ปริมาณเลือดและส่วนประกอบของเลือดสำรองที่เหมาะสมในสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 สำหรับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
คำสำคัญ:
ปริมาณเลือดสำรอง, ส่วนประกอบของเลือดที่เหมาะสม, การบริหารจัดการงานธนาคารเลือดบทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ในสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 มีผลกระทบต่องานธนาคารเลือดของสถาบันมะเร็งแห่งชาติเนื่องจากการขาดแคลนเลือดสำหรับใช้กับผู้ป่วยมะเร็งเช่นเดียวกับงานธนาคารเลือดที่อื่น ๆ ด้วยเหตุผลที่มีผู้บริจาคเลือดลงน้อยลง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลการใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือดในสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เพื่อนำมากำหนดปริมาณเลือดสำรองที่เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการใช้จริงของผู้ป่วยในสภาวการณ์วิกฤติขาดแคลนเลือดในช่วงระบาดของโรค COVID-19 สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาการสำรองเลือดของสถาบันมะเร็งแห่งชาติได้อย่างเหมาะสม วิธีการ: เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังการใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือดทุกชนิดในงานธนาคารเลือด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ถึง เดือนธันวาคม 2564 (ระยะเวลา 1 ปี) โดยแยกการใช้ตามหมู่เลือด ABO คำนวณหาค่าเฉลี่ยตามความต้องการในแต่ละวัน แล้วคำนวณหาปริมาณของเลือดและส่วนประกอบของเลือดที่ควรมีสำรองไว้ โดยให้ผลิตภัณฑ์เม็ดเลือดแดงและพลาสมาสดแช่แข็งมีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้ 7 วัน เกล็ดเลือดสำหรับใช้งาน 3 วัน และไครโอปรีซิปิเตทให้มีปริมาณสำหรับใช้งานสูงสุดต่อปี โดยสำรองเลือดสำหรับภาวะฉุกเฉินเพิ่มร้อยละ 10 ผล: พบว่าตลอดทั้งปีมีการใช้ผลิตภัณฑ์เม็ดเลือดแดงเป็นส่วนประกอบหลัก 4,862 ยูนิต พลาสมาสดแช่แข็ง 4,428 ยูนิต เกล็ดเลือด 430 ยูนิตไครโอปรีซิปิเตท 240 ยูนิต และเลือดหมู่ Rh negative 10 ยูนิตนอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณเลือดและส่วนประกอบของเลือดที่ธนาคารเลือดควรมีตลอดเวลาโดยแยกตามหมู่เลือด A, B, O และAB ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เม็ดเลือดแดง 34, 43, 48 และ 20 ยูนิตตามลำดับ พลาสมาสดแช่แข็ง 43, 55, 55 และ 25 ยูนิต ตามลำดับเกล็ดเลือด 8, 7, 7 และ 5 ยูนิต ตามลำดับ ปริมาณไครโอปรีซิปิเตทที่ควรมีตลอดเวลาคือ 50 ยูนิต สรุป: จำนวนของส่วนประกอบของเลือดที่สำรองไว้จากการศึกษาครั้งนี้ มีข้อมูลเหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการของงานธนาคารเลือด สถาบันมะเร็งแห่งชาติให้มีเลือดเพียงพอต่อการใช้ในภาวะปกติ และสถานการณ์วิกฤติได้แก่การเกิดการระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งทำให้เลือดสำรองมีไม่เพียงพอในการใช้ในหน่วยงาน
References
Aiemtago P. Blood management in The National Blood Center,Thai Red Cross Society [Dissertation]. Nakorn Prathom: SilpakornUniversity; 2013.
Chanettemahan U, Kerdkaewngam K. Coronavirus disease 2019(COVID-19) and blood transfusion service. J Hematol TransfusMed 2021; 31:93-101.
Ratchak P. Impact of COVID-19 in blood transfusion service of the6 Andaman provinces. J Hematol Transfus Med 2021; 31:377-83.
Blood reserves were reduced by more than half! Korat Red Crossrushes to request blood donations to help patients during theCovid-19 epidemic. [Internet]. 2022 [cited 2022 May 7]. Availablefrom: https://www.matichon.co.th/region/news_2697127
Lertpaisankul S, Phomsila R, Thipsuwankul W, Phetsree N,Rodwihokand T, Tadsomboon S. Model of blood recruitmentand impact of blood management of the six lower-northernprovinces during the COVID-19 pandemic in 2020. J HematolTransfus Med 2021; 31:35-45.
Invite Thai people to donate blood, 20 percentages through theimpact of Covid-19. [Internet]. 2022 [cited 2022 May 7]. Availablefrom: https://www.thaihealth.or.th/Content/54562-
Rabinowitz M. Blood bank inventory policies: a computersimulation. Health Serv Res. 1973; 8:271-82.
Trakulkaseamsir S. An adequate blood supply for QueenSawangvadhana Memorial Hospital, Thai Red Cross Society.J Assoc Med Sci 2011; 44:99-105.
Daroonchu S, Prawannay S, Duangphoommes N. A model studyof determination of prper blood supply for the National InstituteCancer. Thai Cancer J 2008; 28:64-73.
Permpikul P, Outrakoolpoonsuk K, Jaiyen B, Pisuttiporn S,Chongkolwatana V. Determination of proper blood supply forSiriraj Hospital. J Hematol Transfus Med 2007; 17:115-22.
Sorosalikit W, Jainan S. Study of proper blood supply for PhraeHospital. J of Phrae Hospital 2011; 19:52-63.
Wisetwut P, Laisuphasin P, Duangpummet N, Thompat W.Distribution of ABO blood groups among clients receivingannual checkup at National Cancer Institute. Chest Dis Inst J2015; 13:29-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสารกรมการแพทย์