ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดต่อการลดความปวด ของมารดาหลังคลอดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความปวด ปริมาณการใช้ยากลุ่มโอปิออยด์ เวลาครั้งแรกที่เริ่มขยับตัวหลังผ่าตัดของมารดาหลังได้รับการผ่าตัดคลอดระหว่างที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความปวด และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอด ที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลฝางจังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) โปรแกรมการจัดการความปวด 2) แบบประเมินความปวดหลังผ่าตัดคลอด 3) แบบบันทึกปริมาณการใช้ยาลดปวดของมารดาหลังผ่าตัดคลอด และ 4) แบบบันทึกเวลาครั้งแรกที่เริ่มขยับตัวหลังผ่าตัดคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ linear mixed-effects model
ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยความปวดโดยรวมตลอดช่วงเวลาที่ติดตามอาการตั้งแต่ที่ 4 ถึง 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 0.64 คะแนน (95%CI:-1.58, 0.30) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.180) ปริมาณการใช้ยาลดปวดของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) กลุ่มทดลองมีระยะเวลาการเคลื่อนไหวครั้งแรก
น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ดังนั้น โปรแกรมการจัดการความปวดสามารถช่วยลดปริมาณการใช้ยาลดปวดของมารดาหลังผ่าตัดคลอด และช่วยให้มารดาหลังผ่าตัดคลอด
เริ่มเดินข้างเตียงได้เร็วกว่ามารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ไม่ได้รับโปรแกรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาลถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวชิรสารการพยาบาล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวชิรสารการพยาบาล หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวชิรสารการพยาบาลก่อนเท่านั้น
References
กรมอนามัย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [วันที่อ้างถึง 14 ธันวาคม 2566]: ที่มา https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/cesareansection/index?year=2023
วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย. แนวโน้มการผ่าคลอดในไทยเพิ่มสูง: ถึงเวลาต้องพูดคุยอย่างจริงจังแล้วหรือไม่?. Policy Brief. 2565; 10:139.
World Health Organization. WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage. [Internet]. 2021[cited 2023 Oct 20 ]. Available from: https://www.eatright.org/
Songthamwat M, Norsuwan S, Napamadh P, Songthamwat S. Factors associated with post-cesarean pain. Clin Acad. 2019;43(5):163–70.
Benton M, Salter A, Tape N, Wilkinson C, Turnbull D. Women's psychosocial outcomes following an emergency caesarean section: A systematic literature review. BMC Pregnancy Childbirth. 2019 ;19(1):535.
สุพรรษา จิตรสม, บานเย็น แสนเรียน, พรผกาย์ ต้นทอง. การจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(3): 868-81.
ณัฏยา อ่อนผิว, วาทินี ชุณหปราณ, เจนจิรา คัณทักษ์. การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ทารกป่วย: บทบาทสำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2564;8(2):93-109.
Hussen I, Worku M, Geleta D, Mahamed AA, Abebe M, Molla W, et al. Post-operative pain and associated factors after cesarean section at Hawassa University Comprehensive Specialized Hospital, Hawassa, Ethiopia: A cross-sectional study. Ann Med Surg (Lond). 2022;81:104321.
Chan JJI, Thong SY, Tan MGE. Factors affecting postoperative pain and delay in discharge from the post-anaesthesia care unit: A descriptive correlational study. Proceedings of Singapore Healthcare. 2018;27(2):118-24.
ศศินาภรณ์ โลหิตไทย, บุญยิ่ง ทองคุปต์. ผลของรูปแบบผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวดแผลผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562;27(1):23–32.
Thienthong S, Niruthisard S, Ittichaikulthon W, Tontisirin N, Tungwiwat S, Nimmaanrat S, et al. Clinical Guidance for Acute Postoperative Pain Management 2019 The Royal College of Anesthesiologists of Thailand (RCAT) and The Thai Association for the Study of Pain (TASP) : Second Edition. Thai J Anesthesiol. 2020; 46(1): 47-80.
เกศริน อินธิยศ, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, เกศศิริ วงษ์คงคำ, ชินา โอฬารรัตนพันธ์. ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดด้วยการประคบเย็นร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องต่อระดับความปวดและการเคลื่อนไหวร่างกายหลังผ่าตัดในผู้ป่วยในนิเวศที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง. วารสารสภาการพยาบาล. 2564;36(3):83-102.
พจนี วงศ์ศิริ, ศุภดีวัน พิทักษ์แทน. ผลการใช้โปรแกรมการจัดการความปวดต่อการลดความปวดความวิตกกังวล และความพึงพอใจในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดบุตรที่ได้รับการระงับความรู้สึกชนิดดมยาสลบ ห้องพักฟื้น โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2562 ;33(3): 441-60
เพ็ญศรี เรื่องศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการลดความปวดในสตรีผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564; 8(9):144-59.
Sharma, K., Kumar, R. Study to Assess the Effectiveness of Foot and Hand Massage on Reducing Pain among Post Natal Mothers Who Had Undergone Caesarean Section. International Journal of Nursing Education. 2019;11(1):79-84.
นพรัตน์ ธาระณะ. การส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด. พยาบาลสาร. 2564; 48(4):325-35.
นูรีฮา ฤทธิ์หมุน, อัญชลี อินทสร. ผลการจัดท่าให้นมบุตรต่อระดับความปวดแผลผ่าตัดและประสิทธิภาพการให้นมของมารดาหลังผ่าท้องทำคลอด .วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2555;32(3):37-49.
ทิพาวรรณ คำห้าง, สุนิสา ปัทมาภรณ์พงศ์, สิริรธร สงวนเจียม. การจัดท่าให้นมบุตรเพื่อลดระดับความปวดแผลผ่าตัด และเพิ่มประสิทธิภาพการให้นมของมารดาหลังผ่าท้องทำคลอด. Journal of the Phare Hospital. 2565;23(2):38-46.
สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี. การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพ: วี อินดี้ ดีไซน์; 2561.
จำเนียร คงประพันธ์, พัชรพรรณ เหมืองหม้อ, ขจรศรี ซ้อนมณี. ผลของสมาธิบำบัดแบบ SKT 1, 8 ต่อระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดมดลูก/รังไข่ หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2566; 31(1):87-98.
Singdaeng, T., Sangkomkamhang, U., Sangkomkamhang, T. Using Abdominal Binder for Reducing Postoperative Wound Pain After Cesarean Delivery: A Randomized Controlled Trial. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2020; 28(1): 52-59.
Srirussamee, Y., Wutthibenjarussamee, K., Tangsiriwatthana, T. The Effect of Cold Gel Pack on Pain Reduction in Patients Undergoing Complete Surgical Staging: A Randomized Controlled Trial. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2023; 31(4):293-301.
Muaddi H, Lillie E, Silva S, Cross JL, Ladha K, Choi S, et al. The Effect of Cryotherapy Application on Postoperative Pain: A Systematic Review and Meta-analysis. Ann Surg. 2023;277(2):e257-e65.
Ravindhran B, Rajan S, Balachandran G, Mohan LN. Do Ice Packs Reduce Postoperative Midline Incision Pain, NSAID or Narcotic Use? World J Surg. 2019;43(11):2651-7.
Chumkam A, Pongrojpaw D, Chanthasenanont A, Pattaraarchachai J, Bhamarapravatana K, Suwannarurk K. Cryotherapy Reduced Postoperative Pain in Gynecologic Surgery: A Randomized Controlled Trial. Pain Res Treat. 2019;2019:2405159.
งานสารสนเทศ โรงพยาบาลฝาง. รายงานข้อมูล. HosXp. 2566.
Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E. S., Humphreys, J., et al. Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing. 2001;33(5):668-76.
Couper, M., Tourangeau, R., Conrad, F., et al. Evaluating the effectiveness of visual analog scales: A web experiment. Social Science Computer Review. 2006;24(2):227-45.
ศิริพรรณ ภมรพล. บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการลุกเดินจากเตียงโดยเร็วภายหลังผ่าตัด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2559; 9(2): 14-23.
ธนิกานต์ กฤษณะ, ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล. ผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้อง. วารสารพยาบาล. 2566; 72(4): 21-31.
ทวีศักดิ์ แก้วเปี้ย, อินทิรา ปากันทะ, ธิดารัตน์ คำบุญ. ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวดและการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้องในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บช่องท้อง. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2566; 15(1): 68-81.
สายสมร ศักดาศรี. ผลของโปรแกรมการจัดการอาการปวดของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หอผู้ป่วยนรีเวชโรงพยาบาลน่าน. โรงพยาบาลน่าน. 2565:1-19.
Titler MG, Kleber C, Steelman VJ, Rakel BA, Budreau G, Everett LQ, et al. The IOWA model of evidencebased practice to promote quality care. Crit Care Nurs Clin North Am. 2001; 13:497-509.