ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่

Main Article Content

บุญจิ้ม ไชยศรียา

บทคัดย่อ

บทนำ: ความผูกพันต่อองค์การ เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งของสมาชิก การศึกษาความผูกพันต่อองค์การจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อหาปัจจัยที่จะนำไปสร้างความผูกพันของเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิผล องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่วางไว้


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ และเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไป ความคิด เห็นต่อลักษณะงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่


วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว รวมทั้งสิ้น 2,621 คน กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของ Yamane ได้ 347 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วย T-test และ F-test


ผลการศึกษา: พบว่า ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.19 (S.D.=.372) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไป ปัจจัยความคิดเห็นต่อลักษณะงาน และปัจจัยความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า ช่วงวัย สถานภาพ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นต่อลักษณะงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน ความผูกพันต่อองค์การ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) ส่วนเพศ ระดับการศึกษาประเภทเจ้าหน้าที่ ตำแหน่งงาน และรายได้ต่อเดือนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ


สรุป: ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแตกต่างกันตามช่วงวัย สถานภาพระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นต่อลักษณะงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิชาการ

References

สมจิตร จันทร์เพ็ญ. ศึกษาความผูกพัน ต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) [การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2557.

พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ, จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์, ไชยนันท์ ปัญญาศิริ. ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ: ความหมาย ทฤษฎี วิธีวิจัย การวัดและงานวิจัย. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม; 2552.

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper International Edition; 1973.

เพ็ญนภา วงศ์นิติกร, อมร ถุงสุวรรณ. ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2559;12:97-112.

เรือนขวัญ อยู่สบาย, กีรติกร บุญส่ง. การศึกษาเปรียบเทียบระดับความผูกพันของพนักงานตามเกณฑ์ช่วงอายุ กรณีศึกษา กลุ่มบริษัทธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ ABC. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 2560;9:121-34.

ยุพา กิจส่งเสริมกุล, ดวงใจ ชนะสิทธิ์. ความผูกพันต่อองค์การของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2561;10:321-37.