ประสิทธิผลของการเสริมอาหารเสริมน้ำมันปลาต่อการลดระดับไฮเซนซิติวิตี ซี-รีแอคทีฟโปรตีนในเลือดในผู้ที่ได้รับยาลดไขมันซิมวาสแตติน

ผู้แต่ง

  • วีรารัตน์ เหมือนพลอย สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • วิทูร จุลรัตนาภรณ์ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

ซี-รีแอคทีฟโปรตีน, อาหารเสริมน้ำมันปลา, ผู้ที่ได้รับยาลดไขมันซิมวาสแตติน

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของประชากรโลก กลไกการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรคระยะลุกลาม ไปจนถึงระยะที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการอุดตันของลิ่มเลือด ยาลดไขมันในกลุ่ม Statins และอาหารเสริมน้ำมันปลาเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่ามีประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดจากหลายกลไก หนึ่งในนั้นคือคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเสริมอาหารเสริมน้ำมันปลาเพื่อการลดระดับค่าบ่งชี้การอักเสบไฮเซนซิติวิตี ซี-รีแอคทีฟโปรตีน (hs-CRP) ในเลือดในผู้ที่รับประทานยาลดไขมัน simvastatin วิธีการ: การศึกษานี้ได้คัดเลือกอาสาสมัครเพศชาย อายุ 35-55 ปี ที่ได้รับยาลดไขมัน simvastatinมาเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มทดลองให้รับประทานอาหารเสริมน้ำมันปลา1,000mg (ประกอบด้วย EPA 460 mg และ DHA 380 mg) ต่อวันและกลุ่มควบคุมให้รับประทานอาหารเสริมหลอก และติดตามประเมินผลค่า hs-CRP ก่อนและหลังการทดลองที่ 4สัปดาห์ ผล: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับอาหารเสริมน้ำมันปลาเมื่อครบ 4 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยระดับ hs-CRP ในเลือดลดลง 0.05±0.52 mg/L (ลดลง 4.42%) และกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมหลอกมีระดับการเปลี่ยนแปลง hs-CRP เฉลี่ยเพิ่มขึ้น0.29±0.87 mg/L (เพิ่มขึ้น 27.62%) แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.249) สรุป: สรุปผลได้ว่า ระดับค่าบ่งชี้การอักเสบ hs-CRP ในเลือดของผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน simvastatinในการรับประทานอาหารเสริมน้ำมันปลาที่ขนาด 1,000 mg ต่อวัน (ประกอบด้วย EPA 460 mg และ DHA 380 mg) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารเสริมหลอก และไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ ในอาสาสมัครกลุ่มทดลองที่ได้รับอาหารเสริมน้ำมันปลา

References

Frostegård J. Immunity, atherosclerosis and cardiovasculardisease. BMC Med. 2013; 11:117.

Libby P, Ridker PM, Maseri A. Inflammation and atherosclerosis.Circulation. 2002; 105:1135-43.

Rajamani K, Fisher M. An Overview of Atherosclerosis. In: Primeron Cerebrovascular Diseases. 2nd ed. Cambridge: AcademicPress; 2017; 105-8.

Geovanini GR, Libby, P. Atherosclerosis and inflammation:overview and updates. Clin Sci (Lond). 2018; 132:1243-52.

Adukauskienė D, Čiginskienė A, Adukauskaitė A, PentiokinienėD, Šlapikas R, Čeponienė I. Clinical relevance of high sensitivityC-reactive protein in cardiology. Medicina (Kaunas). 2016;52:1-10.

Ridker PM, Glynn RJ, Hennekens CH. C-reactive protein adds tothe predictive value of total and HDL cholesterol in determiningrisk of frst myocardial infarction. Circulation. 1998; 97:2007-11.

Ridker PM. A Test in Context High-Sensitivity C-Reactive Protein.J Am Coll Cardiol. 2016; 67:712-23.

Salazar J, Martínez MS, Chávez M, Toledo A, Añez R, Torres Y, etal. C-reactive protein: clinical and epidemiological perspectives.Cardiol Res Pract. 2014; 2014:605810.

Lavie CJ, Milani RV, Mehra MR, Ventura HO. Omega-3polyunsaturated fatty acids and cardiovascular diseases. J AmColl Cardiol. 2009; 54:585-94.

Chan DC, Watts GF, Barrett PHR, Beilin LJ, Mori TA. Effect ofatorvastatin and fsh oil on plasma high-sensitivity C-reactiveprotein concentrations in individuals with visceral obesity. ClinChem. 2002; 48:877-83.

Fan H, Zhou J, Yuan Z. Meta-Analysis Comparing the Effect ofCombined Omega-3 + Statin Therapy Versus Statin TherapyAlone on Coronary Artery Plaques. Am J Cardiol. 2021; 151:15-24.

Ridker PM, Danielson E, Fonseca FAH, Genest J, Jr Gotto AM,Kastelein JJ, et al. Rosuvastatin to prevent vascular events inmen and women with elevated C-reactive protein. N Engl JMed. 2008; 359:2195-207.

Kones R. Rosuvastatin, inflammation, C-reactive protein, JUPITER,and primary prevention of cardiovascular disease – a perspective.Drug Des Devel Ther. 2010; 4:383-413.

Mach F, Montecucco F. Therapeutic approaches for reducingC-reactive protein (CRP) levels and the associated cardiovascularrisk. Current Chemical Biology. 2009; 3:60-4.

Musial J, Undas A, Gajewski P, Jankowski M, Sydor W, SzczeklikA. Anti-inflammatory effects of simvastatin in subjects withhypercholesterolemia. Int J Cardiol. 2001; 77:247-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022