ผลของโปรแกรมการดูแลข้อสะโพกเคลื่อนในเด็กสมองพิการ ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
คำสำคัญ:
สมองพิการ, ข้อสะโพกเคลื่อน, ข้อสะโพกหลุด, การคัดกรองข้อสะโพกบทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ข้อสะโพกเคลื่อนพบได้บ่อยในเด็กสมองพิการนำไปสู่ข้อสะโพกหลุด ทำให้มีอาการเจ็บปวด กระดูกสันหลังคดขัดขวางการเคลื่อนไหวและการทำกิจวัตรประจำวัน การคัดกรองโดยการเอกซเรย์ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกลดโอกาสเกิดข้อสะโพกหลุด ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้นำแนวทางการปฏิบัติการดูแลข้อสะโพกเคลื่อนในเด็กสมองพิการมาใช้ในปี 2559 ประกอบด้วยโปรแกรมการป้องกันและโปรแกรมการผ่าตัด การศึกษานี้ต้องการทราบผลลัพธ์ของโปรแกรมการป้องกัน วัตถุประสงค์: ศึกษาอัตราผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองข้อสะโพกก่อนอายุ 2 ปี และผลของโปรแกรมป้องกันในการคงข้อสะโพกไม่ให้เคลื่อนเกิน 40% วิธีการ: เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยสมองพิการที่ได้รับการเอกซเรย์ข้อสะโพกครั้งแรกในช่วงปี 2558 ถึง 2562 และติดตามทุก 6 เดือนหรือ 1 ปีจนครบ 4 ปีหรืออายุเกิน 6 ปี โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม 2563 ถึงเมษายน 2564 ผล: ผู้ป่วยสมองพิการได้รับการคัดกรองข้อสะโพกเคลื่อนจำนวน 128 ราย หลังนำแนวทางปฏิบัติมาใช้ ร้อยละผู้ป่วยสมองพิการที่ได้รับการคัดกรองครั้งแรกก่อนอายุ 2 ปีมากขึ้น จากร้อยละ 66.67 เป็นเฉลี่ยร้อยละ 74.08 อายุที่ได้เอกซเรย์ครั้งแรกเฉลี่ยลดลงจาก 4.83 ปี เป็น 3.06 ปี เมื่อติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบป้องกัน ผู้ป่วยร้อยละ 84.75 ยังคงมีข้อสะโพกเคลื่อนMP ไม่เกิน 40% ในระยะเวลาเฉลี่ย 1.89 ปี ท่าสะโพกขณะงอเข่า90 องศา มีความสัมพันธ์กับค่า migration percentage (MP) ที่เพิ่มมากจนเกิน 40% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: หลังจากนำโปรแกรมการดูแลข้อสะโพกในเด็กสมองพิการมาใช้ ร้อยละผู้ป่วยได้รับการเอกซเรย์คัดกรองก่อนอายุ 2 ปีเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยที่ติดตามส่วนใหญ่ยังคงมีข้อสะโพก MP ไม่เกิน 40%
References
Lins LAB, Watkins CJ, Shore BJ. Natural History of Spastic HipDisease. J Pediatr Orthop. 2019; 39:S33-S37.
Huser A, Mo M, Hosseinzadeh P. Hip Surveillance in Childrenwith Cerebral Palsy. Orthop Clin North Am. 2018; 49:181-190.
Reimers J. The stability of the hip in children. A radiologicalstudy of the results of muscle surgery in cerebral palsy. ActaOrthop Scand Suppl. 1980; 184:1-100.
Terjesen T. The natural history of hip development in cerebralpalsy. Dev Med Child Neurol. 2012;54:951-7.
Soo B, Howard JJ, Boyd RN, Reid SM, Lanigan A, Wolfe R, et al.Hip displacement in cerebral palsy. J Bone Joint Surg Am. 2006;88:121-9.
Hägglund G, Lauge-Pedersen H, Wagner P. Characteristicsof children with hip displacement in cerebral palsy. BMCMusculoskelet Disord. 2007; 8:101.
Wynter M, Gibson N, Willoughby KL, Love S, Kentish M,Thomason P, et al. Australian hip surveillance guidelines forchildren with cerebral palsy: 5-year review. Dev Med ChildNeurol. 2015; 57:808-20.
Pruszczynski B, Sees J, Miller F. Risk factors for hip displacementin children with cerebral palsy: systematic review. J PediatrOrthop 2016; 36: 829–33.
Marcström A, Hägglund G, Alriksson-Schmidt AI. Hip pain inchildren with cerebral palsy: a population-based registry studyof risk factors. BMC Musculoskelet Disord. 2019; 20:62.
Shrader MW, Wimberly L, Thompson R. Hip surveillance inchildren with cerebral palsy. J Am Acad Orthop Surg. 2019;27:760-768.
Kentish M, Wynter M, Snape N, Boyd R. Five-year outcome ofstate-wide hip surveillance of children and adolescents withcerebral palsy. J Pediatr Rehabil Med. 2011; 4:205-17.
Hägglund G, Andersson S, Düppe H, Lauge-Pedersen H, Nordmark E,Westbom L. Prevention of dislocation of the hip in childrenwith cerebral palsy. The frst ten years of a population-basedprevention programme. J Bone Joint Surg Br. 2005; 87:95-101.
Hermanson M, Hägglund G, Riad J, Rodby-Bousquet E, Wagner P.Prediction of hip displacement in children with cerebralpalsy: development of the CPUP hip score. Bone Joint J. 2015;97:1441-4.
Parkes J, Hill N, Platt MJ, Donnelly C. Oromotor dysfunction andcommunication impairments in children with cerebral palsy: aregister study. Dev Med Child Neurol. 2010; 52:1113-9.
Connelly A, Flett P, Graham HK, Oates J. Hip surveillance inTasmanian children with cerebral palsy. J Paediatr Child Health.2009; 45:437-43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสารกรมการแพทย์