ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อำเภอเสิงสาง

Main Article Content

เกตุธิดา พลดงนอก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนสังกัด (สพฐ.) อำเภอเสิงสาง ก่อน-หลังได้รับโปรแกรม และระยะติดตาม จำนวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง มีเกณฑ์การคัดเข้า คือ 1) เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีอายุ 12-15 ปี  2) มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วน (+2 S.D. ถึง ≥+3 S.D.) เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมกิจกรรมทางกาย ผ่านการทดสอบ ความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค ได้เท่ากับ 0.85 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การทำกิจกรรมทางกาย สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพบว่า ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามมีภาวะโภชนาการดีขึ้นจากก่อนการทดลองดังนี้ ภาวะโภชนาการในระดับเริ่มอ้วนดีขึ้นจากเดิมร้อยละ 33.33 ภาวะโภชนาการในระดับอ้วนดีขึ้นจากเดิมร้อยละ 45.83


ผลการวิจัยนี้จะเห็นได้ว่า โปรแกรมการปรับเปลี่ยนของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเริ่มอ้วนส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
พลดงนอก เ. (2024). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อำเภอเสิงสาง. วชิรสารการพยาบาล, 26(2), 176–191. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/271830
บท
บทความวิชาการ

References

International Obesity Task Force. A simple guide to classifying body mass index in children. 2014.(Cited 2024 Oct 20). Available from:http://www.noo.org.uk/ uploads/doc/.

รายงานประจำเดือน โรงพยาบาลเสิงสาง อำเภอเสิงสาง ประจำปีงบประมาณ 2566.

แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562. เข้าถึง 4 พฤศจิกายน 2567. จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/09/strategyMOPH2019.pdf.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2557.เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2560.จาก: www.rcost.or.th.

Gibson, C.H. A Study of empowerment in mothers of chronically ill children. Unpublished doctoral dissertation. Boston. Boston Collage ; 1995.

จิราภา แย้มแสง, อารีย์ พุ่มประไวทย์, อติญาณ์ ศรเกษตริน. ผลของการใช้โปรแกรมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับพฤติกรรม การออกกำลังกายและการบริโภคอาหารของเด็ก นักเรียนที่มีภาวะอ้วนในจังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2558;2(2):41-52.

สมจิตร์ นคราพานิช. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกายและภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2555;26(1):32-50.

Bloom, Benjamin S, Hastings, J. Thomas & Madaus, George F. Handbook on Formative and summative evaluation of student learning: Newyork. McGrew-Hill. 1971.

Bloom, B.S. Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw-Hill; 1970.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการคัดกรองส่งต่อและแก้ปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษาและคลินิก DPAC.กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การ. 2558.

เพชรลดา สีขาว, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมควบคุมน้ำหนักของนักเรียนหญิงที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557;27(1),110-119.

ศศิธร ตันติเอกรัตน์, วนลดา ทองใบ, นิตยา ตากวิริยนันท์. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันโรคอ้วนต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารและพฤติกรรม การทำกิจกรรมทางกายของเด็กนักเรียน ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 2557;31(3),47-61.