รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ของกรมการแพทย์ รางวัลแห่งเกียรติยศ รางวัลแห่งความมุ่งมั่นศรัทธา รางวัลแห่งเรา
Abstract
หากจะพูดถึงกรมการแพทย์ด้วยคำสั้น ๆ สักคำ จากผลงานทั้งทางด้านบริการและวิชาการที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 81 ปี คงไม่มีอะไรที่จะเหมาะสมกว่าคำว่ากรมการแพทย์เป็นกรมที่ “ดี” ซึ่งเหล่าบุคลากรทั้งหมด คงไม่มีผู้ใดเห็นแย้งแตกต่างเป็นแน่แท้ แต่คำว่า “ดี” นั้น ช่างเป็นคำที่พูดง่ายแต่ตัดสินยากนัก เพราะหากเราจะยกนิ้วชี้มาที่องค์การของตัวแล้วกล่าวว่าเป็นองค์การดี ก็ดูจะไร้หลักการ ไร้เหตุผล และที่สำคัญคือ ไร้ความเชื่อถือจากบุคคลภายนอก ดังนั้น กรมการแพทย์จึงได้ดำเนินการสมัครรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงาน ก.พ.ร อันเป็นรางวัลที่มอบให้กับหน่วยงานภาครัฐที่ดำเนินการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่อง และมีผลดำเนินการปรับปรุงองค์การตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐอย่างโดดเด่น ซึ่งได้มาด้วยความเพียรพยายาม ความอดทน หลอมรวมกับความตั้งใจจริงของทุกคนในองค์การ เพื่อนำพาองค์การให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ
กล่าวกันว่า ทางเดินพันลี้ที่ยากที่สุด คือ ก้าวแรก ความสำเร็จของกรมการแพทย์ก็เช่นเดียวกัน จากผลแห่งความมานะของทุกภาคส่วน ในเส้นทางแห่งความสำเร็จและเกียรติยศนี้ ได้ปรากฏรอยเท้าของกรมการแพทย์ที่เริ่มย่างก้าวในปี 2556 เมื่อกรมการแพทย์ได้รับการรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานฉบับแรก และตามมาด้วยฉบับที่สอง ในปี 2559 เมื่อได้รับรองคุณภาพระดับพื้นฐานดังกล่าว เป็นประกาศให้เห็นอย่างแน่ชัดยิ่งกว่าคำพูดใดทั้งมวล ว่าบัดนี้ กรมการแพทย์พร้อมแล้วที่จะก้าวไปคว้ารางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐทั้ง 6 หมวดอันเป็นธงชัยของการดำเนินการทั้งปวง
แม้การส่งผลงานในปี 2559 และปี 2562 จะทำได้เพียงเข้ารอบการตรวจประเมินรางวัลเท่านั้น แต่กรมการแพทย์จะย่อท้อก็หาไม่ กลับนำความล้มเหลวมาเป็นบทเรียน แปรเปลี่ยนเป็นพลังกายพลังใจ และได้พยายามสมัครรางวัลอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2563 ความสำเร็จแรกก็ปรากฏ เมื่อกรมการแพทย์ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐพร้อมกันถึง 2 หมวด คือหมวด 1 ด้านการนำองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม และหมวด 6 ด้านกระบวนการคุณภาพและนวัตกรรม
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2023 Department of Medical Services, Ministry of Public Health
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสารกรมการแพทย์