ผลของโปรแกรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อทักษะ และพฤติกรรมการตรวจเต้านมในนักศึกษาเพศหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Main Article Content

ฐมาพร เชี่ยวชาญ
อลงกต ประสานศรี
ชิดชัย หาฉวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) โปรแกรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง  โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคของโรเจอร์ส ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ ระยะเวลาวิจัย 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติ paired sample t-test และ Independent t-test


ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) หลังการทดลองกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองดีขึ้น

Article Details

How to Cite
เชี่ยวชาญ ฐ. ., ประสานศรี อ., & หาฉวี ช. (2024). ผลของโปรแกรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อทักษะ และพฤติกรรมการตรวจเต้านมในนักศึกษาเพศหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วชิรสารการพยาบาล, 26(2), 14–27. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/270177
บท
บทความวิจัย

References

World Health. Organization Breast cancer. Cancer. [Internet]. 2024 [cited 2023 Sep 12]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/breast-cancer.

World Health Organization. Cancer. [Internet]. 2023[cited 2023 Oct 12]. Available from: https:// www.who. int/news-room/fa.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.]; ทะเบียนมะเร็งสำหรับโรงพยาบาล พ.ศ. 2563; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://www.nci. go.th /e_book/ hosbased_2563/index.htm.

ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.]; สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร้งเต้านม; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http:// doh.hpc.go. th/data/ bse/BC0_riskFactor.pdf.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย; การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม; 2565[เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// www.chulacancer.net/services-list-page.php?id=514.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย; ประมาณการค่าฉายรังสีในเวลาราชการ สำหรับโรคมะเร็งที่พบบ่อย; 2565[เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://www.chulacancer. net/services-list-page.php?id=514.

มูลนิธิถันยรักษ์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิถันยรักษ์; หลักสูตรมะเร็งเต้านม รู้เร็ว รักษาได้; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttp: //doh.hpc .go.th/data /bse/BC_ curri- culum.pdf.

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิรดา อรรถเมธากุล, ศิวะพร ประยูรเทพ. ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อความรู้ เจตคติและทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2564;13(4): 77-91.

ฐมาพร เชี่ยวชาญ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา; ผลการสำรวจการตรวจเต้านมด้วยตนเองเบื้องต้นใน 1 ปีที่ผ่านมา; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://bsru-my.sharepoint.com /:x:/g/personal /6421802084_o365_bsru_ac_th /Eb8z6DG3d_pIoseKwrm8XpwBxWbI-PuquGoD4EUp9kSysg?e=1AGhx6.

กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. การวิจัย ทฤษฎีและการปฏิบัติ กระบวนทัศน์ทฤษฎีในมุมมองพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.;2564.

สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา; สถิตินักศึกษา; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 27 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จากhttp://regis.nstru.ac.th/.

ศรัญญา งามนิมิต, ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์, อนามัย นาอุดม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อทักษะการตรวจเต้านมและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2564; 49(1): 148-159.

วัชรีวงค์ หวังมั่น, ดวงกมล ปนเฉลียว, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดสุรินทร์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดสุรินทร์. 2564; 11(1): 1-14.