ยุทธศาสตร์สังคมสูงวัยของไทย: การจัดตั้งศูนย์สมาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม (ASEAN Centre for Active Ageing and Innovation; ACAI) และนโยบายมุ่งเน้น กระทรวงสาธารณสุขด้านผู้สูงอายุปี พ.ศ. 2565
Abstract
ประเทศไทยและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ก้าว เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความท้าทายต่อการวางแผน ยุทธศาสตร์ด้านการดูแลผู้สูงอายุของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยใน ปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมด และในอีกไม่เกิน 15 ปีข้างหน้าคาด ประมาณว่าประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 28 ของ ประชากรทั้งหมด สำหรับประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญดัง กล่าว และเตรียมการรองรับการเป็นสังคมสูงวัยโดยสร้างมาตรการ ความมั่นคงทางด้านต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง ทางด้านสุขภาพ การดำรงชีวิต และการมีส่วนร่วมในสังคม เพื่อให้ ผู้สูงอายุสูงวัยอย่างมีพลัง นอกจากนี้แล้วการมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่ม ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุ ในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ ด้านเศรษฐกิจและ สังคม ด้านสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย ประเทศไทยจึงส่งเสริมความ ร่วมมือด้านการสูงวัยอย่างมีศักยภาพ (active ageing) ในภูมิภาค อาเซียน จนเป็นที่มาของการจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมี ศักยภาพและนวัตกรรม (ASEAN Centre for Active Ageing and Innovation; ACAI) ในประเทศไทย
References
ASEAN Community: One vision, One identity, One community. Available from https://asean.mfa.go.th 2. ASEAN Association of Thailand. Available from https://www. asean-thailand.org 3. United Nations Ageing. Available from https://www.un.org
World Health Organization, Ageing. Older Population and Health System: A profile of Thailand. Available from https://www.who. int 5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ดัชนี
พฤฒิพลังผู้สูงอายุไทย (Active Ageing Index of Thai Elderly; AAI). 2560. กรุงเทพฯ. สำนักงานสถิติแห่งชาติ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสารกรมการแพทย์