ผลการพัฒนาการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินภายหลังได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม โรงพยาบาลราชวิถี

ผู้แต่ง

  • สุปราณี บุญมี กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชวิถี

คำสำคัญ:

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, ประสาทหูเทียม, การฝึกแบบเดิม และฝึกทางไกล

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: เด็กที่เกิดมาสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงมาก และมีอาการหูหนวกทั้งสองข้าง มีผลกระทบต่อพัฒนาการ เจริญเติบโตโดยเฉพาะต่อการพูดและการพัฒนาทางด้านภาษา การผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมช่วยในการฟื้นฟูการได้ยินและจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อแนวทางการรักษา ซึ่งต้องรักษาโดยใช้ระยะห่างทางสังคม ทำให้การเดินทางมาโรงพยาบาล อาจเป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อเด็กผ่าตัดใส่ประสาท หูเทียม ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูการได้ยินอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาผลการพัฒนาระดับความสามารถ ในการฟังของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินภายหลัง ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถในการฟังของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินภายหลังได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม 3) เปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถในการฟังของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินภายหลังได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมระหว่างฝึกการพูดโดยใช้การฟังที่โรงพยาบาลแบบปกติกับฝึกการพูดโดยใช้การฟังที่โรงพยาบาลแบบปกติร่วมกับการฝึกด้วยทางไกล และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินภายหลังได้รับการผ่าตัดใส่ประสาท หูเทียมฝึกการพูดโดยใช้การฟังที่โรงพยาบาลแบบปกติร่วมกับการฝึกด้วยบริการทางไกล วิธีการ: วิจัยเชิงพรรณนารวบรวมข้อมูลย้อนหลังและไปข้างหน้า ประชากรคือ เด็ก ที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมอายุไม่เกิน 5 ปี ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2564 มีจำนวน ประชากร 51 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 45 คน เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูลเก็บตัวอย่างเป็นจำนวน 51 ราย จากแฟ้มประวัติเวชระเบียนของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และแบบเก็บข้อมูลความสามารถในการฟังได้พัฒนาจากแบบประเมินความสามารถในการฟังของกิลมอร์ (Categories of Auditory Performance-II: CAP-II) เกณฑ์การให้คะแนนมี 10 ระดับ ได้แก่ 0-9 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้เปรียบเทียบ repeated measures ANOVA, paired-samples t-test ทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผล: พบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหลังได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมมีระดับความสามารถในการฟังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยของจำนวนข้างที่ใส่ประสาทหูเทียม ความร่วมมือในการฝึกในการฝึก การปรับเครื่องแปลงสัญญาณมีความสัมพันธ์กับกับระดับความสามารถใน การฟัง และการฝึกการพูดโดยใช้การฟังที่โรงพยาบาลแบบปกติ ร่วมกับการฝึกด้วยทางไกล มีการพัฒนาระดับความสามารถ ในการฟังดีกว่าฝึกการพูดโดยใช้การฟังที่โรงพยาบาลแบบปกติอย่างเดียว สรุป: มีปัจจัยหลายอย่างที่มีความสัมพันธ์ กับความสามารถในการฟัง และขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการใช้ประสาทหูเทียม ยิ่งใส่นานยิ่งมีประสบการณ์ฟังที่ดี ความร่วมมือในการฝึกการพูดผ่านการฟังที่โรงพยาบาลแบบ ปกติร่วมกับการฝึกด้วยทางไกลมีการพัฒนาระดับความสามารถในการฟังดีกว่าฝึกการพูดโดยใช้การฟังที่โรงพยาบาล แบบปกติอย่างเดียว และใช้เครื่องประสาทหูเทียมทั้ง 2 ข้าง หรือใช้ประสาทหูเทียมร่วมกับเครื่องช่วยฟัง จะช่วยให้เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมสามารถฟัง และมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี

References

Patarapak S. Neuro - Otoraryngology. Bangkok: Veeprint; First Print; 2014.

World Health Organization. Deafness and hearing loss. [Internet]. 2021 [cited 2022 Aug 9]. Available from: https://www.who.int/news - room/fact - sheets/detail/deafness - and - hearing - loss.

National Statistical offce. Survey of Disability 2560. [Internet] 2019 [cited 2020 June 12]. Available from: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/Press_Release/2562/N29 - 03 - 62 - 1.aspx.

Wikipedia. COVID - 19 pandemic. [Internet]. 2021 [cited 2021 Jun 24]. Available From: https://en.wikipedia. org/wiki/COVID - 19_pandemic

Thai government gazette. Ministry of Public Health Announcement on service standards of hospitals using telemedicine. B.E. 2564 No. 138 (23 ง) p. 6 [Internet]. 2021 [cited 2021 Jun 26]. Available from: https://mis. nkp - hospital.go.th/institute/admInstitute/nFile/sID2021 - 03 - 29_085746. PDF.

Department of Mental health. New Normal. [internet]. 2020 [cited 2021 Jun 28]. Available from: https:// www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288.

Thailand Nursing and Midwifery Council. Announcement of the Nursing Council on Guidelines for tele-nursing. Thai government gazette. p. 49. No 138 (33 ง.) [Internet]. 2022 [cited 2022 Jan 9]. Available from: https:// www.tnmc.or.th/images/userfles/fles/T_0049.PDF.

Department of Medical Services. Operational plan of the Department of Medical Services for the fiscal year 2021. [Internet]. 2021 [cited 2021 Jun 26]. Available from: https://play.google.com/store/apps/details?id=th. go.dms.teleconsult&hl=th&gl=US.

Constantinescu G, Waite M, Dornan D, Rushbrooke E, Brown J, McGovern J, et al. A pilot study of telepractice delivery for teaching listening and spoken language to children with hearing loss. J Telemed Telecare 2014;20(3):135-40.

Sorkin DL, Caleffe - Schench N. Cochlear Implant Rehabilitation. [Internet]. 2021 [cited 2021 Sep 22]. Available From: https://docplayer.net/961189-Cochlear-implant-rehabilitation-it-s-not-just-for-kids.html.

Gilmore L. The Inter - Rater Reliability of Categories of Auditory Performance - II: CAP - II. University of Southampton, Faculty of Engineering, Science, Mathematics, Institute of sound and vibration research. [Master Thesis]. Southampton: University of Southampton Institutional Repository; 2010.

Thailand Nursing and Midwifery Council. Nursing Profession Act and Midwifery 1985. Royal Gazette, Royal Decree Edition, Vol. 114, section 75 A, 23 December 1997. [Internet]. 2022 [cited 2022 Jan 9]. Available from: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/00000(1).pdf

Academic documents. The theory of defciencies in nursing self - care. [thesis] Chonburi: Burapha University; 2001.

Hanucharoenkul S. Self - Care and Orem’s Theory of Nursing. In: Nursing Science of Practice. Bangkok: V.J. Printing, Company; 2000.

Niparko JK, Tobey EA, Thal DJ, Eisenberg LS, Wang NY, Quittner AL, et al. Spoken language development in children following cochlear implantation. JAMA 2010;303(15):1498-506.

Bakhshaee M, Sharifan ShMR, Ghasemi MM, Naimi M, Moghiman T. Speech development and auditory performance in children after cochlear implantation. MJIRI 2007; 20(4):184-91.

Komin K. The outcome of hearing after Cochlear implantation. Thai Journal of Otolaryngology Head and Neck Surge 2007;8(1):41-52.

Liu S, Wang F, Chen P, Zuo N, Wu C, Ma J, et al. Assessment of outcomes of hearing and speech rehabilitation in children with cochlear implantation. J Otol 2019;14(2):57-62.

Ching TY, Incerti P, Hill M. Binaural benefits for adults who use hearing aids and cochlear implants in opposite ears. Ear Hear 2004;25(1):9-21.

Dunn CC, Noble W, Tyler RS, Kordus M, Gantz BJ, Ji H. Bilateral and unilateral cochlear implant users compared on speech perception in noise. Ear Hear 2010;31(2):296-8.

Tammasaeng M. Translate from Listen Learn and Talk 2005. Bangkok. Supatchanin Printing; 2010.

Rinella H. Cochlear Implants: Factors Influencing Speech and Language Development in Children. [Master Thesis]. Carbondale: Southern Illinois University Carbondale; 2014.

Leigh JR. Paediatric Cochlear Implant Training Workshop: “Paediatric Mapping”. Australia: Cochlear Implant Clinic, Melbourne; 2008.

Saxena U, Chacko G, Kumar SBR, Nagabathula V, Damarla V. Effect of COVID - 19 on cochlear implant users: parental perspectives. CACD 2021;6(1):12-7.

Sahoo L, Kumari A, Patnaik U, Dwivedi G. Cochlear Implant Rehabilitation During Covid - 19 Pandemic: A Parents’ Perspective. Research Squre 2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2024