การประเมินความเที่ยงของนักรังสีการแพทย์ในการตรวจความหนาแน่นกระดูกในผู้ใหญ่ด้วยเครื่องตรวจความหนาแน่นกระดูกโรงพยาบาลราชวิถี

ผู้แต่ง

  • อรทัย สิงห์อุสาหะ งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี
  • อารยา บุญยะลีพรรณ งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี
  • อาระญา มิ่งมงคลชัย งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี
  • ศิริวรรณ ศรีใส งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี
  • ไพศาล หรุ่นโพธิ์ งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี
  • กรกช วรธรรมมงคล งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี

คำสำคัญ:

ความหนาแน่นกระดูก, การประเมิน precision, ค่าการเปลี่ยนที่น้อยที่สุด

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: การตรวจค่าความหนาแน่นกระดูก (BMD: g/cm2 ) ที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เครื่อง dual energy X - ray absorptiometry (DXA) ให้มีความถูกต้อง เที่ยงตรงนั้น International Society for Clinical Densitometry (ISCD) ได้กำหนดว่านอกจากการตรวจสอบ ความถูกต้องเที่ยงตรงของเครื่องตรวจมวลกระดูกให้ตรงตามมาตรฐานแล้ว ยังจำเป็นต้องมีการประเมินความเที่ยง (precision) ของนักรังสีการแพทยที่ทำการตรวจวัดความหนา แน่นกระดูกด้วยเช่นกัน วัตถุประสงค์: ประเมินความเที่ยงของนักรังสีการแพทย์ ในการตรวจความหนาแน่นกระดูก ส่วนเอว (L 1-L4) คอกระดูกต้นขา (femoral neck) กระดูกสะโพก (total hip) และกระดูกแขนส่วนปลาย(forearm) ในผู้ใหญ่ที่โรงพยาบาลราชวิถี วิธีการ: การศึกษานี้ทำการตรวจความหนาแน่นกระดูกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 240 ราย อายุเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 62.76±8.85 ปี (ช่วงอายุ 45 - 90 ปี) บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว คอกระดูกต้นขา กระดูกสะโพกและกระดูกแขนส่วนปลาย โดยนักรังสีการแพทย์ 8 ราย ตรวจกลุ่มตัวอย่างรายละ 30 รายแบบสุ่มโดย ทำซ้ำ 2 รอบ (reposition) รวมทั้งคำนวณหาค่าความคลาดเคลื่อนความเที่ยง (precision error) และคำนวณค่า LSC (the least significant change) ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน ผล: ค่าความความหนาแน่นกระดูก (BMD; g/cm2) ในการตรวจทั้ง 2 ครั้งในบริเวณกระดูก สันหลังส่วนเอว คอกระดูก ต้นขา กระดูกสะโพก และกระดูกแขนส่วนปลาย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p - value < .05 ใน ทุกบริเวณ (ค่าความสัมพันธ์ 0.994 - 0.998) การประเมินค่า precision error ของการตรวจความหนาแน่นกระดูก โดยนักรังสีการแพทย์ทั้ง 8 ราย มี precision สูงในบริเวณ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลังส่วนเอว และคอกระดูกต้นขา (%CV: 0.76%, 0.85%, และ 1.10% ตามลำดับ) อยู่ในเกณฑ ที่ ISCD กำหนดในทุกบริเวณ โดยบริเวณที่มีค่า precision error เฉลี่ยสูงที่สุดคือบริเวณกระดูกแขนส่วนปลาย แต่ยังมี precision ที่สูง (%CV = 1.46%) เมื่อแยกกลุ่มตัวอย่างตามดัชนีมวลกาย (BMI; kg/m2) พบค่า precision error เฉลี่ยบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว และคอกระดูกต้นขาสูงในกลุ่มตัวอย่างที่มี BMI > 25 kg/m2 (%CV = 0.90% และ 1.22% ตามลำดับ) ส่วนบริเวณกระดูกสะโพก และกระดูกแขนส่วนปลาย พบค่า precision error สูงในกลุ่มตัวอย่างที่มี BMI < 18.5 kg/m2 (%CV = 1.08% และ 2.41% ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวน precision error ระหว่างนักรังสีการแพทย์พบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p - value < .05) ในทุกบริเวณรวมทั้งวิเคราะห์ความแปรปรวนค่า precision error ของกลุ่มตัวอย่างที่มีดัชนีมวลกายที่ต่างกัน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในทุกบริเวณ สรุป: การประเมิน precision ในการตรวจความหนาแน่นกระดูกโดยนักรังสีการแพทย์ทั้ง 8 ราย มี precision สูงและอยู่ในเกณฑ์ที่ ISCD กำหนดในทุก บริเวณ

References

The Osteoporosis Foundation of Thailand. The Recommendations for the treatment of osteoporosis 2021;7-8.

Wartenbee SR. Bone densitometry. [Internet].2016 [cited 2022 Aug. 21].Available from:http://www. radiologykey.com/bone - densitometry.

The International Atomic Energy Agency. Radiation protection of patients during DXA. [Internet].1998 [cited2022Jul18].Available from:http://www.iaea.org/resources/rpop /health-professionals/other-specialities - and - imaging - modalities/dax - bone - mineral - densitometry/patients.

The American college of radiology. Radiation dose to adults from common imaging Examinations. [Internet]. [cited 2022 Jul 18]. Available from:http//www.acr.org/ - /media/ACR/ Files /Radiology - Safety/ Radiation - Safety/Dose - Reference - card.pdf?la = en&hash = 2FFAD1C34D B0FDA39E4D4AC94F4EA 34185819277.

Golob AL, Laya MB. Osteoporosis: screening prevention and management. Med Clin North Am 2015;99(3):587-606.

Osteoporosis prevention screening and diagnosis: ACOG clinical practice guideline No.1. Obstet Gynecol 2021;138(3):494-506.

Bonnick SL, Johnston CC Jr, Kleerekoper M, Linsay R, Miller P, Sherwood L, et al. Importance of precision in bone density measurements. J Clin Densitom 2001; 4(2):105-10.

Writing Group for the ISCD Position Development Confererence. Technical standardization for dual - energy x - ray absorptiometry. J Clin Densitom 2004;7(1):27-36.

Kim HY, Yang SO. Quality control of DXA system and precision test of radio - technologist. J Bone Metab 2014;21(1):2-7.

The International Society for Clinical Densitometry (ISCD). The adult official position of ISCD; 2019.

The Research Ethic Office Chiangmai University. Withdrawal. Research ethics for researchers 2016;1:1-3.

WHO Scientific Group. The prevention and management of osteoporosis. Geneva: Switzerland; 2003.

The International Society for Clinical Densitometry. The precision calculating tool. [Internet].2013 [cited 2022 Jul 19]. Available from:http://www.iscd.org/learn/resources/ calculator.

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: John Wiley and Sons; 1995.

Hind K, Oldroyd B, Truscott JG. In vivo precision of GE Lunar iDXA densitometer for the measurement of total body, lumbar spine and femoral bone mineral density in adults. J Clin Densitom 2010;13(4):413-17.

Tothill P, Hannan WJ. Precision and accuracy of measuring changes in bone mineral density by dual - energy X - ray absorptiometry. Osteoporos Int 2007;18(11):1515-23.

Hind K, Oldroyd B, Prajapati A, Rhodes L. In vivo precision of dual - energy X - ray absorptiometry - derived hip structural analysis in adults. J Clin Densitom 2012;15(3):302-7.

Nelson L, Gulenchyn KY, Atthey M, Webber CE. Is a fixed value for the least significant change appropriate ? J Clin Densitom 2010;13(1):18-23.

Knapp KM, Welsman JR, Hopkins SJ, Fogelman I, Blake GM. Obesity increases precision errors in dual - energy X - ray absorptiometry measurement. J Clin Densitom 2012;15(3):315-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2024