การเปรียบเทียบการแทงเข็มฟอกเลือดระหว่างวิธี Antegrade และ Retrograde Cannulation ที่เส้นฟอกเลือดชนิด Arteriovenous Fistula ต่อผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับกระบวนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ วิมูลชาติ หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • นันทนา ชปิลเลส หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • บุญรักษา เหล่านภาพร หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • สุไลพร ลังบุบผา หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • จิตรดา ทองดี หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • วีระศักดิ์ อัศววงศ์อารยะ ภาควิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

เส้นฟอกเลือดชนิดหลอดเลือดแดงต่อกับหลอดเลือดดำ, การแทงเข็มฟอกเลือดตามทิศทางการไหลของเลือด, การแทงเข็มฟอกเลือดทวนทิศทางการไหลของเลือด

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: เส้นฟอกเลือดชนิด arteriovenous fistula (AVF) เป็นที่นิยมสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม โดยพบว่าการแทงเข็มฟอกเลือดที่ตำแหน่งใกล้ หลอดเลือดแดงมีวิธีการแทงเข็มฟอกเลือดสองวิธี ได้แก่ การแทงเข็มฟอกเลือดตามทิศทางการไหลของเลือดแดง เข้าสู่หัวใจ (antegrade) และการแทงเข็มฟอกเลือดทวนทิศทางตรงข้าม (retrograde) อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาถึงผลลัพธ์ทางคลินิกของกระบวนการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียมจากวิธีการแทงเข็มฟอกเลือดของทั้งสองวิธี วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบ ผลลัพธ์ทางคลินิกของกระบวนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจากวิธีการแทงเข็มฟอกเลือดแบบ antegrade และแบบ retrograde วิธีการ: การศึกษาใช้รูปแบบการสุ่ม randomized crossover design วิธีการแทงเข็มเส้นฟอกเลือดชนิด (AVF) แบบ antegrade (กลุ่มศึกษา) และ retrograde (กลุ่มควบคุม) โดยผู้ป่วยจะได้รับการสุ่มวิธีการแทงเข็มฟอก เลือดในครั้งแรก จากนั้นเมื่อผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือด ครั้งถัดไปจะใช้วิธีการแทงเข็มฟอกเลือดเป็นอีกวิธีหนึ่ง จากนั้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มดังต่อไปนี้ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ตัวแปรคุณลักษณะของการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม ตัวแปรผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ค่าความเพียงพอในการฟอกเลือด, ระยะเวลาในการกดห้ามเลือดหลัง ถอนเข็มฟอกเลือด, ปริมาณเปอร์เซ็นต์การไหลย้อนของเลือดที่ถูกฟอกแล้ว (percent of vascular access recirculation) และระดับความเจ็บปวดขณะแทงเข็มฟอกเลือด นอกจากนี้ ยังได้ทำการประเมินความพึงพอใจของพยาบาลไตเทียมต่อการแทงเข็มฟอกเลือดทั้งสองวิธีข้อมูลถูกนำเสนอในรูปแบบ จำนวน ร้อยละหรือรูปแบบค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มศึกษาด้วยสถิติ multivariable multilevel gaussian regression ผล: ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มาฟอกเลือดจำนวน 246 ครั้ง พบว่าผลลัพธ์ทางคลินิกของการแทงเข็มฟอกเลือด ทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่างกัน ขณะที่พยาบาลไตเทียมมีความพึงพอใจต่อการแทงเข็มฟอกเลือดด้วยวิธี antegrade มากกว่าวิธี retrograde อย่างมีนัยสำคัญ สรุป: พยาบาล ไตเทียมสามารถแทงเข็มฟอกเลือดด้วยวิธี antegrade หรือ retrograde ให้กับผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ตามความเหมาะสมโดยที่ผลลัพธ์ทางคลินิกไม่แตกต่างกัน

References

Nephrothai. Thailand renal replacement therapy year 2016 - 2019. [internet] 2021 [cited 2022 Apr 4].Available from: http//www.nephrothai.ory/wp-contentuploads/2021/01/1.TRT-Annual report-2016-2019.pdf.

Chayakul C, editors. Hemodialysis clinical practice recommendation 2014. Bangkok: Duentula; 2014.

Leelamali K. Hemodialysis Vascular Access.In: Iamong S, Praditpornsak H, Srisawat N, Tiranathanagul K,Tungsanga K, Praditpornsilpa K, editors. Hemodialysis renal replacement therapy. Bangkok: Tex & JournalPublishing Co. Ltd; 2013. p. 802 - 26.

Malovrh M. Native arteriovenous fistula: preoperative evaluation. Am J Kidney Dis 2002;39(6):1218 - 25.

Gauly A, Parisotto MT, Skinder A, Schoder V, Furlan A, Schuh E, et al. Vascular access cannulation inhemodialysis patients - a survey of current practice and its relation to dialysis dose. J Vasc Access2011;12(4):358 - 64.

Haage P, Vorwerk D, Wildberger JE, Piroth W, Schürmann K, Günther RW. Percutaneous treatment ofthrombosed primary arteriovenous hemodialysis access fistulae. Kidney Int 2000;57(3):1169 - 75.

Parisotto MT, Schoder VU, Miriunis C, Grassmann AH, Scatizzi LP, Kaufmann P, et al. Cannulation techniqueinfluences arteriovenous fistula and graft survival. Kidney Int 2014;86(4):790 - 7.

Ozmen S, Kadiroglu AK, Ozmen CA, Danis R, Sit D, Akin D, et al. Does the direction of arterial needle in AVfistula cannulation affect dialysis adequacy? Clin Nephrol 2008;70(3):229 - 32.

Oliver MJ, Dillavou ED, editors. Approach to the adult patient needing vascular access for chronichemodialysis. Canada: University of Toronto; 2023.

Reyes II OR. Effects of arterial needle placement in arteriovenous fistula on dialysis adequacy of end stagerenal disease patients undergoing maintenance hemodialysis. J Nur Healthcare 1;2016(2):10 - 1.

Verywell Health. Musselburgh: 11 Common Types of Pain Scales. [internet] 2022 [cited 2023 Apr 4].Available from: https://www.verywellhealth.com/pain - scales - assessment - tools - 4020329.

Lok CE, Huber TS, Lee T, Shenoy S, Yevzlin AS, Abreo K, et al. KDOQI clinical practice guideline for vascularaccess: 2019 Update. Am J Kidney Dis 2020;75(4 Suppl 2):S1 - S164.

Daryaprayong P, Uymanapong C. Permanent vascular access care in nursing practice recommendation forhemodialysis and peritoneal dialysis. Bangkok: Bangkok Medical Publishing; 2015. p.53 - 5.

Muraki R, Sathyanarayana D, Muthusethupathy MA. Assessment of quality of life in chronic kidneydisease patients using the kidney disease quality of life - short form questionnaire in Indian population:a community based study. Asian Journal of Pharmaceuticaland Clinical Research 2015;8(1):271 - 74.

Shrestha S, Ghotekar LR, Sharma SK, ShangwaPM, Karki P. Assessment of quality of life in patients of endstage renal disease on different modalities of treatment. JNMA J Nepal Med Assoc 2008;47(169):1 - 6.

Dias TS, Moysés Neto M, da Costa JA. Arteriovenous fistula puncture: an essential factor for hemodialysisefficiency. Ren Fail 2008;30(9):870 - 6.

National Kidney Foundation. KDOQI clinical practice guidelines and clinical practice recommendations for:Hemodialysis adequacy, peritoneal dialysis adequacy and vascular access: updates 2006. American Journalof Kidney Disease 2006;48(suppl1):S1 - 322.

Kang SM, Song WJ, Min KU. Comparison of recirculation and dialysis adequacy between antegrade andretrograde cannulation for hemodialysis. Clinical Nursing Research 2007;13:156 - 68.

Wiggins KJ, Agar JWM, Somerville CA. A controlled study of the impact of arterial needle direction ondialysis adequacy in patients undergoing hemodialysis through radiocephalic arteriovenous fistula.Nephrology 2003;8:A70.

Da Silva OM, Rigon E, Corradi Dalazen JV, Bissoloti A, Rabelo - Si va ER. During arteriovenous fistularcannulation in chronic renal patients on Hemodialysis. Open J Nurs 2016;6:1028 - 37.

Kaza BNK, Sabi KA, Amekoudi EYM, Imangue G, Badibanga J, Tsevi CM, et al. Pain during arteriovenousfistular (AVF) cannulation. American Journal of Internal Medicine 2014;2:87 - 9.

Figueiredo AE, Viegas A, Monteiro M, Poli - de - Figueiredo CE. Research into pain perception witharteriovenous fistula (avf) cannulation. J Ren Care 2008;34(4):169 - 72.

Kumar V, Depner T, Besarab A, Ananthakrishnan S. Arteriovenous Access for hemodialysis.In: Daugirdas JT,Blake PG and Ing TS, editors. Handbook of Dialysis. 4th ed. Philadelphia: Lippincott, Williams & Wilkins;2007. p.105 - 25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2024