ผลการวิเคราะห์ต้นทุนค่าหัตถการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม Total Knee Arthroplasty ระยะผ่าตัด กรณี Premium คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Main Article Content

ปัญจลักษณ์ นทีทวีวัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมค่าหัตถการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty; TKA) ระยะผ่าตัด กรณี premium (คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรคือผู้เข้ารับบริการผ่าตัด TKA กรณี premium ตึกผ่าตัด 1 ชั้น 6 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2563 โดยมีเครื่องมือในการศึกษาคือแบบบันทึกข้อมูลต้นทุนกิจกรรมหัตถการ TKA ระยะผ่าตัด กรณี premium แบบบันทึกข้อมูลระยะเวลากระบวนการก่อนผ่าตัดกระบวนการระยะผ่าตัด และกระบวนการหลังผ่าตัด TKA กรณี premium


ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมหัตถการ TKA ระยะผ่าตัด กรณี premium มีต้นทุนที่วิเคราะห์ได้ต่อครั้งผ่าตัดเฉลี่ย 15,151 บาท แต่อัตราที่เรียกเก็บจากผู้ป่วย 12,000 บาท โดยในจำนวนนี้มีสัดส่วนประเภทต้นทุนเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ต้นทุนค่าวัสดุ 7,937 บาท (คิดเป็นร้อยละ 52.39) ต้นทุนการพัฒนา 3,030 บาท (ร้อยละ 20) ต้นทุนค่าเสื่อมราคา 2,164 บาท (ร้อยละ 14.28) และต้นทุนบริหารจัดการ 2,020 บาท (ร้อยละ 13.33) เมื่อแจกแจงต้นทุนค่าหัตถการฯ ต่อครั้งผ่าตัดตามกระบวนการพยาบาล พบว่า สัดส่วนต้นทุนกระบวนการผ่าตัดมีต้นทุนสูงสุด 14,021 บาท (ร้อยละ 92.5) รองลงไปคือกระบวนการเสร็จสิ้นการผ่าตัด 672 บาท (ร้อยละ 4.4) และกระบวนการเตรียมการก่อนลงมือผ่าตัดมีต้นทุนเท่ากับ 458 บาท (ร้อยละ 3.0)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. WHO guidelines for safe surgery Creating an environment for emotional and social wellbeing. (2003). Switzerland; 2009.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,กรมกิจการผู้สูงอายุ. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง; 2562.

Charoenchonvanich, K. Osteoarthritis of the knee. In K. Charoenchonvanich, (Ed.), Reconstructive surgery of the osteoarthritic knee; 2016.

คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. หลักเกณฑ์และอัตราค่าธรรมเนียมผู้ตรวจรักษาและเจ้าหน้าที่ในคลินิกพิเศษวชิรพยาบาล พ.ศ.2561; 2561. 24 พ.ค.

Kaplan, R. S, Cooper, R. Cost and effect: Using integrated cost system to drive profitability and performance. Boston: Harvard Business school press; 1998.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. เศรษฐศาสตร์สุขภาพสำหรับการจัดบริการสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ชานเมืองการพิมพ์; 2557

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการศึกษาต้นทุนสถานบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.สืบค้นจาก http://hfo54.cfo.in.th/uploads/คู่มือต้นทุน.pdf สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ กลุ่มงานมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ. (2557). แนวทางการคำนวณต้นทุนผลผลิตของงานบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557.กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ; 2554.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. ระบบบริหารต้นทุนกิจกรรม. กรุงเทพมหานคร: ไอโอนิค; 2544.ระบบการบริหารต้นทุนกิจกรรม. กรุงเทพฯ: โอนิค; 2544.

บุญพจน์ ตันสกุล. การศึกษาต้นทุนและอัตราค่าบริการกรณีศึกษาอัตราค่าบริการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารวิทยาการจัดการ สงขลานครินทร์. ม.ค.-มิ.ย. 2550; 24 (1): 45-60.

คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. รายงานสถิติระบบห้องผ่าตัด. จากระบบ ePHIS ของโรงพยาบาล; สืบค้น 10 มี.ค. 2562.

ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการแพทย์รูปแบบพิเศษ และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้น หรือลดหย่อนค่าบริการพ.ศ.2563. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 139 ง, หน้า 124-129.

สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด. กรุงเทพมหานคร : กรุงเทพ เวชสาร; 2554.

คิดชนก อนุชาญ. วิจัยการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมพยาบาลโรงพยาบาลหาดใหญ่ (วิทยานิพนธ์) ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.

สุพัตรา ฉาไธสง, มุกดา หนุ่ยศรี, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นความถี่สูงในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ : Cost Analysis of the Phacoemulsification of Intraocular Lens Implantation Activities in Buriram Hospital. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

ภาคภูมิ ใจชมพู, ปริดา จิ๋วปัญญา. ศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมในกระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เพื่อหาแนวทางในการกำหนดราคากลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกษตรผ่านศึก ตำบลตลุกกลางทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 2564; 38(2):107-118.