ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 และแนวทางการจัดบริการสุขภาพ

Authors

  • สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์

Abstract

อาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนภายหลังการป่วยเป็นโควิด-19 (Long COVID) เป็นอาการ ที่ผู้ป่วยโควิด-19 มักพบ ภายหลังจากรักษาหายแล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปโดยอาจเป็นอาการ ที่เกิดขึ้นใหม่หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน โดยจะมีอาการภายหลังได้รับเชื้อ 4 ถึง 12 สัปดาห์เนื่องจากระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายเป็นผลให้อวัยวะนั้นๆ ได้รับความเสียหาย ข้อมูลจากการทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของ Lopez-Leon และ คณะ (2021)1 พบว่าผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 จำนวน 47,910 ราย ส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อย/อ่อนเพลีย คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาคือ ปวดศีรษะ ความจำ/สมาธิสั้น ผมร่วง และหายใจลำบากคิดเป็นร้อยละ 44, 27, 25 และ 24 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยร้อยละ 80 จะมีอาการที่เกิดภายหลังจากป่วยเป็นโควิด-19 อย่างน้อย 1 อาการ และมีรายงานการศึกษาในต่างประเทศพบว่า 2  ผู้ป่วยโควิดจะมีอาการของ Long COVID ได้ถึง 7 เดือน โดยเฉพาะอาการ ทั้ง ระบบ (systemic) และอาการทางระบบประสาท (neurological) หรือการรับรู้ (cognitive) โดยอาการ ที่เกิดขึ้นมักจะไม่หายเป็นปกติ เหมือนก่อนที่จะป่วย

References

Lopez-Leon S, et al. More than 50 long-term effects of COVID-1 9 : a systematic review and meta-analysis. Sci Rep. 2021.

Davis HE, Assaf GS, McCorkell L, et al. Characterizing Long COVID in an international cohort: 7 months of symptoms and their impact. EClinicalMedicine 2021;38:101019

Downloads

Published

29-06-2022

How to Cite

1.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ สก. ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 และแนวทางการจัดบริการสุขภาพ. J DMS [Internet]. 2022 Jun. 29 [cited 2024 Nov. 18];47(2):5-8. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/258247

Issue

Section

Featured Article