ผลของการประยุกต์ใช้แนวทางการจัดการความกลัว ต่อความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ในเด็กวัยก่อนเรียน

Main Article Content

พนิต พงศ์พิพัฒนพันธุ์

บทคัดย่อ

บทนำ: ความกลัวของเด็กวัยก่อนเรียนเกิดจากจินตนาการ ซึ่งเด็กยังมีการรับรู้ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่มีความคิดเป็นรูปธรรม เมื่อเด็กต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล และต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ จะทำให้เด็กเกิดความกลัว ต่อต้าน และไม่ให้ความร่วมมือ


วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการประยุกต์ใช้แนวทางการจัดการความกลัวต่อความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในเด็กวัยก่อนเรียน


วิธีการศึกษา: เป็นวิจัยเชิงทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มโดยการสุ่ม วัดหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 3 - 6 ปี ที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม รพ.พัทลุง จำนวน 66 ราย ใช้การสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก เข้ากลุ่มทดลอง 33 ราย ดูแลโดยใช้แนวทางการจัดการความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและสื่อการ์ตูนเอนิเมชั่น กลุ่มควบคุม 33 ราย ได้รับบริการตามมาตรฐานปกติ สังเกตพฤติกรรมความกลัวและพฤติกรรมความร่วมมือในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ยู 


ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (26.39, IQR=10 vs 40.61, IQR=20.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมความร่วมมือมากกว่ากลุ่มควบคุม (42.14, IQR=6 vs 24.86, IQR=7) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)


สรุป: แนวทางการจัดการความกลัวในการศึกษาครั้งนี้ ส่งผลให้เด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ มีความกลัวลดลง ส่งเสริมความร่วมมือ และสร้างประสบการณ์ที่ดีด้านการพยาบาล

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิชาการ

References

Gullone E, King NJ. Psychometric evaluation of a revised fear survey schedule for children and adolescents. Journal of Child Psychology and Psychiatry. 1992;33(6):987-98.

Piaget J. The child and reality: problems of genetic psychology. NY: Crossman Publishers; 1973.

Hurlock EB. Child development. 6thed. Auckland: McGraw Hill; 1978.

กนกจันทร์ เขม้นการ. หัตถการแทงน้ำเกลือผู้ป่วยเด็ก: กลยุทธ์การพยาบาลสู่ความสำเร็จ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2555; 35(2):131–9.

อลิษา ทรัพย์สังข์, เสน่ห์ ขุนแก้ว, มณฑา อุดมเลิศ. การจัดการกับความกลัวความเจ็บปวดจากการแทงเข็มในเด็ก : ปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเด็ก. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18(พิเศษ):25-31.

พนม เกตุมาน. การส่งเสริมสุขภาพจิตใจ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.; 2550.

สมสมร เรืองวรบูรณ์, สุชาดา ปราบมีชัย. ผลของการแสดงบทบาทสมมุติตุ๊กตาประดิษฐ์ต่อความกลัวของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559;25(3):144–54.

กัญญาวีร์ เกิดมงคล, วราภรณ์ ชัยวัฒน์. ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม - ปรนัยร่วมกับการมีส่วนร่วมของมารดาต่อความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน.วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559;28(2):25-34.

ทัศนีย์ ไทยนิรันประเสริฐ, สมพร สุนทราภา, ศศิธร จันทรทิณ, ฤดีมาศ อัยวรรณ. ผลของการใช้หนังสือการ์ตูนต่อความกลัวการได้รับยาพ่นแบบฝอยละอองใน

ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2560;35(3):14–24.

Ball JW, Bindler RC. Pediatric nursing caring for children. 3rded. New Jersey: Pearson education; 2003.

จิตสิริ รุ่นใหม่, ดวงกมล มงคลศิลป์, กัญญาวีร์ เกิดมงคล, สุวพรรณ ตันประภา. ผลของการใช้เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจร่วมกับการจัดสภาพแวดล้อมต่อความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2561;5(2):55–68.

เติมสุข รักษ์ศรีทอง, วราภรณ์ ชัยวัฒน์. ผลการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวดและการพยาบาลแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่อความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559;28(1):67-78.

Bernard R. Fundamental of biostatistics. 5thed. Duxbery: Thomson learning; 2000.

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. การส่งเสริมพัฒนาการเด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วารสาร มฉก. วิชาการ. 2557;17(1):155-67.

Carr TD, Lemanek KL, Armstrong FD. Pain and fear rating: clinical and implications of age and gender differences. Journal of Pain and symptom management 1998;15(5):305-13.

เสกสรร มาตวังแสง, สิริมา ภิญโญ อนันตพงษ์, บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์, ราชันย์ บุญธิมา. การศึกษารูปแบบ การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเด็กปฐมวัย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5(1):55–76.