ความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างวัสดุฐานฟันเทียมยูรีเทนไดเมทาคริเลตจากเครื่องพิมพ์สามมิติกับวัสดุเสริมฐานฟันเทียมชนิดแข็ง

ผู้แต่ง

  • ศรันย์ สัมฤทธิ์ สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์
  • ไพฑูรย์ โรจนรัตน์ สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์
  • สุมนา โพธิ์ศรีทอง สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์

คำสำคัญ:

วัสดุฐานฟันเทียมยูรีเทนไดเมทาคริเลต, วัสดุเสริมฐานฟันเทียมชนิดแข็ง

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: ฟันเทียมยูรีเทนไดเมทาคริเลตจากเครื่องพิมพ์สามมิติมีองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกับวัสดุเสริมฐานฟันเทียมชนิดแข็ง ดังนั้นการซ่อมแซมหรือการเสริมฐานยังเป็นคำถามในการใช้งานทางคลินิก วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างวัสดุฐานฟันเทียมยูรีเทนไดเมทาคริเลตจากเครื่องพิมพ์สามมิติกับวัสดุฐานฟันเทียมพอลีเมทิลเมธาคริเลต ที่ยึดติดกับวัสดุเสริมฐานฟันเทียมชนิดแข็ง วิธีการศึกษา: เตรียมชิ้นงานวัสดุฐานฟันเทียม 4 กลุ่ม ๆ ละ 10 ชิ้นงานจากวัสดุพอลิเมทิลเมทาคริเลตกับยูรีเทนไดเมทาคริเลต ทำการยึดติดด้วยวัสดุเสริมฐานฟันเทียมยูนิฟาสแทรด และโทคุยามา รีเบสทู เข้าเครื่องควบคุมอุณหภูมิร้อน-เย็นเป็นจังหวะที่อุณหภูมิ 5ºC และ 55ºC จำนวน 5,000 รอบ จากนั้นเข้าเครื่องทดสอบสากล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ ด้วยการวิเคระห์ความแปรปรวนสองทางและทดสอบหลังการวิเคราะห์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า .05 (p < .05) ผลการศึกษา: ค่าความแข็งแรงยึดเฉือนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยพอลีเมทิลเมธาคริเลตมีค่าความแข็งแรงยึดเฉือนสูงสุดเมื่อทำการยึดติดกับยูนิฟาส แทรด 16.39 ± 3.22 เมกะปาสคาล รองลงมาโทคุยามา รีเบสทู 7.81 ± 2.63 เมกะปาสคาล และยูรีเทนไดเมทาคริเลตที่ยึดติดกับยูนิฟาส แทรด 4.63 ± 2.13 เมกะปาสคาลตามลำดับ สรุป: ชนิดของฐานฟันเทียมและวัสดุเสริมฐานที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อค่าความแข็งแรงยึดเฉือนที่แตกต่างกัน

References

National Statistical Offce. Situation of The Thai Elderly 2021.National Statistical Offce; 2021.

Janeva NM, Kovacevska G, Elencevski S, Panchevska S, Mijoska A,Lazarevska B. Advantages of CAD/CAM versus ConventionalComplete Dentures - A Review. Open Access Maced J Med Sci.2018; 6:1498-1502.

Inokoshi M, Kanazawa M, Minakuchi S. Evaluation of a completedenture trial method applying rapid prototyping. Dent Mater J.2012;31:40-6.

Ahmad F, Dent M, Yunus N. Shear bond strength of twochemically different denture base polymers to reline materials.J Prosthodont. 2009; 18:596-602.

Minami H, Suzuki S, Minesaki Y, Kurashige H, Tanaka T. In vitroevaluation of the influence of repairing condition of denturebase resin on the bonding of autopolymerizing resins. J ProsthetDent. 2004; 91:164-70.

Vallittu PK, Ruyter IE. Swelling of poly (methyl methacrylate)resin at the repair joint. Int J Prosthodont. 1997; 10:254-8.

Silva Cde S, Machado AL, Chaves Cde A, Pavarina AC, Vergani CE.Effect of thermal cycling on denture base and autopolymerizingreline resins. J Appl Oral Sci. 2013; 21:219-24.

Matsumura H, Tanoue N, Kawasaki K, Atsuta M. Clinicalevaluation of a chemically cured hard denture relining material.J Oral Rehabil. 2001; 28:640-4.

Mutluay MM, Ruyter IE. Evaluation of adhesion of chairside hardrelining materials to denture base polymers. J Prosthet Dent.2005; 94:445-52.

Arima T, Murata H, Hamada T. Analysis of composition andstructure of hard autopolymerizing reline resins. J Oral Rehabil.1996; 23:346-52.

Palitsch A, Hannig M, Ferger P, Balkenhol M. Bonding of acrylicdenture teeth to MMA/PMMA and light-curing denture basematerials: the role of conditioning liquids. J Dent. 2012; 40:210-21.

Li P, Krämer-Fernandez P, Klink A, Xu Y, Spintzyk S. Repairabilityof a 3D printed denture base polymer: Effects of surfacetreatment and artifcial aging on the shear bond strength. J MechBehav Biomed Mater. 2021; 114:104227.

Gale MS, Darvell BW. Thermal cycling procedures for laboratorytesting of dental restorations. J Dent. 1999; 27:89-99.

Morresi AL, D’Amario M, Capogreco M, Gatto R, Marzo G,D’Arcangelo C, et al. Thermal cycling for restorative materials:does a standardized protocol exist in laboratory testing? Aliterature review. J Mech Behav Biomed Mater. 2014; 29:295-308.

Marra J, de Souza RF, Barbosa DB, Pero AC, Compagnoni MA.Evaluation of the bond strength of denture base resins to acrylicresin teeth: effect of thermocycling. J Prosthodont. 2009; 18:438-43.

Andrade de Freitas SL, Brandt WC, Miranda ME, Vitti RP. Effectof Thermocycling, Teeth, and Polymerization Methods on BondStrength Teeth-Denture Base. Int J Dent. 2018; 2018:2374327.

Choi JJE, Uy CE, Plaksina P, Ramani RS, Ganjigatti R, Waddell JN.Bond Strength of Denture Teeth to Heat-Cured, CAD/CAM and3D Printed Denture Acrylics. J Prosthodont. 2020; 29:415-421.18. Aydin AK, Terzioğlu H, Akinay AE, Ulubayram K, Hasirci N. Bondstrength and failure analysis of lining materials to denture resin.Dent Mater. 1999; 15:211-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-03-2023