ประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับการฟื้นฟูด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง: การศึกษาเชิงคุณภาพ
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, เทคโนโลยีเสมือนจริง, ฟื้นฟูสมรรถภาพบทคัดย่อ
ภูมิหลัง: โรคหลอดเลอดสมองเป็นโรคสำคัญทำให้เกิดความพิการที่ควรได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นการศึกษาประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับการฟื้นฟูด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ วิธีการ: เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด 10 ราย หลังจากได้รับการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของแขนและมือด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงตลอดเวลาเวลา 3 สัปดาห์ที่งานกิจกรรมบำบัดโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผล: พบประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) ทัศนคติต่อการนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาประยุกต์กับการฟื้นฟูสมรรถภาพ พบว่าการฟื้นฟูด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวแขนและมือข้างอ่อนแรงได้ดีมากขึ้น ผู้ป่วยมีความสนใจในการฟื้นฟูและทำกิจกรรมได้นานขึ้นเนื่องจากเกมมีสีสันภาพเคลื่อนไหวและดนตรีประกอบที่น่าสนใจ 2) เทคโนโลยเสมือนจริงส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น ได้แก่ การรับประทานอาหาร การใส่เสื้อ อาบน้ำ เป็นต้น 3) เทคโนโลยีเสมือนจริงกับการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ผู้ป่วยมีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหวและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เอื้ออำนวย กิจกรรมที่ทำจึงเป็นกิจกรรมภายในบ้าน เช่น การเตรียมอาหาร การทำกิจกรรมยามว่าง ความเหมาะสมในการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในการฟื้นฟูสมรรถภาพ ระยะเวลา 20-30 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ร่วมกับการฝึกกิจกรรมบำบัดแบบดั้งเดิม สรุป: การนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาร่วมเป็นกิจกรรมการรักษา ช่วยเพิ่มแรงจูงใจและความท้าทายต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้เกิดการพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนและมือข้างอ่อนแรงนำไปสู่การทำกิจวัตรประจำวันและการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมผลการศึกษาสามารถนำไปเป็นความรู้พื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยยึดหลักผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
References
Division of Non Communicable Diseases. Department ofDiseases Control. Thenumber and incident rate of stroke patientsin Thailand on 2016-2018. [internet] 2019. [cited 2020 Sep 30].Available from: http://www.thaincd.com/.
Mercier L, Audet T, Hébert R, Rochette A, Dubois MF. Impact ofmotor, cognitive, and perceptual disorders on ability to performactivities of daily living after stroke. Stroke. 2001; 32:2602-8.
Laver K, George S, Thomas S, Deutsch JE, Crotty M. Cochranereview: virtual reality for stroke rehabilitation. Eur J Phys RehabilMed. 2012; 48:523-30.
Laver KE, George S, Thomas S, Deutsch JE, Crotty M. Virtualreality for stroke rehabilitation. Cochrane Database Syst Rev.2015; 2015.
Aran OT, Şahin S, Torpil B, Demirok T, Kayıhan H. Virtual Realityand Occupational Therapy. In: Huri M,editor. OccupationalTherapy Occupation Focused Holistic in Rehabilitation.Zagreb[Croatia}:Intech; 2017.181-93.
Chen L, Lo WL, Mao YR, Ding MH, Lin Q, Li H, et al. Effect ofVirtual Reality on Postural and Balance Control in Patients withStroke: A Systematic Literature Review. Biomed Res Int. 2016;2016:7309272.
Aramaki AL, Sampaio RF, Cavalcanti A, Dutra FCMSE. Use ofclient-centered virtual reality in rehabilitation after stroke: afeasibility study. Arq Neuropsiquiatr. 2019; 77:622-31.
Fager SK, Burnfeld JM. Patients’ experiences with technologyduring inpatient rehabilitation: opportunities to supportindependence and therapeutic engagement. Disabil RehabilAssist Technol. 2014; 9:121-7.
Kaunnil A, Ritthipravat P, Thongchoomsin S, Thichanpiang P,Sansri V. Hemiplegic Clients’ Experiences after the VirtualReality (Gyro Roller) Rehabilitation on Activities of Daily Living:Qualitative Study.Journal of the Department of Medical Services.2018; 43:87-93.
Ji EK, Lee SH. Effects of virtual reality training with modifedconstraint-induced movement therapy on upper extremityfunction in acute stage stroke: a preliminary study. J Phys TherSci. 2016; 28:3168-72.
Ahn S, Hwang S. Virtual rehabilitation of upper extremity functionand independence for stoke: a meta-analysis. J Exerc Rehabil.2019; 15:358-69.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสารกรมการแพทย์