-Sanchez C, Migueles JH, Esteban-Cornejo I, Molina-Garcia P, Hillman CH, et al. Does sleep-disordered breathing add to impairments in academic performance and brain structure usually observed in children with overweight/obesity?. European Journal of Pediatrics. 2022;181:2055-2065.
Csábi E, Gaál V, Hallgató E, Schulcz RA, Katona G, Benedek P. Increased behavioral problem in children with sleep-disordered breathing. Italian Journal of Pediatrics. 2022;48:173.
Jennum P, Rejkjær-Knudsen M, Ibsen R, Kiær EK, Buchwald CV, Kjellberg J. Long-term health and socioeconomic outcome of obstructive sleep apnea in children and adolescents. Sleep Medicine. 2020;75:441-447.
หฤทัย กมลาภรณ์. พัฒนาการและกายวิภาคของระบบหายใจ Intrauterine development and comparative respiratory anatomy. ใน: อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ และคณะ, บรรณาธิการ. The essentials of pediatric respiratory care: ตำราการบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็กสำหรับแพทย์และพยาบาล. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์;2550.หน้า 16-27.
Shen L, Lin Z, Lin X, Yang Z. Risk factors associated with obstructive sleep apnea-hypopnea syndrome in Chinese children: A single center retrospective case control study. Plos one. 2018; 13(9). doi.org/10.1371/journal.pone. 0203695
Loekmanwidjaja J, Carneiro AF, Nishinaka M, Munhoes D, Benezoli G, Wandalsen GF, et al. Sleep disorders in children with moderate to severe persistent allergic rhinitis. Brazilian Journal of Otorhinolaryngology. 2018; 84(2):178-184.
Leger D, Bonnefoy B, Pigearias B, Giclais B, Chartier A. Poor sleep is highly associated with house dust mite allergic rhinitis in adults and children. Allergy, Asthma & Clinical Immunology. 2017; 13(36). DOI 10.1186/s13223-017-0208-7
Koinis-Mitchell D, Kopel SJ, Seifer R, LeBourgeois M, McQuaid EL, Esteban CA, et al. Asthma-related lung function, sleep quality, and sleep duration in urban children. Sleep Health. 2017;3(3): 148–156. doi:10.1016/j.sleh.2017.03.008.
Anuntaseree W, Rookkapan K, Kuasirikul S, Thongsuksai P. Snoring and obstructive sleep apnea in Thai school-age children: prevalence and predisposing factors. Pediatric Pulmonology. 2001; 32(3):222-227.
Jung JW, Ju YS, Kang HR. Association Between Parental Smoking Behavior and Children’s Respiratory Morbidity:5-Year Study in an Urban City of South Korea. Pediatric Pulmonology. 2012;47: 338–345.
Su MS, Zhang HL, Cai XH, Lin Y, Liu PN, Zhang YB, et al. Obesity in children with different risk factors for obstructive sleep apnea: a community-based study. European Journal of Pediatrics. 2016;175: 211-220. DOI10.1007/s00431-015-2613-6
Tavasoli A, Jalilolghardr S, Lotfi S. Sleep symptoms and polysomnographic patterns of obstructive sleep apnea in obese children. Iranian Journal of Child Neurology. 2016; 10(1):14-20.
Goodwin JL, Babar SI, Kaemingk KL, Rosen GM, Morgan WJ, Sherrill DL, et al. Symptoms related to sleep-disordered breathing in white and Hispanic children: the Tucson Children’s Assessment of Sleep Apnea Study. Chest. 2003;124:196–203.
วราภรณ์ เสถียรนพเก้า วิชัย เอกพลากร. พฤติกรรมการกินอาหาร. ใน: วิชัย เอกพลากร และคณะ, บรรณาธิการ. รายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552, กรุงเทพฯ;2552. หน้า 49-79.
วิชัย เอกพลากร สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์. โรคหืด. ใน: วิชัย เอกพลากร และคณะ, บรรณาธิการ.รายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552, กรุงเทพฯ;2552. หน้า 89-102.
ภาสุรี แสงศุภวานิช. สถานะสุขภาพทั่วไป. ใน: วิชัย เอกพลากร และคณะ, บรรณาธิการ. รายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552, กรุงเทพฯ;2552. หน้า 81-88.
กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพ:ธรรมสารจำกัด. 2554.
Chervin RD, Hedger K, Dillon JE, Pituch KJ. Pediatric sleep questionnaire (PSQ): validity and reliability of scales for sleep-disordered breathing, snoring, sleepiness, and behavioral problems. Sleep Medicine. 2000;1(1):21-32.
Bruni O, Ottaviano S, Guidetti V, Romoli M, Innocenzi M, Cortesi F, Giannotti F. The sleep disturbance scale for children (SDSC) Construction and validation of an instrument to evaluate sleep disturbances in childhood and adolescence. Journal Sleep Research. 1996;5:251-261.
Friedman M, Ibrahim H, Joseph NJ. Staging of obstructive sleep apnea/hypopnea syndrome: A guide to appropriate treatment. The Laryngoscope. 2004;114:454-459.
Merianos A, Mahabee-Gittens M, Choi K. Tobacco smoke exposure and inadequate sleep among U.S. school aged children. Sleep Medicine. 2021;86:99-105.
Bixler EO, Vgontzas AN, Lin HM, Liao D, Calhoun S, Bueno AV, et al. Sleep disordered breathing in children in a general population sample: prevalence and risk factors. Sleep. 2009;32(6):731-736.
Goodwin JL, Kaemingk KL, Mulvaney SA, Morgan WJ, Quan SF. Clinical screening of school children for polysomnography to detect sleep-disordered breathing—the Tucson children’s assessment of sleep apnea study (TuCASA). Journal of Clinical Sleep Medicine. 2005;1(3):247-254.