INR Variability และ Time in Therapeutic Range ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ใช้ยาวาร์ฟาริน: การศึกษาย้อนหลังจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ศศิมาภรณ์ แหยงกระโทก กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลราชวิถี

คำสำคัญ:

วาร์ฟาริน, โรคไตเรื้อรัง, ไอเอ็นอาร์, ความแปรปรวนของค่าไอเอ็นอาร์, ทีทีอาร์

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: วาร์ฟารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด ชนิดรับประทานที่ใช้ในการรักษาและป้องกันการเกิดภาวะลิ่ม เลือดอุดตันในข้อบ่งใช้ต่าง ๆ ซึ่งยานี้มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา แต่ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างการทำงานของไตกับการตอบสนองของยาวาร์ฟารินยังมีอยู่จำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า INR variability และค่า time in therapeutic range (TTR) กับการทำงานของไต วิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลัง จากเหตุไปผล โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลระหว่าง วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 30 มิถุนายน 2563 เกณฑ์คัดเลือก ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษา คือ 1) เป็นผู้ป่วยนอกที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป 2) เริ่มใช้ยาวาร์ฟารินครั้งแรกที่โรงพยาบาลราชวิถี ในข้อบ่งใช้ต่าง ๆ และ 3) มาติดตามผลการรักษาต่อเนื่อง จนมีค่า INR อยู่ในช่วงเป้าหมายอย่างน้อย 2 ครั้งติดต่อกัน ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกจะได้รับการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามระดับ eGFR (กลุ่มที่ 1: eGFR ≥ 60 มล./นาที/1.73 ตร.ม. และกลุ่มที่ 2: eGFR < 60 มล./นาที/1.73 ตร.ม. และยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 22.0 ผล: มีผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมการศึกษา 390 ราย อายุเฉลี่ย 61.00gif.latex?\pm17.39 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 55.64 จำนวนผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 และ 2 คือ 260 และ 130 ราย (ร้อยละ 66.67 และ 33.33) ตามลำดับ มีค่ามัธยฐานของ ค่า INR variability ในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มคือ 0.15 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่ามัธยฐานของ ค่า TTR ในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม คือ ร้อยละ 60.22 ซึ่งแต่ละกลุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติ สรุป: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง มีค่า INR variability และค่า TTR แปรผันตรงกับระดับ eGFR โดยค่า INR variability มีความแตกต่างทางสถิติ ในผู้ป่วยที่มีระดับ eGFR ต่างกัน ในขณะที่ค่า TTR ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ ในผู้ป่วยที่มีระดับ eGFR ต่างกัน

References

Nathisuwan S. Guidelines for pharmaceutical care in patients receiving anticoagulant drugs: The use of oral anticoagulant drugs. 1st ed. Bangkok: Prachachon Co., Ltd.; 2016. p. 1-24.

Limvorapitak W. Common problems and emergencies in hematology: Bleeding disorder in renal and liver diseases.2nd ed. Bangkok: Nam Akson printing house; 2016. p. 121-31.

Dahal K, Kunwar S, Rijal J, Schulman P, Lee J. Stroke, Major Bleeding, and mortality outcomes in Warfarin users with atrial fibrillation and chronic kidney disease: a meta - analysis of observational studies. Chest 2016;149(4):951-9.

Kooiman J, van Rein N, Spaans B, van Beers KA, Bank JR, van de Peppel WR, et al. Efficacy and safety of vitamin K - antagonists (VKA) for atrial fbrillation in non - dialysis dependent chronic kidney disease. PLoS One 2014;9(5):e94420.

Bonde AN, Lip GY, Kamper AL, Hansen PR, Lamberts M, Hommel K, et al. Net clinical beneft of antithrombotic therapy in patients with atrial fbrillation and chronic kidney disease: a nationwide observational cohort study. J Am Coll Cardiol 2014;64(23):2471-82.

Razouki Z, Ozonoff A, Zhao S, Jasuja GK, Rose AJ. Improving quality measurement for anticoagulation: adding international normalized ratio variability to percent time in therapeutic range. Circ Cardiovasc Qual Outcomes 2014;7(5):664-9.

Labaf A, Själander A, Stagmo M, Svensson PJ. INR variability and outcomes in patients with mechanical heart valve prosthesis. Thromb Res 2015;136(6):1211-5.

Lind M, Fahlén M, Kosiborod M, Eliasson B, Odén A. Variability of INR and its relationship with mortality, stroke, bleeding and hospitalisations in patients with atrial fbrillation. Thromb Res 2012;129(1):32-5.

Schwann TA, Habib RH, Suri RM, Brennan JM, He X, Thourani VH, et al. Variation in Warfarin use at hospital discharge after isolated bioprosthetic mitral valve replacement: An analysis of the society of Thoracic Surgeons adult cardiac surgery database. Chest 2016;150(3):597-605.

Ibrahim S, Jespersen J, Poller L; European Action on Anticoagulation. The clinical evaluation of International Normalized Ratio variability and control in conventional oral anticoagulant administration by use of the variance growth rate. J Thromb Haemost 2013;11(8):1540-6.

Szummer K, Gasparini A, Eliasson S, Ärnlöv J, Qureshi AR, Bárány P, et al. Time in therapeutic range and outcomes after Warfarin initiation in newly diagnosed atrial fbrillation patients with renal dysfunction. J Am Heart Assoc 2017;6(3):e004925.

Laongnaulpanich A, Wongtheptian W. Prevalence of cardiovascular disease in hemodialysis patients in Chiangraiprachanukroh hospital. Chiangrai Medical Journal 2016;8(1):1-14.

Tatro DS. Drug interaction facts: The authority on drug interactions. Philadelphia: Wolters Kluwer Health; 2014.

Kleinow ME, Garwood CL, Clemente JL, Whittaker P. Effect of chronic kidney disease on warfarin management in a pharmacist - managed anticoagulation clinic. J Manag Care Pharm 2011;17(7):523-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2024